Business

เห็นชอบ ‘ยกเว้นอากรศุลกากร’ นำเข้าชิ้นส่วน 9 รายการ สำหรับผลิตยานยนต์-เรือไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ถึงปี 68

ครม. เห็นชอบ ‘ยกเว้นอากรศุลกากร’ นำเข้าชิ้นส่วน 9 รายการ สำหรับผลิตยานนต์ไฟฟ้า-เรือไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ถึงปี 68

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม  2566 เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า หรือ เรือแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่

เพื่อส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของกิจการยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง  สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนด้วย

ยกเว้นอากรศุลกากร

9 ชิ้นส่วนเพื่อนำมาผลิตยานยนต์-เรือไฟฟ้า ที่ได้รับการยกเว้นอากร

ทั้งนี้ ของที่ได้รับการยกเว้นอากsศุลกากร ได้แก่ ของและส่วนประกอบของ ของที่นำเข้าเพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์ไฟฟ้า หรือเรือแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รวม 9 รายการ 

  1. แบตเตอรี่ (battery)
  2. มอเตอร์ขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า (traction motor)
  3. คอมเพรสเซอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า
  4. ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS)
  5. ระบบควบคุมการขับขี่
  6. ออนบอร์ดชาร์ทเจอร์ (on-board charger)
  7. ดี ซี/ดีซี คอนเวอร์เตอร์ (DC/DC converter)
  8. อินเวอร์เตอร์ (inverter) รวมถึง พีซียู อินเวอร์เตอร์  PCU inverter
  9. รีดักชัน เกียร์ ( reduction gear)

ยกเว้นอากรศุลกากร

เงื่อนไขการได้รับการยกเว้นอากร

  • ต้องเป็นของที่นำเข้ามาตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 เพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์ไฟฟ้ าหรือเรือแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
  • มีหนังสือรับรองจากสถาบันยานยนต์ ว่าเป็นของหรือส่วนประกอบของของ สำหรับนำมาเพื่อประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์ไฟฟ้า หรือเรือแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ และต้องนำไปใช้ประกอบหรือผลิตเป็นยานยนต์ไฟฟ้า หรือเรือแบบไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่นำเข้าของ
  • หากมีเหตุขัดข้องสามารถขอขยายระยะเวลาการผลิตได้อีกไม่เกิน 6 เดือน
  • สำหรับของที่ได้รับการยกเว้นอากร หากไม่สามารถหรือไม่ได้นำไปใช้ประกอบหรือผลิตภายในเวลาที่กำหนด ให้ผู้นำเข้าของเข้าส่งของนั้นออกไปนอกราชอาณาจักรหรือชำระอากร โดยถือเป็นสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่นำของเข้า

ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ยกเว้นอากรศุลกากร

กระทรวงการคลังคาดการณ์ว่า รัฐอาจจะสูญเสียรายได้จากอากรขาเข้าโดยเฉลี่ยประมาณ 3,143 ล้านบาทต่อปี  แต่จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ในประเทศ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo