Business

เตรียมตัวไว้เลย 2 กลุ่มแรก กทม. นำร่องเก็บ ‘ค่าบำบัดน้ำเสีย’ เช็กรายละเอียดและอัตราจัดเก็บ ที่นี่!

เตรียมตัวไว้เลย 2 กลุ่มแรก กทม. นำร่องเก็บ ‘ค่าบำบัดน้ำเสีย’ ย้ำไม่บังคับเก็บภาคครัวเรือน เช็กรายละเอียดและอัตราจัดเก็บ ที่นี่!

นายเอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรุงเทพมหานครกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ถึงร่างระเบียบและประกาศกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 ฉบับ

ค่าบำบัดน้ำเสีย

เปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างระเบียบเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย

กรุงเทพมหานครได้มีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 เป็นเวลากว่า 19 ปีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมายังไม่ได้มีการออกระเบียบหรือประกาศกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย จึงทำให้ยังไม่มีการเริ่มจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสีย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีการใช้งบประมาณในการดำเนินการโรงบำบัดน้ำเสียไม่น้อยกว่าปีละ 600 ล้านบาท

ดังนั้น การเริ่มจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสีย จะช่วยให้มีการลดรายจ่ายในการดำเนินการโรงบำบัดนำเสีย อีกทั้งยังสอดคล้องกับหลักการ Polluter Pay Principle หรือหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการจัดการมลพิษของเมืองและลดปริมาณของมลพิษที่เกิดขึ้นในเมืองด้วย

ค่าบำบัดน้ำเสีย

เริ่มเก็บค่าบำบัด 2 กลุ่ม อัตราค่าบำบัด

สาระสำคัญของร่างระเบียบและประกาศทั้ง 7 ฉบับของกรุงเทพมหานครนี้ คือการเริ่มจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียแก่ 2 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 ได้แก่ แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2 (ก) คือ หน่วยงานรัฐหรืออาคารที่ทำการของเอกชนหรือองค์กรระหว่างประเทศ และแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2(จ) ประกอบด้วย สถานประกอบการ ที่มีการใช้น้ำเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี มีการใช้น้ำไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน
  • กลุ่มที่ 2 ได้แก่ แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 3 ประกอบด้วย โรงแรม โรงงาน และสถานประกอบการที่มีการใช้น้ำย้อนหลังเฉลี่ยมากกว่า 2,000 ลูกบาศก์เมตร

ค่าบำบัดน้ำเสีย

สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียนั้น จะแบ่งตามประเภทแหล่งกำเนิดน้ำเสีย โดยแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2 จะมีอัตราค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียที่ 4 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 3 จะมีค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียที่ 8 บาทต่อลูกบาศก์เมตร

โดยคำนวณหาปริมาณน้ำเสียจาก 80% ของปริมาณน้ำประปาหรือน้ำจากแหล่งน้ำอื่น นอกจากนี้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียยังไม่ได้มีการจัดเก็บในทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร โดยจะมีการจัดเก็บเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในระยะการให้บริการของโรงบำบัดน้ำเสียเท่านั้น

สำหรับประชาชนผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติ่มสามารถติดตามได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1cWfJhbok1Z7FEV8I3_GckJOYHjGiyRMy?fbclid=IwAR2RVHwdFKldQIM-n39Li8lpz-CdURoN_JJKu8q99TZUCBv-y-RcffkhDtI

และร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างระเบียบและประกาศ กทม. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 ฉบับ ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSc0Jc9_HKaorSnxr_XPPVp8nLPfPQBmCStv8mROI3vRnp2fhg/viewform?fbclid=IwAR3V2WKWgNnidvNcEs5SKSBK9TqSKF-oEtmz

ค่าบำบัดน้ำเสีย

ไม่บังคับเก็บในภาคครัวเรือน

ขอยืนยันอีกครั้ง ว่ากรุงเทพมหานครไม่ได้โยนภาระค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียแก่ประชาชน เนื่องจากปัจจุบันประชาชนกรุงเทพมหานครทุกคน ต่างร่วมรับภาระในการบำบัดน้ำเสียเท่าเทียมกัน ซึ่งหากค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียนี้สามารถจัดเก็บได้สำเร็จ ผู้ก่อให้เกิดน้ำเสียจะมีส่วนร่วมในการรับภาระในการบำบัดน้ำเสียมากยิ่งขึ้นนั้นเอง

นอกจากนี้กรุงเทพมหานครไม่มีการบังคับจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสียแก่ภาคครัวเรือน จะมีเพียงแต่กรณีภาคครัวเรือนสมัครใจเชื่อมต่อท่อสู่โรงบำบัดน้ำเสียเท่านั้น  ” นายเอกวรัญญูกล่าวในตอนท้าย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo