Technology

‘มหิดล’ ส่ง 2 หุ่นยนต์ ‘เก็บขยะติดเชื้อ-ส่งของ’ สู้โควิด-19

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกความร่วมมือสร้าง 2 นวัตกรรม หุ่นยนต์เวสตี้  เก็บขยะติดเชื้อ และหุ่นยนต์ฟู้ดดี้ ส่งอาหาร-ยาในหอผู้ป่วย ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า นวัตกรรมระบบอัตโนมัติ AGV (Automated Guide Vehicle) และเทคโนโลยีกำลังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาดิจิทัลเฮลท์แคร์ ในโรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขไทย โดยจะเข้ามารับภาวะความท้าทายของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และวิถีใหม่ New Normal

7.แขนกลของหุ่นยนต์Wastieเก็บขยะติดเชื้อ Custom

นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณขยะติดเชื้อจากหน้ากากและอุปกรณ์ในโรงพยาบาลมีเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ทำให้ภาระงานหนักและความเสี่ยงมากขึ้นต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 และโรคระบาดต่างๆที่อาจเกิดขึ้น

ดังนั้นทีมวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้าง 2 นวัตกรรม คือ 1. หุ่นยนต์เวสตี้ (Wastie) เก็บขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลภาคสนาม และ 2. หุ่นยนต์ฟู้ดดี้ (Foodie) ส่งอาหาร-ยาในหอผู้ป่วย โดยใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีอัตโนมัติ AGV องรับงานหนักและงานเสี่ยงอันตรายด้วยระบบการทำงานขนส่งในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ

16 ทีมแพทย์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

ทั้งนี้การประยุกต์ใช้ AGV เข้าสู่งานบริการสาธารณสุข จะเสริมสร้างศักยภาพในการลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่อาจประทุเป็นระลอกใหม่ และเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวเป็นผู้นำบริการเฮลท์แคร์และอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ ยกระดับพัฒนาโรงพยาบาลอัจฉริยะ ตลอดจนพัฒนากำลังคนสู่ยุคดิจิทัลสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ลดการนำเข้าเทคโนโลยี AGV และซอฟท์แวร์ปีละกว่า 200 ล้านบาท

สำหรับหุ่นยนต์เวสตี้ (Wastie) เก็บขยะติดเชื้อ ประกอบด้วย AGV แบบระบบนำทางด้วยเทปแม่เหล็ก และแขนกล (CoBot) สำหรับยกถังขยะโหลดขึ้น โดยมีระบบกล้อง Machine Vision ในการจำแนกประเภทวัตถุและตำแหน่ง การยกแต่ละครั้งได้สูงสุด 5 กิโลกรัม ส่วนของ AGV สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ถึง 500 กิโลกรัม ความเร็วในการเคลื่อนที่ไม่ต่ำกว่า 8 เมตรต่อนาที ใช้ระบบนำทางแบบ Magnet โดยติดเทปแถบแม่เหล็กไว้ที่พื้นเป็นเส้นนำทาง

6. หุ่นยนต์Wastieเก็บขยะติดเชื้อ Custom

การทำงานหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่ไปตามแนวเส้นนำทาง การทำงานเริ่มจากขดลวดกระตุ้นผลิตสนามแม่เหล็กไฟฟ้าโดยที่มีชุดตรวจจับคอยตรวจจับทำให้การเคลื่อนที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำ เมื่อถึงจุดรับขยะ จะอ่านบาร์โค้ด แล้วยกถังขยะติดเชื้อไปยังกระบะจัดเก็บ หากใช้ใน 4 โรงพยาบาล จะสามารถขนส่งขยะติดเชื้อได้ประมาณ 10 ตันต่อวัน ช่วยลดปัญหาของการหยุดชะงักของการบริการขนส่งจากปัญหาการติดเชื้อของบุคลากรได้มากกว่า 50%

ส่วน หุ่นยนต์ฟู้ดดี้ (Foodie) ส่งอาหาร-ยาในหอผู้ป่วย ตอบโจทย์วิถีใหม่ของบุคคลากรทางการแพทย์ ลดการสัมผัสตรงกับผู้ป่วย รวมทั้งงานหนักที่ต้องใช้คนและเวลามากในโรงพยาบาล นวัตกรรม หุ่นยนต์ฟู้ดดี้ (Foodie) ใช้ระบบนำทางอัจฉริยะด้วยข้อมูลแผนที่ในตัวหุ่นยนต์แบบ QR-Code Mapping สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 30-50 กิโลกรัม ความเร็วในการเคลื่อนที่ 8 เมตรต่อนาที ชุดขับเคลื่อนที่นำทางด้วยการใช้กล้องอ่าน QR Code บนพื้น สามารถนำส่งอาหาร 3 มื้อ เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ไปยังห้องผู้ป่วย 200 คน ต่อวัน รวมทั้งการนำกลับ

8..หุ่นยนต์Wastieเก็บขยะติดเชื้อ Custom

นพ.สมชาย ดุษฎีเวทกุล หนึ่งในทีมผู้วิจัย และรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ได้รับผู้ป่วยโรคโควิด-19 เข้ารักษาจำนวน 60 คน ขณะนี้หายป่วยและกลับบ้านได้ทั้งหมดแล้ว ผู้ป่วย 1 คน ต้องมีเจ้าหน้าที่เข้าไป 2 คน 3 มื้อรวมเป็น 6 คน และยังมีแม่บ้านเก็บขยะติดเชื้ออีก 1 คน ทุกคนต้องสวมชุด PPE

ดังนั้น การใช้หุ่นยนต์เวสตี้ (Wastie) เก็บขยะติดเชื้อ และหุ่นยนต์ฟู้ดดี้ (Foodie) ส่งอาหาร-ยา จะเป็นประโยชน์มากช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อ ลดความสิ้นเปลืองชุด PPE ทั้งสามารถขนส่งชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักได้มากกว่าหุ่นยนต์ทั่วไป และคุ้มค่าต่อคาบเวลาในการขนส่งใน รพ. อีกทั้งมีความแม่นยำของการขนส่งในเส้นทางที่เป็นกิจวัตรประจำ สามารถหยุดตามสถานี เพื่อทำงานในโหมดที่มีคำสั่งที่แตกต่างกันได้ ขณะเดียวกันก็มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งเส้นทางใหม่ คาดทดแทนการใช้แรงงานบุคลากรได้มากกว่า 30%

Avatar photo