Economics

‘ส.อ.ท.’ สั่งจับตาสถานการณ์ความขัดแย้งใกล้ชิด เตรียมพร้อมหากบานปลาย

“ส.อ.ท.” สั่งจับตาสถานการณ์ความขัดแย้งใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือหากบานปลาย ห่วงไทยกระทบหนัก

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะใน 3 สมรภูมิหลักสำคัญตั้งแต่ การเกิดขึ้นของการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครน

ส.อ.ท.

ล่าสุดกรณีการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส และยังรวมถึงบริเวณทะเลจีนใต้ที่เริ่มมีความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวหากบานปลายย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องวางแผนรับมือเอาไว้

ทั้งนี้ ผลกระทบการสู้รบรัสเซีย-ยูเครนจะเห็นได้ชัดเจนในด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และวัตถุดิบต่าง ๆ โดยเฉพาะปุ๋ย ฯลฯ ทำให้ต้นทุนการผลิตของไทยกระทบ ขณะที่การสู้รบในอิสราเอลหากจำกัดพื้นที่จะกระทบราคาน้ำมันให้ผันผวนระดับสูงระยะสั้นเท่านั้นแต่ในส่วนอื่น ๆ จะกระทบไม่มาก

ส.อ.ท.

แต่ทั้งนี้ หากสถานการณ์บานปลายมีหลายชาติพันธมิตรเข้าร่วมในการทำสงครามก็อาจจะส่งผลให้สงครามยืดเยื้อและมีผลกระทบมากขึ้นเนื่องจากภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบที่สำคัญของโลกจะส่งผลราคาน้ำมันอาจเห็นระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรลขึ้นไปได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในทะเลจีนใต้นั้นหากเกิดขึ้นจะกระทบไทยมากที่สุดเนื่องจากในบริเวณดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางขนส่ง ทั้งด้านพลังงาน สินค้าต่าง ๆ เป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญ ที่จะกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะสะดุดลง ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างสูงหากเกิดขึ้น จึงได้แต่หวังว่าเหตุการณ์ในภูมิภาคนี้จะไม่ซ้ำรอยเช่นภูมิภาคอื่น

ส.อ.ท.

นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทย ระยะสั้นคงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นซึ่งภาครัฐก็ได้เข้ามาดูแลส่วนของดีเซลและค่าไฟฟ้าก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่าลืมว่าหากบานปลายไทยเป็นประเทศนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซฯจะกระทบหนัก ขณะที่มาตรการดูแลพลังงานโดยเฉพาะดีเซลจะสิ้นสุดใน 31 ธันวาคม 2566 นี้แล้วหากสถานการณ์ยืดเยื้อในปี 2567 จำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องเตรียมมาตรการต่าง ๆ ไว้ดูแลเศรษฐกิจ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK