World News

ควบกิจการ ‘ธนชาต-ทหารไทย’ เปิดทาง ‘สโกเทียแบงก์’ ถอนลงทุนไทย

ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการควบรวมกิจการกันระหว่างธนาคารธนชาต กับธนาคารทหารไทย อาจทำให้ธนาคารโนวา สโกเทีย ของแคนาดา ถอนตัวออกจากไทยได้ในที่สุด หลังจากดำเนินความพยายามมาร่วม 3 ปี

NOERDQKQNFH6BFCONACSJIWX6E

นายแกเบรียล เดเชน นักวิเคราะห์จากเนชันแนล แบงก์ ไฟแนนเชียล แสดงความเห็นว่า การเจรจาควบรวมกิจการระหว่างธนาคารธนชาต และธนาคารทหารไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลนั้น อาจเป็นโอกาส และแรงจูงใจให้กับโนวา สโกเทีย ซึ่งถือหุ้น 49% ในธนชาต ที่จะลดขนาดกิจการ หรือแม้กระทั่งถอนการลงทุนออกไป

“การทิ้งสินทรัพย์นี้ถือเป็นการกระทำที่สมเหตุสมผลสำหรับสโกเทียแบงก์ เพราะเป็นเรื่องยากที่จะบริหารกิจการ ที่อยู่ห่างไกล และไม่ว่าอะไรก็ตาม ที่จะทำให้มีความซับซ้อนน้อยลง ก็เป็นเรื่องดีที่จะทำอยู่แล้ว”

แม้ความเกี่ยวข้องของสโกเทียแบงก์ ในธุรกิจธนาคารเพื่อผู้บริโภคของไทย จะนับย้อนหลังไปได้นานกว่า 10 ปี แต่สถาบันการเงินแคนาดารายนี้ มีการเคลื่อนไหวที่จะขายหุ้น หรือออกจากธุรกิจในไทยมาเป็นระยะๆ ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา จากการที่นายไบรอัน พอร์เตอร์ ซีอีโอของธนาคาร พุ่งเป้าความสนใจไปที่ 4 ชาติพันธมิตรแปซิฟิคในลาตินอเมริกา คือ เม็กซิโก ชิลี เปรู และโคลัมเบีย

ทั้งในระยะหลังมานี้ สโกเทียแบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารที่มีการลงทุนในต่างประเทศมากสุดของแคนาดา ก็พยายามที่จะลดการดำเนินงานในต่างประเทศลงมา รวมถึง แผนการที่เปิดเผยออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ ที่จะถอนตัวออกจากตลาด 9 ชาติแคริบเบียน เพื่อหันไปมุ่งเน้นการลงทุนที่ลาตินอเมริกาแทน

นายเดเชน ระบุว่า ในแง่ของยุทธศาสตร์แล้ว ถือเป็นเรื่องสมเหตุสมผลสำหรับสโกเทียแบงก์ ที่จะพุ่งเป้าไปในภูมิภาคพันธมิตรแปซิฟิก ซึ่งมีขนาด และภูมิศาสตร์ ที่มีความเกี่ยวข้องมากกว่า

“แต่ประเด็นก็คือ ธนชาตเป็นกิจการที่ทำกำไร แล้วสโกเทีย จะหาอะไรมาทดแทนรายได้ในส่วนนี้”

collage

ทั้งนี้ สโกเทียแบงก์เข้าซื้อหุ้นธนชาต 25% ในราคาประมาณ 225 ล้านดอลลาร์แคนาดา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 และหลังจากนั้น 2 ปี ก็ได้ลงทุนเพิ่มอีก 270 ล้านดอลลาร์แคนาดา เพื่อถือหุ้นเพิ่มเป็น 49% ซึ่งเป็นเพดานสูงสุดสำหรับธนาคารต่างชาติที่เข้าลงทุนไทย

ต่อมาในปี 2553 ได้อัดฉีดเงินอีกราว 650 ล้านดอลลาร์แคนาดาให้กับธนชาต ส่วนหนึ่งของการเข้าซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทยในปีเดียวกัน

ที่มา: บลูมเบิร์ก 

Avatar photo