Business

เปิดไส้ในฟื้นฟูการบินไทย เน้น ‘ขายทรัพย์สิน-เครื่องบิน’ หารายได้ประคององค์กร แถลงวันนี้!!

บริษัทการบินไทย กางแผนฟื้นฟูการบินไทย ทำทุกอย่างเพื่อหารายได้ มีตั้งแต่แผนตัดขายสินทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ โละขายเครื่องบินร่วม 100 ลำ หวังหาเงินเสริมสภาพคล่อง เร่งปรับโครงสร้างลดขนาดองค์กรภายในปี 65 เหลือพนักงาน 10,700 คน ต่างประเทศเหลือแค่ 350 คน จากปี 62 ที่มีทั้งหมด 29,500 คน  ตะลึง!! จ้างหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ ที่ปรึกษาการเงิน “ปิยสวัสดิ์” พร้อมผู้บริหารฟื้นฟู และคณะกรรมการเจ้าหนี้ แถลงแผนร่วมกันวันนี้  

วันนี้ (1 พ.ย.) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ และนายธีรัชย์ อัตนวานิช ประธานคณะกรรมการเจ้าหนี้ร่วมแถลง พร้อมด้วยผู้บริหารฟื้นฟูกิจการ คณะกรรมการเจ้าหนี้ และรักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมแถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท

บริษัทการบินไทย เปิดแถลงความก้าวหน้าแผนฟื้นฟูวันนี้ 

แหล่งข่าวจากบริษัทการบินไทย กล่าวว่าประเด็นที่จะแถลงข่าววันนี้  ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย ซึ่งคณะผู้บริหารแผน ได้แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบแล้ว ว่าได้ดำเนินการอะไรไปบ้างในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ

บริษัทการบินไทย

จากภาพรวมการฟื้นฟูกิจการบริษัทการบินไทย ณ วันที่ 24 กันยายน 2564 การบินไทยได้ ดำเนินโครงการเริ่มจากปฎิรูปธุรกิจ Transformation Initiatives

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 ที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการ จำหน่ายศูนย์ลูกเรือหลักสี่ ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาที่มีภาระเกินควรแก่ประโยชน์

เดือนกรกฎาคม 2564 ลดทุนจดทะเบียน จำหน่ายหุ้นสายการบินนกแอร์

เดือนสิงหาคม 2564 จำหน่ายทรัพย์สินรอง เครื่องบินที่ไม่ได้อยู่ในแผนใช้งาน อสังหาริมทรัพย์

เดือนกันยายน-ธันวาคม 2564 เป็นการเร่งจัดหาสินเชื่อใหม่ นอกจากนี้ ยังปรับปรุงสัญญาเช่า/เช่าซื้อเครื่องบินให้เป็นไปตาม LOI ปรับลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อเนื่อง และเพิ่มประสิทธิภาพการหารายได้

การปรับโครงสร้างและลดขนาดองค์กร ตามแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยกำหนดไว้ดังนี้

– ขายขอบเขตความรับผิดชอบเพื่อให้แต่ละคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น

– ลดขั้นตอนการบังคับบัญชา โดยจัดโครงสร้างให้ราบขึ้น

– ลดจำนวนผู้บริหารทุกระดับกว่าา 35%

– จัดโครงสร้างองค์กรแบบรวมศูนย์ สำหรับงานเกี่ยวกับการเงิน บัญชี การบริหารบุคคลและการจัดซื้อ

– เน้นลูกค้าเป็นสำคัญ ยึดความถูกต้องของลูกค้าเป็นหลัก สร้างสัมพันธ์ที่ดี และพัฒนาคุณภาพการบริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ

– เน้นการนำดิจิทัลมาขับเคลื่อนองค์กร เพื่อตอบสนองการดำเนินงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

– สนับสนุนให้เกิดการทำงานข้ามสายงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ มีทิศทางและเป้าหมายร่วมกัน

บริษัทการบินไทย

 

ตามแผนการปรับโครงสร้างและลดขนาดองค์กรบริษัท ได้กำหนดส่วนของพนักงานไว้ดังนี้

– พนักงาน Outsource 20.93%
– พนักงานระดับ 1-7 อยู่ที่ 42.83 %
– นักบินและลูกเรือ อยู่ที่  28.72
– หัวหน้างานและผู้เชี่ยงชาญระดับ 8-10 อยู่ที่ 7.30%
– ผู้บริหารระดับ 11-12 อยู่ที่ 0.17%
– ผู้บริหารระดับ 12-13 อยู่ที่ 0.04%
– ผู้บริหารระดับ14 (ซีอีโอ) อยู่ที่  0.01%

 เป้าสุดท้ายเหลือพนักงาน 14,750 คน สิ้นปี65 

จากปี 2562 การบินไทยมีจำนวนพนักงานทั้งหมด 29,500 คน ตามแผนฟื้นฟูการบินไทย จะต้องปรับลดพนักงานลงและภายในเดือนมกราคม-ธันวาคม 2565 จะเหลือพนักงานรวมอยู่ที่ 14,500-14,750 คน ตามแผนการปรับโครงสร้างและลดขนาดองค์กร เมื่อปี 2562 การบินไทยและบริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด (บริษัทลูกการบินไทย) มีพนักงานทั้งหมด 29,500 คน ในจำนวนนี้เป็นพนักงานการบินไทย 20,300 คน พนักงานในต่างประเทศ 1,154 คน พนักงาน Outsource 7,000 คน พนักงานไทยไทยสมาย 1,000 คน

ปี 2563 การบินไทยได้ลดจำนวนพนักงานทั้ง 3 ส่วน ลง 30% ส่งผลให้พนักงานโดยรวมอยู่ที่ 21,300 คน พนักงานการบินไทย 17,100 คน พนักงานในต่างประเทศ 1,154 คน Outsource 2,033 คน ไทยสมายล์ 1,000 คน
กระทั่งเดือนสิงหาคม 2564 การบินไทยได้ปรับลดพนักงานลงอีกอยู่ที่ 48% ทำให้เหลือพนักงานรวม 15,200 คน พนักงานการบินไทย 11,350 คน พนักงานในต่างประเทศ 1,049 คน Outsource 1,864 คน ไทยสมายล์ 888 คน

บริษัทการบินไทย

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนรการฟื้นฟูกิจการ การบินไทยได้ทำแผนปรับลดพนักงานลงอีกอยู่ที่ 53% ใน เดือนธันวาคม 2565 การบินไทยจะมีพนักงานรวมอยู่ที่ 14,000-14,750 คน  พนักงานการบินไทย 10,700 คน พนักงานในต่างประเทศเหลือแค่ 350 คน พนักงาน Outsource 1,864 คน หรือไม่เกิน 2,812 คน ไทยสมาย 888 คน

นอกจากนี้ การบินไทยยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือนพนักงานจากปี 2562 เดิมอยู่ที่ 2,675 ล้านบาทต่อเดือน ลดเหลือ 700 ล้านบาทต่อเดือนในเดือนมกราคม 2565

แผนฝูงบิน Fleet Planning

บริษัทการบินไทย

ตามแผนฟื้นฟู กำหนดปลดระวางก่อนปี 2563 จำนวน 13 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบิน A 300-600 จำนวน 1 ลำ, A 340-500 จำนวน 3 ลำ, A 340-600 จำนวน 6 ลำ และ B737-400 จำนวน 3 ลำ

ปี 2564 ปลดระวาง 45 ลำ จอดรอขายประกอบด้วย A330-300 จำนวน 3 ลำ, A380-800 จำนวน 2 ลำ, B747-400 จำนวน 10 ลำ, B777-200 จำนวน 6 ลำ, B777-200 ER จำนวน 2 ลำและ B777-300 จำนวน 6 ลำ
จอดรอคืน A330-300 12ลำ A380-800 4 ลำ

บริษัทการบินไทย

สำหรับกระแสเงินสดที่มีอยู่ในแต่ละเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม-ธันวาคม 2564 จะเห็นว่ากระแสเงินสดลดลงเรื่อยๆ โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 3,459 ล้านบาท ส่วนเดือนธันวาคม เหลือ 1,651 ล้านบาท ดังนั้นช่วงเวลาที่เหลือคงขึ้นอยู่กับการขายตั๋วเครื่องบิน ซึ่งประเทศไทยได้เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแล้ว

บริษัทการบินไทย

การจำหน่ายเครื่องบินที่ไม่อยู่ในแผนการใช้งาน ประกอบด้วย

B747-400 จำนวน 10 ลำ
A300-600 จำนวน 1 ลำ
A340 จำนวน 9 ลำ
B777-200 จำนวน 6 ลำ
B777-300 จำนวน 6 ลำ
B777-200ER จำนวน 2 ลำ
A380-800 จำนวน 2 ลำ
A330 จำนวน 3 ลำ
B 734-400 จำนวน 2 ลำ

การจำหน่ายเครื่องบินเพื่อเช่ากลับ
B777-200 ER จำนวน 4 ลำ

การจัดการสภาพคล่อง การจำหน่ายทรัพสินรอง-หุ้นในบริษัทร่วม
โดยกระบวนการที่ขายเสร็จแล้ว ดังนี้ เมื่อเดือนมกราคม 2564 ขายหุ้นบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เดือนกรกฎาคม ขายหุ้นสายการบินนกแอร์ เดือนสิงหาคม ขายที่ดินและอาคารหลักสี่

บริษัทการบินไทย เร่งขายหุ้น-อาคารที่ดินทั้งในและต่างประเทศ 

ส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

บริษัทบริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีสัดส่วนการถือหุ้น 7.06% บริษัทโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด ถือหุ้น 30% บริษัทสหโรงแรมไทยและท่องเที่ยว จำกัด ถือหุ้น 1.25%
บริษัทดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเต็ล จำกัด ถือหุ้น 40% บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 8.91% บริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ถือหุ้น 0.000255% บริษัท เทรดสยาม จำกัด ถือหุ้น 3.50%

การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ

มีกระบวนการขายเสร็จแล้ว 3 แห่ง เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ขายที่ดินและอาคาร สำนักงานหลานหลวง ขายที่ดินและอาคารจังหวัดภูเก็ต และที่ดินจังหวัดเชียงใหม่
อยู่ระหว่างดำเนินการขาย ประกอบด้วย
– ที่ดินและอาคารสำนักงานสีลม
– ที่ดินและอาคาร รักคุณเท่าฟ้า ดอนเมือง
– ที่ดินและอาคาร จังหวัดเชียงราย
– ที่ดินและอาคาร จังหวัดเชียงใหม่
– ที่ดินและอาคาร จังหวัดพิษณุโลก
– ที่ดินและอาคาร จังหวัดอุดรธานี
– ที่ดินและอาคาร จังหวัดขอนแก่น

บริษัทการบินไทย

การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ
อยู่ระหว่างดำเนินการขาย
– อังกฤษ 2 รายการ
– อิตาลี 1 รายการ
– ฟิลิปปินส์ 1 รายการ
– ฮ่องกง 2 รายการ
– สิงคโปร์ 2 รายการ
– อินโดนีเซีย 1 รายการ

ตะลึง!! จ้างบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ ที่ปรึกษาการเงิน

การดำเนินการจัดหาสินเชื่อใหม่

– 23 สิงหาคม 2564 บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
– กันยายน 2564 ศึกษาและจัดทำประมาณการทางการเงินและแบบจำลองทางการเงินฉบับปรับปรุง ศึกษารายละเอียดสินทรัพย์ และประเมินมูลค่าหลักประกัน(Appraisers)
– ตุลาคม 2564 นำเสนอรูปแบบเงื่อนไจ และข้อกำหนดของสินเชื่อใหม่ให้ผู้บริหารแผนพิจารณา สรรหาและเจรจากับผู้ให้การสนับสนุนสินเชื่อใหม่ โดยออกหนังสือเชิญชวน (Request For Proposal)
– พฤศจิกายน 2564 ได้รับใบตอบรับความสนใจพร้อม Term Sheet จากผู้ให้บริการสนับสนุนสินเชื่อใหม่
– ธันวาคม 2564 รวบรวมข้อเสนอที่ได้รับจากผู้ให้การสนับสนันสินเชื่อใหม่ ต่อผู้บริหารแผน ร่วมพิจารณาร่างสัญญาสินเชื่อใหม่กับที่ปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อนำเสนอร่างสัญญาสินเชื่อกับผู้บริหารแผน นำส่งสัญญาให้สินเชื่อให้กับผู้ให้สินเชื่อใหม่

การบินไทย 

สถาบันพระปกเกล้า คว้าที่ดินอาคารหลานหลวง

แหล่งข่าว กล่าวในส่วนของที่ดินและอาคารสำนักงานหลานหลวง ขณะนี้การบินไทยได้ขายให้กับสถาบันพระปกเกล้า ไปแล้ว เมื่อเร็วๆนี้ ส่วนที่ดินและอาคารที่จังหวัดภูเก็ตได้ขายให้กับเอกชนรายหนึ่งไปแล้วเช่นกัน

“การเปิดแถลงข่าววันนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่าที่ผ่านมา ได้ดำเนินการอะไรไปแล้วบ้าง แผนการปรับโครงสร้างลดขนาดองค์กร แผนการจัดหารายได้ แผนลดค่าใช้จ่าย หลังจากที่ฝ่ายบริหารการบินไทย เดินสายชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องมาแล้ว” แหล่งข่าว ระบุ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo