Business

‘บำรุงราษฎร์’ หนุนไทย ‘ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก’ หลังโควิด-19

ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก บำรุงราษฎร์ มั่นใจศักยภาพการแพทย์ครบทุกมิติ หลังโควิด-19 ด้วยการแพทย์ New Normal ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

รศ.นพ. ทวีสิน ตันประยูร ผู้อำนวยการปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า จาการที่ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 ในเอเชียโดย Global COVID-19 Index (GCI) ในการฟื้นตัวของแต่ละประเทศ จากสถานการณ์โควิด-19 จาก 184 ประเทศทั่วโลก จึงเป็นโอกาสของไทย ในการเป็นผู้นำด้าน ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก

ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก

ดังนั้น จึงถือเป็นจังหวะ และโอกาสอันดี ในการสร้างความได้เปรียบทางการตลาด ด้านความปลอดภัย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) ให้เป็นตัวชูโรง ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย หลังโควิด-19 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ อีกทางหนึ่ง

ทั้งนี้ จากการประชุมศูนย์กลางด้านการแพทย์ ปี 2561 รายงานว่า มีผู้ป่วยต่างชาติมาใช้บริการในด้านการ ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ประมาณ 3.4 ล้านครั้ง สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 1.4 แสนล้านบาท และไทยยังมีสถานบริการสุขภาพ ผ่านมาตรฐานคุณภาพสถานพยาบาลระดับสากล JCI ถึง 68 แห่ง มากที่สุดในอาเซียน

ตัวเลขดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึง ความได้เปรียบในการแข่งขันด้าน Medical Hub ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายประเทศ โดยมีผู้ป่วยต่างชาตินิยมเข้ามารักษาตัวในประเทศไทย 5 อันดับแรก คือ กลุ่มตะวันออกกลาง 12.5% เมียนมา 8.7% สหรัฐฯ 6.2% สหราชอาณาจักร 5% และญี่ปุ่น 4.9% ตามลำดับ

รศ.นพ. ทวีสิน Bumrungrad pic3 resize
รศ.นพ. ทวีสิน ตันประยูร

เภสัชกรหญิงอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร (CEO) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 40 ปี โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ การรักษาคือหัวใจสำคัญที่ยึดมั่นมาตลอด โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งมอบการรักษาและประสบการณ์ที่ดีที่สุด ด้วยคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัย รวมทั้งความพยายามที่จะยกระดับคุณภาพการรักษาและการบริการอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบ และจุดหมายหมายปลายทาง ของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก (Medical Tourism Destination) โดยเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของโลก ที่ได้การประกาศรับรองจาก Global Healthcare Accreditation (GHA) COVID-19 ซึ่งเป็นการรับรองด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล สำหรับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จะยังคงมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนองค์กร สู่การบริบาลสุขภาพแบบองค์รวมระดับโลก โดยบำรุงราษฎร์ได้ยกระดับสู่โรงพยาบาลในการรักษาขั้นจตุตถภูมิ (Quaternary Care) ซึ่งจะอยู่บนยอดปิระมิดสูงสุดในการรักษาพยาบาล เป็นการให้การบริบาลทางการแพทย์ที่มีความซับซ้อนอย่างมากด้วยนวัตกรรมขั้นสูง

ภญ. อาทิรัตน์ CEO บำรุงราษฎร์ pic3 resize
เภสัชกรหญิงอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์

นอกจากนี้ ยังได้เล็งเห็นเทรนด์โลกด้าน Wellness จึงได้ทำงานร่วมกับศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ซึ่งเป็นศูนย์สุขภาพการแพทย์เชิงป้องกันแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย ที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี เพื่อให้การดูแลสุขภาพครอบคลุมในทุกมิติ ตามแนวคิดการแพทย์แบบผสมผสาน ทั้งในด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน  และการรักษาเชิงป้องกันแบบองค์รวม

รศ.นพ. ทวีสิน กล่าวอีกว่า นอกจากทีมงานที่มีประสิทธิภาพครบทุกด้านแล้ว โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถดูแลรักษาโรคเฉพาะทางและซับซ้อน ได้อย่างครอบคลุม และมีผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ตัวอย่างเช่น ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery Center) เป็นการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยแพทย์ในการผ่าตัด โดยเฉพาะกับอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนละเอียดอ่อน เพื่อช่วยให้ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้น หรือการนำเทคโนโลยีขั้นสูง AI IBM Watson for Oncology เพื่อวางแผนการรักษาโรคมะเร็งแบบเฉพาะเจาะจงให้ผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อรักษาต้นเหตุของโรคอย่างแม่นยำและตรงจุด เป็นต้น

ทั้งนี้ จากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ การบริบาลด้วยความเอื้ออาทร ความร่วมมือระหว่างกัน และการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม จึงทำให้บำรุงราษฎร์ ได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นจำนวนกว่า 1.1 ล้านรายในแต่ละปี และทำให้บำรุงราษฎร์ เป็นจุดหมายปลายทางทางการแพทย์ของผู้คนทั่วโลก

ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก

ด้าน นภัส เปาโรหิตย์ Chief Marketing Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้ความคิดเห็นว่า ปี 2563 นับเป็นก้าวสำคัญของวงการแพทย์และสาธารณสุขไทยที่จะก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้สะท้อนให้เห็นถึงสปิริตของแพทย์ไทย โรงพยาบาลภาครัฐ และโรงพยาบาลเอกชน ที่ร่วมมืออย่างสุดความสามารถในการดูแลรักษาคนไทยเพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด-19 พร้อมรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว

นอกจากนี้ ท่ามกลางวิกฤติยังมีโอกาสที่ประเทศได้สร้างชื่อเสียงด้าน Medical Tourism เพื่อก้าวสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ อีกทั้งประเทศไทยยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพของโรงพยาบาล ความชำนาญการของแพทย์ไทย รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ประหยัดกว่าสหรัฐอเมริกา ประมาณ 40-75% หรือสิงคโปร์ ประมาณ 30% หากเทียบกับในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งโครงสร้างค่ารักษาพยาบาลถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการแข่งขันสู่ Medical Hub ในระดับโลก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo