Business

กรมการพัฒนาชุมชน ประกาศรางวัลผู้ชนะ ‘โครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล’

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ประกาศรางวัลผู้ชนะ โครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม

กรุงเทพฯ 12 ธันวาคม 2565 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมส่งเสริมการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ต่อยอดพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์เป็นสินค้า OTOP โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)

ส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทผู้ประกอบการ OTOP หรือเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจ เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (Young OTOP)

ต่อยอดภูมิปัญญา

พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล

โดยจัด กิจกรรมงานประกวดในโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล เพื่อรับรางวัล ต้นกล้านารีรัตน รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 ไอคอนสยาม

นายสุทธิพงษ์  จุลเจริญ  ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทผู้ประกอบการ OTOP หรือเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 รวม 483 ราย

ต่อยอดภูมิปัญญา

โดยได้จัดทำ โครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล เพื่อพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ ให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของตลาด เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพมาตรฐาน มีอัตลักษณ์เฉพาะ สร้างสรรค์และทันสมัย สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล และเพิ่มช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ Young OTOP

มุ่งส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาผ้าถิ่นไทย มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า

ต่อยอดภูมิปัญญา

วัตถุประสงค์ 4 ด้าน

​โดยการจัด กิจกรรมงานประกวดในโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล เพื่อรับรางวัล ต้นกล้านารีรัตน รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ใน 4 ด้านหลัก คือ

  1. อนุรักษ์ภูมิปัญญา ปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่า แก่นสาระ และความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. ส่งเสริมสนับสนุน การจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ พร้อมสร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่น
  3. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ซึ่งนำไปสู่การคิดค้นพบสิ่ง แปลกใหม่ ด้วยการดัดแปลง ปรุงแต่ง ผสมผสานกันให้เกิดสิ่งใหม่ รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นทฤษฎีหลักการได้สำเร็จ ทำให้เกิดผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ต่อยอดผลิตภัณฑ์ ด้วยการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าไทยสู่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตามวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นให้เป็นที่นิยมในยุคสมัยเข้ากับทุกเพศทุกวัย ทุกโอกาส
  4. สร้างรายได้กลับเข้าสู่ชุมชน นำไปสู่การ ผลงานอันทรงคุณค่าสู่สากล สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ “คุณค่า” ของผ้าไทยใส่เอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น แสดงถึงภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของไทยสู่สายตาของชาวโลกให้เห็นถึงความงดงาม ความประณีต และยังสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยได้

ต่อยอดภูมิปัญญา

“การประกวดในครั้งนี้ นอกจากเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้เยาวชน YOUNG OTOP ของกรมการพัฒนาชุมชน ที่สำคัญเพื่อพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ของชาว OTOP ให้พัฒนาฝีมือการทอผ้า การตัดเย็บ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย รวมถึงนำไปสู่การสร้างอาชีพ รายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง และชุมชนพึ่งตนเองได้” นายสุทธิพงษ์ กล่าว

ต่อยอดภูมิปัญญา

รางวัลพระราชทาน ต้นกล้านารีรัตน

ผู้ชนะการประกวดจะได้รับรางวัลต้นกล้านารีรัตน รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ผู้ชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่พระราชทาน รางวัลที่ 2 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่พระราชทาน และรางวัลที่ 3 เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่พระราชทาน และรางวัลชมเชย 2 รางวัล เงินรางวัลละ 5,000 บาท พร้อมโล่พระราชทาน

ต่อยอดภูมิปัญญา

​สำหรับคุณสมบัติของผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ที่สมัครเข้ารับการประกวดฯ ในครั้งนี้ จะเป็นเยาวชน OTOP (Young OTOP) หรือทายาทผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย อายุระหว่าง 15- 30 ปี โดยการประกวดใช้หลักเกณฑ์เฉพาะแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ (Specific Criteria) พิจารณาใน 6 ด้าน ได้แก่

  1. ผลิตภัณฑ์มีความเป็นอัตลักษณ์หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  2. ใช้วัตถุดิบจากในท้องถิ่นที่ผลิต หรือเป็นฝีมือของคนในพื้นถิ่น
  3. ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ มีความประณีต พิถีพิถัน ในทุกขั้นตอนการผลิต
  4. ความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย
  5. มีช่องทางการตลาดออนไลน์อย่างน้อย 3 ช่องทาง
  6. เข้าร่วมกิจกรรมครบทุกครั้ง

S 2679321

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมชมนิทรรศการ พร้อมร่วมช้อปอุดหนุนสินค้าใน “โครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล” ได้ตั้งแต่วันนี้ – 13 ธันวาคม 2565 ณ ไอคอนคราฟต์ ชั้น 4 – 5 ไอคอนสยาม สอบถามเพิ่มเติม โทร.1338 หรือ Facebook: ICONCRAFT

S 2679316

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo