Telecommunications

NT เปิดแผนรุกปี 67 ลุยเจาะลูกค้าเอสเอ็มอี ฟื้นโทรฯบ้าน บริการมือถือ M2M ควบคู่ลดค่าใช้จ่าย

เปิดแผนธุรกิจ NT หลังควบรวมเฉียด 3 ปี เร่งเจาะลูกค้าเอสเอ็มอีที่ยังเติบโต พร้อมกระตุ้นกลุ่มลูกค้าโทรศัพท์บ้าน คาดเปิดโครงการเกษียณก่อนกำหนด 1.200 คน ลดค่าใช้จ่าย ปิดชุมสายฟิกซ์ไลน์แล้วกว่า 530 แห่ง 

พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า ได้จัดทำแผนธุรกิจปี 2567 เสนอบอร์ดแล้ว โดยวางเป้าหมายตั้งเป้ารายได้รวม 8.9 หมื่นล้านบาท มีผลกำไร 2,000 ล้านบาท หากไม่รวมค่าใช้จ่ายจากโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early Retirement) หรือ ER

NT

ทั้งนี้ หากรวมค่าใช้จ่ายจากโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด บริษัทจะยังคงขาดทุน 1,700 ล้านบาท โดยคาดว่าในปี 2567 จะสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยรวมจากโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด 1,200 คน มูลค่า 3,800 ล้าน โดยปัจจุบันโครงสร้างบริษัทมีพนักงาน 1.26 คน หมื่น ลูกจ้างประมาณ 4,000 คน รวมทั้งสิ้น 1.66 หมื่นคน

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า รายได้ของบริษัทยังอยู่ในภาวะทรงตัว โดยเป้าหมายรายได้ปี 2566 นี้ตั้งไว้ที่ 98,355 ล้านบาท แค่คาดว่าทำได้ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ดังนั้น เป้าหมายในปี 2567 จะพยายามทำให้ได้ โดยในปีหน้าจะตัดงบลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท จากงบลงทุนรวม 5,000 ล้านบาท

สำหรับแผนธุรกิจปี 2567 ในกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะเน้นให้บริการรูปแบบ Machine To Machine (M2M) เทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องและอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต และการให้บริการ รัฐบาล รูปแบบ BTB

ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) บริษัทจะโฟกัสเรื่องของสมาร์ทต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์มาช้า คงต้องรอ ไตรมาส 2/2567 ขณะที่ธุรกิจ IDD การให้บริการจากข้อมูล ยังทรง ๆ ไม่ได้หวือหวา ลูกค้าใช้โทรศัพท์บ้าน ค่อย ๆ ปรับลด

ในส่วนของบริการ ฟิกไลน์ ปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ประจำที่ (ฟิกซ์ไลน์) ปิดไปเป็นจำนวนมากแล้ว กว่า530 แห่ง ซึ่งประหยัดงบไปได้ เดือนละ 7 ล้านบาท ปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้ฟิกไลน์จำนวน  2 ล้าน

อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกค้า SME มีอัตราเติบโต ดังนั้นในปีหน้า จะมีออฟชั่นพิเศษให้สำหรับกลุ่มลูกค้า SME เช่น เบอนี้มีโมบิลิตี้ได้ และให้บริการโทรข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) ระหว่างกัน ไม่ต้องเสียค่าบริการรวมถึงมีประกันอัคคีภัยให้กับกลุ่มลูกค้าที่ยังใช้โทรศัพท์บ้านอีกด้วย

พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์
พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์

พันเอก สรรพชัยย์ กล่าวถึงผลการดำเนินธุรกิจ ปี 2566 ภายหลังการควบรวบกว่า 2 ปี และจะเข้าสู่ปีที่ 3 ในวันที่ 7 ม.ค.2567  ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT มีผลประกอบการ ณ สิ้นเดือน 31 ตุลาคม 2566 งวด 10 เดือน มีรายได้รวม 72,233 ล้านบาท

ทั้งนี้ แหล่งที่มาของรายได้มาจากการดำเนินงานของ 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ประกอบด้วย

1. กลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน 8,041 ล้านบาท คิดเป็น 10% ของรายได้รวม

2. กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศ (International) 1,414 ล้านบาท คิดเป็น2% ของรายได้รวม

3. กลุ่มธุรกิจสื่อสารไร้สาย (Fixed Line Broadband) 15,345 ล้านบาท คิดเป็น 22%

4. กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ( Mobile) 42,091 ล้านบาท  คิดเป็น 60% ของรายได้รวม (รายได้สัญญาสัมปทาน 4 หมื่นล้านบาท 50% รายได้จากบริการ My by NT 2,000 ลบ. 10%)

5. กลุ่มธุรกิจดิจิทัล 3,473 ล้านบาท คิดเป็น 4% ของรายได้รวม และบริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่โทรคมนาคม และรายได้อื่นๆ  3,860 ล้านบาท คิดเป็น 2% ของรายได้รวม

ตามแผนธุรกิจ บริษัทขาดทุน 4,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันสิ้นเดือน พฤศจิกายนนี้น่าจะกลับมาเป็นบวก หากไม่รวมโครงการเกษียณก่อนอายุ บริษัทมีกำไร 2,000 ล้านบาท แต่หากรวมโครงการเกษียณก่อนอายุ จะขาดทุน 1,700 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ บริษัทได้ทำการประมาณการผลประกอบการปี 2566 จะขาดทุนสุทธิ 4,117.69 ล้านบาท โดยผลประกอบการจะเป็นบวกในปี 2571-2572 หากไม่รวมค่าใช้จ่ายโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด   ปี 2566 ผลประกอบการจะกำไรสุทธิ 175 ล้านบาท และจะกลับมาขาดทุนในปี 2569-2570 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการหายไปของรายได้ธุรกิจบริการค้าส่งความจุในคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่

ขณะที่ประมาณการรายได้ปี 2566-2572 จากสมมติฐานได้รวมรายได้โครงการให้บริการบนคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ได้รับจากการประมูลคลื่นความถี่ เมื่อปี 2563 และรวมรายได้ ธังท์ โมบาย (Trunked Mobile) โครงการสำคัญ เน็ตประชารัฐ, USO, Big rock ไว้แล้ว

ขณะเดียวกันในปี 2568 ใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) คลื่นความถี่ 850,2100 และ 2300 MHz จะหมดอายุ NT จะไม่มีรายได้ในธุรกิจค่าส่งความจุในคลื่นความถี่ทั้ง 3 คลื่น ทำให้ประมาณการรายได้ภาพรวมคงเหลือเพียง 44,998.35 ล้านบาท เมื่อสิ้นปี 2569

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo