Business

ถือไม้เรียว คุม ‘ฟู้ด เดลิเวอรี’ กขค.สั่งทำการบ้าน ลดค่าจีพี ช่วยร้านอาหาร หลังพบโขกสูง 30%

คุม ฟู้ด เดลิเวอรี กขค. ถกด่วน หลังเจอร้องเรียนหนัก โขกค่าจีพีร้านอาหารสูง 30-50% สั่งหาแนวทางลดค่าจีพี อุ้มผู้ประกอบการร้านอาหาร ฝ่าวิกฤติโควิด-19

นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า จากข้อร้องเรียนของผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยเฉพาะรายย่อย (SMEs) ต่อประเด็นผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลเเพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร หรือฟู้ดเดลิเวอรี่ (Food Delivery) เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น หรือ ค่า Gross Profit (GP) ในอัตราที่สูง จนทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ กขค. ต้องเร่ง คุม ฟู้ด เดลิเวอรี เพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่รอดได้

คุม ฟู้ด เดลิเวอรี

ทั้งนี้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้เชิญผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ ดิจิทัลเเพลตฟอร์ม รับและส่งอาหาร จำนวน 5 ราย ได้แก่ แกร็บ ไลน์แมน โกเจ็ก ฟู้ดแพนด้า และโรบินฮู้ด เข้าร่วมหารือผ่านทางออนไลน์ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อย โดยให้การเรียกเก็บค่า GP และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากผู้ประกอบการร้านอาหาร ในอัตราที่เป็นธรรม และห้ามมีพฤติกรรมทางการค้า ที่เข้าข่ายการกระทำความผิด ตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า

ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ประกอบธุรกิจ 4 ราย คือ แกร็บ ไลน์แมน โกเจ็ก ฟู้ดแพนด้า ที่เรียกเก็บค่า GP สูงสุดในอัตราไม่เกิน 30% (ไม่รวม VAT) ในขณะที่ โรบินฮู้ด ไม่เก็บค่า GP โดยประเด็นสำคัญในการหารือ ได้ขอความร่วมมือ ให้ผู้ประกอบธุรกิจทุกราย พิจารณาแนวทางการปรับลดอัตราค่า GP รวมทั้งมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร

ดังนั้น กขค. ได้ขอผู้ให้บริการธุรกิจแพลตฟอร์มแต่ละราย นำขอเรียกร้องไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ และความเหมาะสม ในการช่วยเหลือ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ในช่วงสถานการณ์การการแพร่ระบาดครั้งนี้ และแจ้งผลให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ภายในสัปดาห์นี้

สมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์
สมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์

หากผู้ประกอบการรายย่อย ได้รับผลกระทบจากถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือได้รับการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม จากผู้ประกอบการรายใหญ่ สามารถร้องเรียนโดยตรงด้วยตนเองได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าหรือช่องทางเว็บไซต์ https://otcc.or.th/guide-complaint หมายเลขโทรศัพท์ 02-199-5400 ตลอดจนอีเมล [email protected]

ก่อนหน้านี้ กรมการค้าภายใน ได้หารือร่วมกับผู้ให้บริการส่งอาหาร และแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ 11 แพลตฟอร์ม ได้แก่ ไลน์แมน, แกร็บ, ฟู้ดแพนด้า, โรบินฮู้ด, โกเจ็ก, ลาซาด้า, ช้อปกรมการค้าปี้, เจเจมอลล์, ไปรษณีย์ไทย, Ohlala Shopping และลาลามูฟ โดยย้ำ ห้ามขึ้นราคาค่าบริการขนส่งเดลิเวอรี่ และค่าคอมมิชชันร้านค้า

ทั้งนี้ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดส่งอาหาร ต่างยืนยันว่า ไม่มีการปรับขึ้นราคา ค่าบริการขนส่งเดลิเวอรี่ และหลายแพลตฟอร์ม มีการจัดโปรโมชัน เพื่อช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว แต่ก็ได้มีการเตรียมพร้อม เพิ่มสายการให้บริการ ให้มีปริมาณเพียงพอ ต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ หากมีจำนวนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ ได้แจ้งว่า สถานการณ์ยอดการสั่งซื้อส่วนใหญ่ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย 5-10% เท่านั้น หรือบางรายไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชน มีการปรับตัวรับสถานการณ์ได้ดีมากขึ้น

ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า แพลตฟอร์มต่าง ๆ มีการปรับขึ้นค่า GP (Gross Profit) หรือค่าคอมมิชชัน ที่ร้านอาหารต้องจ่ายให้ เป็นค่าดำเนินการ ที่ทางแพลตฟอร์มเรียกเก็บนั้น แพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าไม่มีนโยบายปรับค่า GP หรือค่าบริการขนส่ง เนื่องจากเข้าใจสถานการณ์ และต้องการช่วยเหลือร้านค้าต่าง ๆ อยู่แล้ว

สำหรับการเก็บค่า GP แพลตฟอร์มบางราย ให้ร้านค้าเลือก ที่จะจ่ายค่า GP หรือไม่ บางราย ไม่มีการเก็บค่า GP หรือเก็บค่า GP เฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ได้ขอให้แพลตฟอร์ม ที่มีการเก็บค่า GP พิจารณาปรับลดค่า GP เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ที่ไม่สามารถให้บริการนั่งทานในร้านได้ในช่วงนี้
เอพี รายได้ 9225.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 70% กำไรสุทธิ 1435.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 132.45%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo