Business

เผยสาระสำคัญ ร่างกฏหมาย ‘คุมฟิตเนส’ พร้อมเดินหน้า รับฟังความเห็น ผู้ประกอบการ

เผยสาระสำคัญ ร่างกฏหมาย ‘คุมฟิตเนส’ พร้อมเดินหน้า รับฟังความเห็น ผู้ประกอบการ เทรนเนอร์ และประชาชน 9 มิ.ย.นี้

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (กรม สบส.สธ.) เปิดเผยว่า กรม สบส.ได้เห็นความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็ง ของระบบธุรกิจบริการสุขภาพในประเทศตลอดมา จึงได้จัดทำ ร่างกฎกระทรวงกิจการสถานออกกำลังกาย(ฟิตเนส) ขึ้น

โดยกำหนดให้กิจการฟิตเนส เป็นกิจการอื่นๆ ตามมาตรา3(3)ของพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 เพื่อให้กิจการฟิตเนสดำเนินการบนมาตรฐานเดียวกัน และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค

คุมฟิตเนส

เชิญชวนผู้ประกอบการ เทรนเนอร์ และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมแสดงความคิดเห็น

โดยกรม สบส.ได้เชิญผู้ประกอบการ เทรนเนอร์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป มารับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมมาพอสมควร

ซึ่งกรม สบส. ยังคงเดินหน้ารับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดให้แสดงความคิดเห็นผ่าน QR Code บนเว็บไซต์กรม สบส. www.hss.moph.go.th และจะจัดประชุมออนไลน์ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565

ทั้งนี้ กรม สบส. เชื่อมั่นว่าหาก กฎกระทรวงดังกล่าวมีการประกาศบังคับใช้ จะเป็นการส่งเสริมให้ฟิตเนสทุกแห่ง ดำเนินกิจการอย่างมีมาตรฐาน มีผู้ให้บริการที่มีความรู้ความชำนาญ สามารถให้คำแนะนำ ดูแลการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง จะเป็นการส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ สร้างโอกาสที่ดีแก่ประชาชน ในการเข้าถึงบริการที่มีมาตรฐาน และถือเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัย

คุมฟิตเนส
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

เผยสาระสำคัญ ร่างกฏหมาย ‘คุมฟิตเนส’

ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าววว่า ร่างกฎกระทรวงกิจการสถานออกกำลังกาย (ฟิตเนส) มีขึ้น เพื่อมุ่งส่งเสริม พัฒนาให้กิจการฟิตเนสดำเนินกิจการอย่างมีมาตรฐาน ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับบริการ  ใจความสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดไว้ดังนี้

  • ฟิตเนสต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปลอดจากเหตุรำคาญที่อาจรบกวน
  • พื้นผิวต้องสะอาด ไม่ลื่น รองรับแรงกระแทกได้ มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่พร้อมใช้ตลอดเวลา
  • เครื่องออกกำลังกายต้องมีสภาพพร้อมใช้ มีความปลอดภัยในการใช้สอย ไม่ก่อให้เกิดอันตราย
  • บุคลากรต้องได้รับการฟื้นฟูวิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • เทรนเนอร์ 1 คน รับผิดชอบให้คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ ต่อผู้รับบริการในการใช้เครื่องออกกำลังกายทุกชนิด ไม่เกิน 10 เครื่อง(1:10)
  • กรณีออกกำลังกายเป็นกลุ่ม ต้องจัดให้มีเทรนเนอร์รับผิดชอบให้คำแนะนำ 1 คน ต่อผู้ใช้บริการไม่เกิน 30 คน(1:30)
  • มีระบบส่งต่อ ในกรณีผู้รับบริการเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉิน
  • มีการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ ต่ำสุด 1,000 บาท สูงสุดอยู่ที่ 10,000 บาท แต่ยกเว้นสำหรับสถานที่ออกกำลังกายของหน่วยงานภาครัฐหรือที่จัดไว้เพื่อเป็นสวัสดิการ

คุมฟิตเนส

ทั้งนี้ กรม สบส.ขอเชิญชวนผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน ร่วมแสดงความคิดเห็นเข้ามาให้มากที่สุด เพื่อร่วมกันพัฒนากฎหมายให้มีความสมบูรณ์ โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็น จนถึงวันที่ 10 มิถุนายนนี้ ทุกความคิดเห็นจะถูกนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างฯและเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในทุกขั้นตอนของการออกกฎหมายต่อไป

คุมฟิตเนส

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo