Business

‘ซีพีเอฟ’ รับรางวัล ‘องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน’ ต่อเนื่องปีที่ 3

ซีพีเอฟ คว้ารางวัล “องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ระดับดีเด่น ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ประจำปี 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ตอกย้ำการเป็นแบบอย่างที่ดีขององค์กร ในการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ยอมรับความหลากหลาย และเคารพความแตกต่าง

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มอบโล่รางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ระดับดีเด่น ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ประจำปี 2566 แก่นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

ซีพีเอฟ

นางสาวพิมลรัตน์ กล่าวว่า รางวัลนี้ นับเป็นรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนสูงสุดระดับประเทศ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัท ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล สนับสนุนการปฎิบัติที่ดีด้านแรงงาน ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

การเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของบริษัท ตามหลักปรัชญา “3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน” คือ การทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร เพื่อต่อยอดผลกระทบในเชิงบวก จากการดำเนินธุรกิจของบริษัท ควบคู่ไปกับการป้องกัน ระงับ และบรรเทาผลกระทบในเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น

ซีพีเอฟ
นางสาวพิมลรัตน์ บอกด้วยว่า ซีพีเอฟทำธุรกิจใน 17 ประเทศ มีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 100,000 คน มีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติ ศาสนา แนวความคิด และสถานะทางสังคม โดยคำนึงถึงชุมชนรอบข้าง คู่ค้า ลูกค้า ผู้บริโภค พันธมิตรธุรกิจ และภาคประชาสังคม

บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยปลูกฝังให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ในการเคารพความแตกต่างหลากหลาย ปฏิบัติซึ่งกันและกันอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ปกป้องคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง สร้างการมีส่วนร่วม รวมทั้งต่อยอดความรู้ และประสบการณ์การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ผ่านแผนการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ซีพีเอฟ

ซีพีเอฟดำเนินโครงการ และกิจกรรมหลากหลาย เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้รับการดูแลอย่างเสมอภาค บนความแตกต่างหลากหลาย และอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างมีความสุข

อาทิ การเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานใกล้เกษียณ ผ่านการพัฒนาทักษะ และสร้างกำลังใจผ่านกิจกรรมชมรมต่าง ๆ การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างมีจริยธรรม การจัดให้มีห้องให้นมบุตร การตั้งชมรม LGBTQ+ การพัฒนาบุคลากร เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จากการทำงานจริง และโครงการยกระดับความรู้ความสามารถอื่น ๆ

โครงการบริหารการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ เช่น เดินหน้าพลังงานสะอาดตลอดกระบวนการผลิต ยกเลิกใช้ถ่านหิน การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว การผลิตที่ยั่งยืน บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน การจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

ซีพีเอฟ

บริษัทยังร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่าย ทั้งระดับประเทศ และระดับโลก สร้างความมั่นคงทางอาหาร ร่วมดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน รวมถึงคู่ค้าธุรกิจ และเกษตรกร ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้สูงขึ้น

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเปราะบางในสังคม ให้สามารถพึ่งพาตนเองผ่านการจัดจ้างคนพิการทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชน หรือช่วยงานโรงเรียนที่อยู่ในโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนในจำนวนที่สูงกว่ากฎหมายกำหนด

ซีพีเอฟ

ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร ดำเนินโครงการศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 เพื่อให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างชาติในอุตสาหกรรมประมง จังหวัดสงขลา ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานต่างชาติ และครอบครัว เพื่อร่วมป้องกันการค้ามนุษย์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ทั้งนี้ รางวัล องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน จัดขึ้นโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มอบให้กับ องค์กรภาครัฐ องค์กรรัฐวิสาหกิจ องค์กรธุรกิจ องค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม และองค์กรภาคประชาสังคมที่ดำเนินงานตาม ภารกิจโดยเคารพในหลักการสิทธิมนุษยชน รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้องค์กรอื่น ๆ ในการเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน

ซีพีเอฟ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo