Economics

สภาพัฒน์ฯ เผย ‘หนี้ครัวเรือน’ ไตรมาส 3 ปี 65 ขยายตัว 3.9% จับตา ‘หนี้เสีย’ จากผลกระทบโควิด

สภาพัฒน์ฯ เผย ‘หนี้ครัวเรือน’ ไตรมาส 3 ปี 65 ขยายตัว 3.9% จับตา ‘หนี้เสีย’ จากผลกระทบโควิด

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิกาสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยถึง ภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวม ปี2565 โดยสถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาส 4 ปี 2565 มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม  ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2

สำหรับภาพรวมปี 2565 อัตราการมีงานทำและชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้น มาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อน COVID-19 การจ้างงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 39.6 ล้านคน ขยายตัว 1.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจ้างงานในสาขานอกภาคเกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้น 3.4%

หนี้ครัวเรือน

การจ้างงานภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น จากการเปิดรับนกท่องเที่ยว

โดยสาขาโรงแรมและภัตตาคาร และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า และสาขาการผลิต มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต

สำหรับภาคเกษตรกรรม การจ้างงานหดตัว 3.4% จากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และการย้ายสาขาของแรงงาน ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้น โดยชั่วโมงการทำงานภาพรวมและภาคเอกชนเฉลี่ยอยู่ที่ 42.6 และ 46.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ผู้ทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นโดยมีจำนวนกว่า 6.3 ล้านคน ขณะที่ผู้ว่างงานแฝงและผู้เสมือนว่างงานลดลงกว่า 28.0% และ 19.0% ตามลำดับ

การว่างงานปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ว่างงานมีจำนวน 4.6 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.15% ซึ่งลดลงทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนและไม่เคยทำงานมาก่อน

หนี้ครัวเรือน

สถานการณ์ด้านแรงงาน ปี 2565 ผู้มีงานทำมีจำนวน 39.2 ล้านคน ขยายตัว 1.0% โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ขยายตัว 2.0% ตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากการเปิดรับนักท่องเที่ยวและการส่งออกที่ขยายตัวขึ้นจากปีก่อน ขณะที่ภาคเกษตรกรรม การจ้างงานหดตัว 1.2% จากผลกระทบของอุทกภัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 และการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปสู่สาขาที่ฟื้นตัวได้ดี

ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป

  1. การจ้างงานในอุตสาหกรรมส่งออกและโอกาสการหางานของเด็กจบใหม่ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจกระทบต่อการจ้างงานในสาขาที่เกี่ยวข้องและเป็นอุปสรรคต่อการหางานของเด็กจบใหม่
  2. ภาระค่าครองชีพของแรงงานจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและ 3) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการท่องเที่ยว โดยสาขาโรงแรม ที่พัก ภัตตาคาร และร้านค้า ยังมีความต้องการแรงงานอีกประมาณ 1 หมื่นตำแหน่ง ใน 60 จังหวัด

หนี้ครัวเรือน

หนี้ครัวเรือนไตรมาส 3 ปี 65 ขยายตัว จับตาหนี้เสียจากผลกระทบโควิด

ไตรมาส 3 ปี 2565 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.90 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% จาก 3.5% ของไตรมาสก่อน ขณะที่สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 86.8% ลดลงจาก 88.1% จากไตรมาสที่ผ่านมา

สำหรับคุณภาพสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังคงทรงตัว โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ไตรมาส 4 ปี 2565 มีสัดส่วน 2.62% ต่อสินเชื่อรวม อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (SML) หรือสินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน พบว่า สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษในสินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนสูงถึง 13.7% ของสินเชื่อรวม

หนี้ครัวเรือน

นอกจากนี้ จากข้อมูลเครดิตบูโร พบว่า ลูกหนี้เสียจากผลกระทบของ COVID-19 ยังมีปริมาณมาก แม้สถานการณ์ COVID-19 จะคลี่คลายลง ซึ่งในระยะถัดไปมีประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญ คือ

  1. การเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ที่เริ่มมีสัญญาณการผิดชำระหนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการตกชั้นของลูกหนี้ที่มีจำนวนมาก และ
  2. การมีมาตรการเฉพาะเจาะจงในการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้เสียจากผลกระทบของ COVID-19 เพื่อลดจำนวนลูกหนี้เสียไม่ให้เพิ่มขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo