COLUMNISTS

Telemedicine นวัตกรรมที่จะมายกระดับความเท่าเทียมการเข้าถึงยา 24 ชั่วโมง

Avatar photo
พิษณุ แดงประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.โรงงานเภสัช อุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย)

Telemedicine นวัตกรรมที่จะมายกระดับความเท่าเทียมการเข้าถึงยา 24 ชั่วโมง

ทราบหรือไม่ครับว่าประเทศไทยมีหมู่บ้านรวมทั้งหมดกว่า 70,000 หมู่บ้าน แต่ข้อมูลจากสำนักงานอาหารและยาระบุว่าประเทศไทยมีร้านขายยา 22,205 แห่ง หากดูจากสัดส่วนจะเห็นได้ว่าร้านยามีน้อยกว่าสัดส่วนหมู่บ้านค่อนข้างมากจนน่าตกใจ ข้อมูลนี้สะท้อนถึงความต้องการของผู้คนและสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงยา เพราะโดยธรรมชาติของคนทั่วไปนั้น หากเกิดอาการผิดปกติในร่างกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ต้องซื้อหายาสามัญเพื่อมารับประทานเอง

Telemedicine

จากนั้นสังเกตอาการหากไม่ดีขึ้นจึงไปพบแพทย์ ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งก็มาจากสถานพยาบาลแทบจะทั่วโลกก็มีจำนวนน้อยกว่าความต้องการ ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่จึงเลือกวิธีหายามาดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อน แต่หากผู้คนเหล่านี้เข้าถึงยาได้ยาก ปัญหาที่เกิดขึ้นบางอย่างก็อาจจะแก้ไขหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ไม่ทันท่วงทีและขยายวงไปสู่อาการเจ็บป่วยที่หนักขึ้นได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดีครับ เป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบันมีผู้คิดค้นนวัตกรรม Telemedicine ผ่านตู้กดยาอัตโนมัติ ที่ผู้ป่วยสามารถเสียบบัตรประชาชนและทำการปรึกษาเภสัชกรแบบเรียลไทม์ผ่านระบบ Video Conference ซึ่งนวัตกรรมนี้สามารถแก้ปัญหา Pain Point ของผู้ป่วยที่เข้าถึงยา ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ได้ลำบาก ยกตัวอย่างเช่น คนที่อาศัยอยู่คอนโดมิเนียม เกิดป่วยขึ้นมาตอน 21:00 น ร้านยาส่วนใหญ่ปิดหมดแล้ว จะขับรถออกไปตะเวนหาร้านยาตอนกลับมาคงหาที่จอดรถยาก แต่ถ้าเดินลงมาใต้คอนโด เจอตู้จำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีระบบ Video Conference ศึกษากับเภสัชกรหรือแพทย์ได้ ก็จะแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงยาได้ 24 ชั่วโมง และหากในอนาคตกฎหมายได้ปลดล็อกให้ระบอัตโนมัติสามารถเข้าถึงยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ได้ผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด หรือผ่านวิธียืนยันตัวเองรูปแบบอื่น ๆ ก็จะปลดล็อคปัญหาของผู้คนที่อยู่ห่างไกลได้มากเช่นกันครับ

Telemedicine

เรื่อง Telemedicine ยังเข้ามาแก้ปัญหาการเข้าถึงยาได้ยากลำบากของกลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างดี ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรม แต่ละโรงงานมีคนจำนวนมาก แม้จะมีสวัสดิการการเบิกจ่ายยาของพนักงานได้ แต่ก็ไม่ครอบคลุมสิ่งที่พนักงานต้องการคนงานส่วนใหญ่ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมส่วนมากเข้างานเช้ากว่าจะเลิกโอทีตอนกลางคืน กลับเข้าหอพักทันทีบางครั้งก็ลำบากในการที่จะซื้อยา การมีตู้ยาบริการอยู่ในโรงงานขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมก็เป็นอีกหนึ่งการช่วยเหลือให้เข้าถึงยาได้ง่าย

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในหลายประเทศ ถือเป็นตัวเร่งให้การ ให้บริการ Telemedicine ถูกนำมาใช้เพื่อให้บริการเพิ่มมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยการมีการนำเอา Telemedicine เข้ามาให้บริการเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจ Telemedicine ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง สามารถขยายตลาดได้อีกมาก อีกทั้งยังสอดรับกับ Lifestyle ของผู้คนในยุคดิจิทัลที่ต้องการลดระยะเวลาการเดินทาง การรอคิวต่าง ๆ ในสถานพยาบาล การพัฒนาธุรกิจ Telemedicine จึงนับเป็นตลาดที่ยังขยายตัวได้อีกมาก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่