Business

รฟม.เฮ! ศาลอาญาฯ ยกฟ้องกรณี ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’

ศาลอาญาฯ ยกฟ้อง ผู้ว่าฯ รฟม. และกรรมการ กรณี ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ ระบุ ทำในกรอบของกฎหมาย

วันนี้ (27 ก.ย. 65) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อ่าน คำพิพากษาในช้ันไต่สวนมูลฟ้อง คดีหมายเลขดำที่อท 30/2565 ระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส โจทก์ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ กับพวกรวมกัน 7 คน จำเลยในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตความผิด ต่อพระราชบัญัญัตว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

บีทีเอส ฟ้อง รฟม. กรณียกเลิกประกาศเชิญชวนรถไฟฟ้าสายสีส้ม รอบแรก 

โดยโจทก์ฟ้องสรุปได้ว่า คณะรัฐมนตรีประชุมมีมติอนุมัติดำเนิน โครงการรถไฟฟ้า สายสีส้มช่วงบาง ขุนนนท์ – มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ต่อมา รฟม. โดยคณะกรรมการคัดเลือกร่วมกัน เห็นชอบกับร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาร่วมลงทุน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก วิธีการ และหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอทางการเงิน สูงสุดในการตัดสินเอกชนผู้ชนะการประมูล

โดยโจทก์ชื้อซองข้อเสนอเข้าร่วมลงทุนโครงการดังกล่าว ต่อมา จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าการ รฟม. ร่วมกับจำที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นคณะกรรมการคัดเลือกใช้อำนาจ หน้าที่โดยมิชอบ ร่วมประชุมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์  การประเมินข้อเสนอตามเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน

จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7ร่วมกันพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขหลักเกณฑ์วิธีการประเมิน ข้อเสนอในเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนใหม่ โดยให้ใช้เกณฑ์การประเมินข้อเสนอด้านเทคนิค ร่วมกับข้อเสนอทางการเงิน หรือการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (Price Performance)

ต่อมา เมื่อครบกำหนดเปิดซองข้อเสนอการร่วมลงทุน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 กลับไม่เปิดซองข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอ เพื่อดำเนินการคัดเลือกต่อไป รฟม. โดยจำเลยที่ 1 และคณะกรรมการคัดเลือก ได้ประชุมกันแล้วมีมติยกเลิกประกาศเชิญชวนดังกล่าวโดยมิชอบ

การกระทำของจำเลยทั้ง 7 จึงเป็นการร่วมกัน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,165,83, 90, 91 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่ าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502มาตรา 11

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

พิจารณาแล้ว เห็นว่ากระทำในกรอบของกฎหมาย

ทั้งนี้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า จำเลยทั้ง 7 ร่วมกันใช้ดุลพินิจพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินข้อเสนอใหม่ โดยให้พิจารณาคะแนนด้านเทคนิคและการลงทุนและผลตอบแทนร่วมกัน โดยกำหนดสัดส่วนการให้คะแนนด้านเทคนิคเป็นร้อยละ 30 คะแนน ด้านการลงทุนและผลตอบแทนเป็นร้อยละ 70 คะแนน

หากผู้ยื่นข้อเสนอรายใดผ่านการประเมินสูงสุด และได้รับการประเมินให้เป็นผู้ชนะการคัดเลือก เพื่อประโยชน์ของรัฐ ตามความต้องการของ รฟม. ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและตามอานาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562มาตรา 38(6) และ (7)

ประกาศ คณะกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เรื่องรายละเอียดของร่างประกาศ เชิญชวนร่างเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชน และสาระสาคัญของร่างสัญญาร่วมลงทุน พ.ศ. 2563  ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ข้อ 12  การสงวนสิทธิ์ ของ รฟม. ข้อ 12.2 กำหนดว่า สงวนสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมรายละเอียด รวมถึงลด หรือขยายระยะเวลาของการคัดเลือกตามประกาศเชิญชวนข้อเสนอฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตาม ความประสงค์ของ รฟม. และมติคณะรัฐมนตรี

และเอกสารสาหรับการคัดเลือกเอกชนเล่มที่ 1  ข้อแนะนาผู้ยื่นข้อเสนอ ข้อ 17  ประกอบกับขณะลงมติเห็นชอบนั้น ยังไม่ถึงกำหนดระยะเวลายื่นซอง ข้อเสนอ จึงไม่ทำให้ผู้ยื่นเอกสารข้อเสนอได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้คณะกรรมการ คัดเลือกได้ขยายระยะเวลาออกจากกำหนดยื่นข้อเสนอเดิมอีก 45 วัน เพื่อให้ผู้ยื่นข้อเสนอได้มีเวลา จัดเตรียมข้อมูลข้อเสนอเพิ่มเติมอีก พยานหลักฐานยังไม่มีน้าหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่า การแก้ไข หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายใดรายหนึ่ง ส่วนประเด็นที่จำเลยที่ 1  ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุน นั้น เห็นว่า คณะกรรมการคัดเลือกใช้ดุลพินิจพิจารณายกเลิก ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุน

ไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง พิจารณายกฟ้อง

จากนั้นจำเลยที่ 1 ออกประกาศเรื่องยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ ตามมติคณะกรรมการคัดเลือก โดยไม่มีพฤติการณ์ใดที่แสดง ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หรือการกระทำที่นอกขอบเขตแห่งกฎหมายหรือ มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อโจทก์

เมื่อจำเลยที่ 1 ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตามพระราชบัญญัติการร่วมการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ประกอบกับการสงวนสิทธิ์ของ รฟม.ตามประกาศเชิญชวนฯ และเอกสารฯ เล่มที่ 1 ข้อแนะนำผู้ยื่นข้อเสนอ (RFP) ที่กาหนดการสงวนสิทธิ์ของรฟม. ในข้อ 12.1 ว่า รฟม. สงวนสิทธิ์ตามดุลพินิจที่จะยกเลิกประกาศเชิญชวนฯ โดยที่ ผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหาย ใด ๆ ได้

จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต อีกทั้งการกระทำของจำเลยทั้ง 7  ไม่ได้เป็นกรณีที่มีหน้าที่ปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือคำสั่งซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้ การเป็นไปตามกฎหมาย

ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้ง 7 จึงไม่มีมูลความผิดตามฟ้อง ศาลฯพิพากษายกฟ้อง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo