COLUMNISTS

เช็ก 8 ความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุควรรู้!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ

เช็ก 8 ความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุควรรู้! หากพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่านิ่งนอนใจ

ปัญหาของผู้สูงอายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นสภาพร่างกายและระบบการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะเสื่อมถอยลงไป จึงมีแนวโน้มการเจ็บป่วยได้ง่ายและเรื้อรัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถทำความเข้าใจ ป้องกัน และดูแลได้ หากพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาการเหล่านี้คือความเสี่ยง ผู้สูงอายุที่ควรรู้ไว้ว่าเราต้องเจอกับเรื่องอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ผู้สูงอายุ

รู้ไว้ดีกว่า 8 ความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุควรรู้

อารมณ์ซึมเศร้า (Depression)

ปัญหาสุขภาพจิตคือปัญหาสำคัญในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้ามีโอกาสเป็นได้มากกว่าวัยอื่น เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและบทบาทในสังคม หากผู้สูงอายุรับไม่ได้กับภาวะที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงผู้สูงเป็นอย่างมาก เพราะทำให้เกิดความคิดที่ฟุ้งซ่านสับสนด้านอารมณ์กับร่างกายที่เปลี่ยนแปลง

การล้ม (Fall)

การล้มเป็นปัญหาที่พบบ่อยและอันตรายมากในวัยสูงอายุ จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็นความเสี่ยง ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่ไปเข้าห้องน้ำ เนื่องจากสูญเสียการทรงตัว เพราะสมอง กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อเกิดความเสื่อม การได้ยินและมองเห็นลดลง ทำให้มีโอกาสลื่นล้มได้ง่าย ซึ่งการบาดเจ็บมีตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงขั้นรุนแรง พิการและเสียชีวิตได้

ผู้สูงอายุ

สมองเสื่อม (Alzeimer’s Disease)

ภาวะสมองเสื่อมเป็นความเสี่ยง ผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ทำให้ความสามารถในการรู้สึกนึกคิด การวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากการที่มีอายุเพิ่มมากขึ้นทำให้สมองมีการเปลี่ยนเเปลงไปจากเดิม เสื่อมลง อาจจะเป็นเเค่ความทรงจำในช่วงระยะเวลาหนึ่งไม่ก็อาจจะสูญเสียความทรงจำทั้งหมดเลยก็ได้ ซึ่งโรคนี้เรียกว่าอัลไซเมอร์

กล้ามเนื้ออ่อนเเรง (Muscle Weakness)

ความเสี่ยง ผู้สูงอายุในเรื่องของกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะจำนวนขนาดและเส้นใยของกล้ามเนื้อน้อยลง ทำให้ไม่ว่าจะการเคลื่อนไหวร่างกายทั่วไปเกิดการไม่คล่องตัว จากอาการของกล้ามเนื้ออ่อนเเรงมีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่จะเกิดเหตุการหกล้มได้ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ เข้าไม่ดีเเน่ ยิ่งได้รับการดูเเลเป็นพิเศษ ควรพบเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำเเนะนำ เตรียมพร้อมรับมือกับอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนเเรง

เดินช้า (Changes in gait)

สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุจะเสื่อมถอยตามวัย โดยเฉพาะการเดินที่ช้าลง การก้าวเท้าที่สั้นลง เนื่องจากความเสื่อมของเนื้อเยื่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยการเดินวันละ 20 – 30 นาทีทุกวัน อาจจะมีอุปกรณ์เสริมเอามาไว้ช่วยพยุงในการเดินออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัยในเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุ

ประสาทสัมผัส (Sensory changes)

ความเสี่ยง ผู้สูงอายุในด้านระบบประสาทสัมผัสเเบ่งได้ดังนี้

  • หู : การได้ยินลดลง มีอาการหูตึงมากขึ้น การเสื่อมของอวัยวะในหูชั้นในมีมากขึ้น น้ำเสียงทีมีการเปลี่ยนเเปลงเพราะกล้ามเนื้อกล่องเสียงและสายเสียงบางลง ระดับเสียงสูงจะได้ยินน้อยกว่าระดับเสียงต่ำ มีข้อมูลวิจัยระบุว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุจะเสียเสียงสูงก่อน นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการเวียนศีรษะและเคลื่อนไหวไม่คล่อง เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในมีภาวะแข็งตัว
  • ตา : การมองเห็นที่ไม่ดีเหมือนเดิม เนื่องจาการเปลี่ยนเเปลงของรูม่านตาที่เล็กลงที่ทำให้การรับเเสงได้น้อยลง หนังตาตก เเก้วตามีสีที่ขุ่นมัว การเกิดต้อกระจกตาจึงเป็นโรคยอดฮิตในไว้ผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้ กล้ามเนื้อตาเสื่อม ทำให้ความไวในการตอบสนองช้าลง มีอาการสายตายาว ในช่วงเวลาตอนเย็นเเสงน้อยลงการมองเห็นก็จะเเย่ลงตามไปด้วย ตาเเห้งบ่อยจมูก: การับกลิ่นที่ไม่เหมือนเดิม

ระบบขับถ่าย (Chages to excretory system)

จากการเสื่อมของเซลล์และกล้ามเนื้อหูรูดต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาระบบขับถ่ายทำให้ไม่สามารถกลั้นเอาไว้ได้เเบ่งได้หลักๆ มี 2 อย่างดังนี้ปัสสาวะ มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะบ่อย ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าและรุนแรงกว่าผู้ชาย เนื่องจากหมดประจำเดือนถาวรมีผลกระทบ ทำให้ขาดฮอร์โมนเพศ

อุจจาระ : ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ความเสี่ยง ผู้สูงอายุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือท้องผูกเป็นประจำ เนื่องจากกระเพาะอาหารและลำไส้ลดการบีบตัวตามอายุ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกกำลังกาย ทานผักผลไม้น้อย ดื่มน้ำน้อย รวมถึงอาจเป็นจากผลข้างเคียงของยาที่ทานเข้าไป

ผู้สูงอายุ

กระดูกพรุน (Senile Osteoporosis)

ความเสี่ยง ผู้สูงอายุเรื่องกระดูก คือ แคลเซียมจะสลายออกจากกระดูกมากขึ้น ทำให้น้ำหนักกระดูกลดลง เปราะ หักง่าย ความยาวกระดูกสันหลังลดลง หมอนรองกระดูกบางลง หลังค่อมมากขึ้น ความสูงลดลง เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก ตึง แข็ง อักเสบ ติดเชื้อง่ายขึ้น ดังนั้นหากออกกำลังกายประจำจะช่วยลดความเบาบางของมวลกระดูกได้ รวมทั้งการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ที่สำคัญคือการตรวจเช็กกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อป้องกันและรับมือกับปัญหากระดูกพรุนได้ถูกวิธี

สูงวัย…ให้ฟิตปั๋ง

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับความเสี่ยงเรื่องสุขภาพที่ชาวสูงวัยไม่ควรมองข้าม ด้วยความเสื่อมถอยของสมรรถภาพร่างกาย ระบบการทำงานของอวัยวะอาจมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกต และตรวจสุขภาพเป็นประจำ ควรใส่ใจเรื่องของสุขภาพเป็นอย่างเเรก ๆ เพราะถ้าเตรียมการรับมือให้เร็วเรายิ่งห่างจากความเสี่ยง ผู้สูงอายุ ที่เป็นปัญหาอย่างมากในการใช้ชึวิตอนาคตอย่างเเน่นอน การออกกำลังกายก็สำคัญเพราะจะช่วยให้ร่างกายไม่เสื่อมถอยเร็วเพราะถือว่าเป็นการขยับขยายร่างกายให้ได้มือการใช้งาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม