Technology

‘GSK’ ผนึกพันธมิตร ‘ม.มหิดล-บพข.-ดีป้า’ หนุนใช้ AI พัฒนายานวัตกรรมใหม่ ลดต้นทุน-ระยะเวลา

GSK จับมือ ม.มหิดล บพข. และ ดีป้า เดินหน้าสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี AI คิดค้นยานวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในระดับสากล

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน ในงานสัมมนา AI in Drug Discovery, Ahead Together for Future Healthcare การใช้เทคโนโลยี AI ในการคิดค้นยานวัตกรรม เพื่อก้าวนำหน้ามุ่งสู่อนาคตในการดูแลสุขภาพที่ดีด้วยกัน จัดโดย บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น จำกัด หรือ GSK ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล  หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)

 

GSK

 

สำหรับเป้าหมายการจัดงานดังกล่าว เพื่อแลกเปลี่ยนและส่งต่อองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเภสัชกรรมของไทย สร้างเสริมศักยภาพประเทศในระดับสากล โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ จากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาร่วมแลกเปลี่ยน

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า อว.ให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จึงมุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม

thumbnail AI in Drug 221025 4
ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล

ตลอดจนการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน และมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศอื่น

ที่ผ่านมา อว. ให้การสนับสนุนทุกหน่วยงานในการนำเทคโนโลยี AI และเทคโนโลยีด้านสุขภาพมาใช้ในการพัฒนาต่อยอดเชิงรุกในด้านต่าง ๆ เช่น การผลิตยาและวัคซีน ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว สนับสนุนนโยบายการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) พร้อมตอบโจทย์การพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยในยุค ไทยแลนด์ 4.0

AI in Drug 221025 5
วิริยะ จงไพศาล

นายวิริยะ จงไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) กล่าวว่า GSK ในฐานะผู้มุ่งมั่นพัฒนาด้านชีวเภสัช (Biopharma) และผู้นำในการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อการพัฒนาและคิดค้นยานวัตกรรม มุ่งหวังให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการพัฒนายานวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล

การจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนและส่งต่อองค์ความรู้การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการพัฒนายานวัตกรรม และผลักดันโครงการด้านเทคโนโลยี AI ในประเทศให้มีความก้าวหน้า

ปัจจุบัน เทคโนโลยี AI มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการคิดค้นยาและวัคซีนนวัตกรรม และเป็นหนึ่งในพื้นฐานนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ (S-Curve) ใหม่ของประเทศไทย สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมของประเทศ

ดด 1

ขณะที่ GSK พร้อมสนับสนุนภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนโครงการด้านเทคโนโลยี AI เพื่อสุขภาพอย่างเต็มที่ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาผนวกกับความสามารถของบุคลากรและเทคโนโลยี เพื่อให้ก้าวนำการป้องกันโรคภัยต่าง ๆ

การคิดค้นพัฒนายาใหม่ 1 ตัว ใช้เวลานานถึง 10 ปี  ต้องใช้งบประมาณในการวิจัยพัฒนาสูงถึง 1,900 ล้านดอลลาร์ แต่การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการพัฒนายา จะช่วยประหยัดทั้งงบประมาณและระยะเวลา

ศ.นพ,บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งมั่นในการผลิตมหาบัณฑิตที่มีศักยภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ควบคู่กับการมีบทบาทในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก

ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหิดล
ศ.นพ,บรรจง มไหสวริยะ

ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อการนำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์และสุขภาพในทุกสาขา โดยมีความก้าวหน้าของการดำเนินงานของ สถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล ซึ่งมีโครงการวิจัยแบบบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งมหาวิทยาลัยภายในประเทศ และมหาวิทยาลัยชั้นนำจากต่างประเทศอีกหลายแห่ง

จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญในการใช้ AI เพื่อตรวจและวินิจฉัยโรค และกำลังศึกษาพัฒนาการนำ AI มาใช้ในการคิดค้นและผลิตยานวัตกรรม ด้วยระบบ AI จะทำให้การผลิตยาด้วยความแม่นยำและลดระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนา ส่งผลต่อการพัฒนาวงการแพทย์และยารักษาโรคให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

AI in Drug 221025 6

นอกจากนี้ ภายในงานสัมมนา ดร.คิม แบรนสัน Senior Vice President and Global Head of Artificial Intelligence and Machine Learning, GSK ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ของ GSK ได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยี AI ในการคิดค้นยา

AI in Drug 221025 1

พร้อมด้วย รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDI) และนักวิชาการไทย โดย ผศ.ภก.ดร.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล คณะเภสัชศาสตร์ ผศ.ดร.พรชัย บำรุงศรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร.ทิพาจินต์ ไทยพิสุทธิกุล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และ ภก.ดร.ณฐพล พรพุทธพงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นทีมวิจัยในโครงการ “การพัฒนาแพลตฟอร์มการคิดค้นยา ที่บูรณาการศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์” ที่ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การขับเคลื่อนด้าน Digital Health Tech ของประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo