Telecommunications

จุฬาฯ ประกาศทดสอบย่านความถี่ 6 GHz หวังขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G รองรับ 6G

ย่านความถี่ 6 GHz มาแรง สมาคมจีเอสเอ็ม แนะนำทุกประเทศเร่งผลักดันการใช้งาน ล่าสุดจุฬาฯ ประกาศทดสบในมหาวิทยาลัย 

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการใช้งานเครือข่าย 5G และปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการย่านความถี่กลางสูงขึ้นเพื่อสอดรับกับความต้องการใช้งานในอนาคต

ย่านความถี่ 6 GHz

รายงานของ สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) หัวข้อ ความต้องการใช้งานย่านความถี่กลางสำหรับเครือข่าย 5G ในปี  2573 ระบุว่า ความถี่ 2GHz ในย่านความถี่กลาง ถือเป็นย่านความถี่ที่ได้รับการแนะนำให้ทุกประเทศใช้งานในช่วงปี 2568-2573

ในขณะที่ย่านความถี่สูงกว่า 6GHz ถือเป็นย่านความถี่กลางสำคัญ ที่จะช่วยรองรับความต้องการใช้งานเครือข่ายในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนพฤศจิกายน 2565 สหภาพยุโรปได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกผลักดันการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารไร้สายในอนาคต บนย่านความถี่สูงกว่า 6GHz

กระแสดังกล่าว ส่งผลให้ความนิยมย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ  ทำให้นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มย่านความถี่ที่สูงกว่า 6GHz เข้ามาในแผนดังกล่าวในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

ล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศทดสอบย่านความถี่ 6GHz เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ณ งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2023 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน จัดขึ้นโดยสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ร่วมกับเหล่าพันธมิตรในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่

6GHz IMT is Gaining Great Industry Momentum

รศ.ดร.ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ กล่าวว่า ที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันค้นคว้าวิจัยการใช้ย่านความถี่ 6 GHz สำหรับการสื่อสารแบบไร้สายแห่งโลกอนาคต เช่น เทคโนโลยี 5G และ 6G

ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคม 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับอนุญาตให้ทดสอบย่านความถี่สูงกว่า 6 GHz (6425-7125MHz) ในสถานที่จริง จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

การทดสอบดังกล่าวจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เพื่อใช้วิจัยเครือข่าย 5G ขั้นสูงในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

นอกจากนี้ ผลการทดสอบ จะได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือสำหรับประเทศไทย และนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการตัดสินใจในเชิงนโยบายแก่การใช้งานย่านความถี่ระดับ 6 GHz ในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo