Business

ดีแทค ร่อนจดหมายแจง ‘แอปพลิเคชันทางเลือก’ เพื่อปกป้องภัยคุกคามไซเบอร์

ดีแทค ร่อนจดหมายแจง ‘แอปพลิเคชันทางเลือก’ เพื่อปกป้องภัยคุกคามไซเบอร์

วันนี้ (20 พ.ค.) บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ส่งจดหมายชี้แจง สภาองค์กรของผู้บริโภค จากกรณีที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน “dtac Safe” โดยชี้แจงว่าเป็นแอปพลิเคชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้า ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยแอปพลิเคชันนี้จะช่วยป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน

แอปพลิเคชันทางเลือก

แจงเป็นแอปพลิเคชันทางเลือก ช่วยเพิ่มความปลอดภัย

แอปพลิเคชัน dtac Safe เป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าของบริษัทฯ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยบริการนี้จะช่วยป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อันตรายร้ายแรง เช่น เว็บไซต์ที่มี malware หรือ ransomware เป็นต้น

ช่วยปิดกั้นลิงก์ปลอมหรือลิงก์หลอกลวงที่ถูกส่งผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น Line, Facebook, email และข้อความสั้น (SMS) ตรวจสอบความปลอดภัยของเว็บไซต์ก่อนเข้าสู่เว็บไซต์นั้น และสามารถตรวจสอบอีเมลของผู้ใช้งานว่ามีการรั่วไหลข้อมูลในเว็บไซต์ใด

สาระสำคัญในจดหมายชี้แจงใน 3 ประเด็น

  1. แอปพลิเคชันนี้จะคุ้มครองการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เปิดใช้บริการโดยไม่จำกัดว่าจะต้องใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากดีแทค เท่านั้น แต่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น Wi Fi หรือบริการอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้บริการรายอื่น
  2. dtac Safe เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับพาร์ทเนอร์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity ในต่างประเทศซึ่งเป็นผู้พัฒนาและเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันนี้ โดย dtac Safe ทำงานประสานร่วมกันระหว่างแอปพลิเคชันที่ติดตั้งบนโทรศัพท์เคลื่อนที่กับระบบ cloud service ของพาร์ทเนอร์ที่จะทำหน้าที่ในการอัปเดต ข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์อันตรายต่าง ๆ
  3. เนื่องจากภัยคุกคามจากการใช้อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความร้ายแรงและขยายตัวขึ้น แอปพลิเคชันในลักษณะเดียวกันนี้จึงได้ถูกพัฒนาและให้บริการอย่างแพร่หลายทั่วโลก ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในต่างประเทศหลายแห่งก็ได้แนะนำแอปพลิเคชันด้านความปลอดภัยลักษณะนี้เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถเลือกใช้แอปพลิเคชันด้านความปลอดภัยในลักษณะเดียวกันนี้ได้จาก Apple Store (iOS) และ Google Play (Android) ซึ่งมีให้เลือกใช้งานอย่างหลากหลาย ทั้งนี้ dtac Safe มีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับแอปพลิชันทางเลือกอื่นในตลาด

แอปพลิเคชันทางเลือก

ดีแทค เปิดช่องทางรับแจ้งภัยมิจฉาชีพ และ SMS หลอกลวง ผ่านช่องทาง 1678

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการหลอกลวงผ่านทาง SMS และแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่กำหนดโดย กสทช โดยครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เปิดช่องทางรับแจ้งภัยมิจฉาชีพและ SMS ข้อความหลอกลวงผ่านช่องทาง 1678 เพื่อบริษัทฯ จะได้ตรวจสอบ บล็อกเบอร์ และประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อการสืบสวน สอบสวน และดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

อย่างก็ไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องร่วมกับ กสทช. ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นๆ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันกำหนดและดำเนินการมาตรการต่างๆ บนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะช่วยป้องกันและบรรเทาปัญหาการหลอกลวงผ่านทาง SMS และแก๊งคอลเซ็นเตอร์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo