Environmental Sustainability

จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ เปิดเวทีจุดประกาย ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ สู่การแก้ปัญหาจริง

วันนี้ (12 พ.ย. 63) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้ประกอบธุรกิจเคมีภัณฑ์ชั้นนำ ได้ร่วมกับพันธมิตรจัดงานประชุมครั้งยิ่งใหญ่  “GC Circular Living Symposium 2020: Tomorrow Together” ชูจุดเด่นเรื่องการนำแนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สู่การปฏิบัติจริง “Circular in Action” ตอบโจทย์การดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พลิกวิกฤติสู่โอกาสในการปฏิวัติการใช้ทรัพยากรโลกอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน

คงกระพัน อินทรแจ้ง เศรษฐกิจหมุนเวียน

“เศรษฐกิจหมุนเวียน” จากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) คงกระพัน อินทรแจ้ง กล่าวถึงการจัดเวทีประชุมครั้งนี้ว่า ทุกวันนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งทุกคนตระหนักอยู่แล้ว

สิ่งสำคัญคือ เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรให้สามารถจับต้องได้ สร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ยั่งยืน สร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy จึงน่าจะเป็นการตอบโจทย์ การแก้ไขปัญหาได้จริงและเป็นการสร้างความร่วมมือในทุกๆ ภาคส่วน

ในปีที่ผ่านมา GC จึงได้สร้างเวที GC Circular Living Symposium เพื่อสร้างการตระหนักรู้และตื่นตัว แต่ในการงาน GC Circular Living Symposium 2020 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เราจะเน้นเรื่องการนำแนวคิด Circular Economy สู่การปฏิบัติจริง เห็นผลิตภัณฑ์และแก้ปัญหาที่ปฏิบัติได้

GC Circular Living Symposium 2020

GC Circular Living Symposium 2020 จะสร้างเวทีสำหรับผู้นำทางความคิด นักนวัตกรรมทางความคิด และนักธุรกิจ ได้มีส่วนร่วมมาแชร์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการนำแนวคิด Circular Economy มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในใช้ชีวิตประจำวันและองค์กร รวมถึงมีการแบ่งปัน 4 ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แนวคิด Circular Economy ประสบความสำเร็จจากหลายภาคส่วน

  • Thought Leader ผู้นำความคิด นวัตกรและนักธุรกิจจากทั่วโลกมาร่วมแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการนำแนวคิด Circular Economy ไปใช้เพื่อขับเคลื่อนโลกร่วมกัน
  • Innovation นวัตกรรมจะช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ มีสินค้าที่ผลิตด้วยแนวคิด Circular Economy ออกมาได้จริง
  • Business Model การออกแบบธุรกิจให้เกิดขึ้นจริงและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ใช่แค่กิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) เท่านั้น ต้องทำให้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ
  • Ecosystem การสร้างระบบนิเวศเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสามารถอยู่ร่วมกันได้

30185346.11ce0366a751c32b7fff730e4e92555d.20111204

มนุษย์เหลือเวลาอีกไม่มาก

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวขณะเป็นประธานเปิดงาน GC Circular Living Symposium 2020 ว่า วันนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยกรธรรมชาติในประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลกเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกคนให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจุบันด้วยการใช้พลังงานและการเพิ่มขึ้นของคนทั่วโลก มีการคาดการณ์ว่าอีกไม่เกิน 50 ปีนับจากนี้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต วิถีการบริโภค เราต้องใช้ทรัพยากรในโลกนี้เพิ่มอีก 3 เท่า และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์อีกมหาศาล

ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มมีการติดตั้งนาฬิกาโลก เราเหลือเวลาอีกประมาณ 7 ปีและ 50 กว่าวัน จะเป็นวันที่โลกไม่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่มนุษย์เราผลิตขึ้นได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นวันนี้เราต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมภาคการผลิต การบริโภค วิถีชีวิตทุกๆ วันของเรา ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง เราจะไปถึงจุดวิกฤติที่ไม่สามารถย้อนกลับไปใหม่ได้

การมาของไวรัสโควิด-19 เปรียบเสมือนสัญญาณจากธรรมชาติ ที่มาเคาะประตูกับมนุษย์ว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติ เพราะหลังจากโควิด-19 มนุษย์เราต้องเผชิญกับหลายสิ่งหลายอย่าง โดยเฉพาะการสร้างเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ ประเทศไทยเองก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากมาย

แต่ต่อจากนี้ไป การสร้างเศรษฐกิจเฟื่องฟูนั้น หัวใจสำคัญคือทำให้ “ยั่งยืน” ขึ้น ถ้ามนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลง ธรรมชาติจะมาเคาะประตูอีกครั้ง

30185346.e8443ce3aefc891372cae6b5b83c827f.20111204

ต้องการความร่วมมือจากทุกคน

สำหรับปัญหาขยะพลาสติก ปัญหาไม่ได้เกิดจากตัวพลาสติกเอง เพราะปัญหาอยู่ที่มนุษย์ เราใช้และทิ้งอย่างขาดความระมัดระวัง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนเป็นเรื่องที่ยากเหลือเกิน

ทั้งนี้ วิศวกรชาวสวีเดนได้คิดค้นพลาสติกขึ้นมาประมาณปี 1959 เพื่อตอบสนองความต้องการและลดการใช้ทรัพยกรธรรมชาติ ด้วยความตั้งใจที่ว่าจะลดปริมาณการใช้ถุงกระดาษ ลดการตัดต้นไม้มาทำถุงกระดาษ ครั้งนั้นต้องเรียกว่าเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก เพราะเป็นการใช้ถุงพลาสติกอุบัติขึ้นมาเป็นครั้งแรก

ครั้งนี้ 2020 นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมา 70 ปีที่แล้ว ก็กำลังจะเปลี่ยนโลกอีกครั้ง ถ้าเราไม่ระมัดระวัง แต่การเปลี่ยนแปลงโลกในครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เลวร้ายลง ไม่ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

S 105267221

ส่วนตัวเชื่อว่า แนวคิด Circular Economy จะเป็นทางออกที่สำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติรูปแบบการใช้พลังงาน ปฏิวัติรูปแบบการใช้วัตถุดิบ การใช้ขั้นตอนการผลิตต่างๆ เป็นการรักษาสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เพื่อให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการบริโภคและการผลิต รวมถึงรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ลดการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนไดออกไซต์

ด้วยนวัตกรรมที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน เราสามารถเอาวัสดุที่ทิ้งไปแล้ว เช่น ขวด ฝาขวด พลาสติก PET HDPE LDPE ทั้งหลาย ที่ยืดได้บ้าง ยืดไม่ได้บ้าง พลาสติกแข็งบ้าง สามารถนำกลับมาใช้ให ม่เพื่อลดต้นทุนทางทรัพยากรทางธรรมชาติ ลดการใช้เม็ดพลาสติก ประหยัดทรัพยกร แล้วก็ทำให้การบริโภคของเรามีความยั่งยืนมากขึ้น

แต่นโยบายรัฐบาลจะดีแค่ไหน ถ้าประชาชนไม่เริ่มที่จะเปลี่ยน ถ้าคนไทยยังเอาสบาย เอาตามใจฉันที่ก่อน เราจะมีนวัตกรรม เทคโนโลยีดีแค่ไหนก็แล้ว ถ้าพวกเราไม่เริ่มกัน คำว่า circular living ก็จะเป็นไปไม่ได้

สิ่งที่เราทำกันอยู่วันนี้ก็เพื่อให้สังคมในอนาคต โลกเราอีก 20 ปีต่อจากนี้ไปส่งคืนสิ่งแวดล้อมให้คนรุ่นต่อๆ ไปในสภาพที่สมบูรณ์ ทุ่งหญ้าเขียวขจี ทะเลปราศจากขยะ อากาศสูดหายใจได้เต็มปอด สิ่งที่เราทำทุกวันนี้ทำเพื่อลูกหลาน อีก 30-40 ปี คนได้จะอยู่คนในแผ่นดินไทยที่มีความสุข

เศรษฐกิจหมุนเวียน พลาสติก

S 2564260

S 2564265

GC Circular Living Symposium 2020

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo