General

‘RSV’ ระบาดโคราช เด็กป่วยล้น รพ. หมอเด็กแนะ ล็อกดาวน์ เนอร์สเซอรี่ โรงเรียน

RSV ระบาดโคราช เด็กป่วยแน่นหอผู้ป่วย หมอเด็กหวั่น เอาไม่อยู่ แนะล็อกดาวน์ เนอร์สเซอร์รี่ โรงเรียน ที่มีเด็กป่วยหลายคน พร้อมสังเกต ป้องกัน

นายแพทย์จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา เจ้าของเพจดัง “เข้าใจโรคเข้าใจลูก” โพสต์เตือนเด็ก ผู้ปกครอง สังเกตอาการของโรค หลังไวรัส RSV ระบาดโคราช จนเด็กป่วยแน่นหอผู้ป่วยเด็ก พร้อมแนะล็อกดาวน์โรงเรียน เนอร์สเซอรี่ ที่พบเด็กป่วยหลายคน โดยระบุว่า

RSV ระบาดโคราช

“#เอาไม่อยู่จริงๆกับRSV

ควร lock down เนอร์สเซอร์รี่ หรือ โรงเรียน ที่มีเด็กป่วยหลายคนได้แล้วหรือยัง

ครูบางโรงเรียน ยังไลน์บอกผู้ปกครองให้พามา เพราะจะปิดเทอมแล้ว โรงเรียนจะมีประเมินเด็ก.. เพลียจริงๆ

สถานการณ์ ณ ขณะนี้ทำเอาผู้ป่วยล้นหอผู้ป่วยจริง ๆ มีตั้งแต่อายุไม่กี่วัน(ติดจากแม่เป็นหวัด) ไปจนถึงเด็กโตไปรร. (ตามโรงพยาบาลเอกชนที่ทราบขาาว ก็มีจำนวนไม่น้อย)

ความเข้าใจเบื้องต้น-RSV ในผู้ใหญ่-เด็กโตๆอาจมีเพียงอาการหวัด-น้ำมูกไหลจึงทำให้หลายคนคิดว่าไม่น่ามีอะไร แท้จริงนั่นแหละครับ สาเหตุของการแพร่อย่างรวดเร็ว

ล้างมือ สวมหน้ากากโดยเฉพาะคนที่ป่วย แยกเด็กป่วย บ้านใครบ้านมันก่อน ช่วงนี้

ไม่ไหวจะเคลียร์จริงๆครับ

นอกจากนี้ นายแพทย์จิรรุจน์ ยังโพสต์ถึงอาการของ โรค RSV ว่า

 

#RSV มาอีกแล้ว…โปรดอ่านเถอะครับ เพราะคุณอาจเป็นส่วนหนึ่งที่พาเชื้อไปสู่เด็กโดยไม่รู้ตัว

หน้าฝนเมื่อไหร่ จะการ์ดตกสูงแค่ไหน อย่างไร RSV ก็มา

ผมสรุปให้ฟังเบื้องต้น แบบนี้นะครับ (ถ้าไม่อยากอ่านก็ข้ามไปการป้องกันเลยครับ)

#RSVคืออะไร คือ ไวรัสที่ก่อให้เกิดการอักเสบในทางเดินหายใจ อาการอาจมีเพียง น้ำมูกไหลมาก ไอ ไข้ต่ำๆในเด็กโตๆ แต่ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 3 ปี “อาจมีอาการรุนแรง” เช่น หลอดลมฝอยอักเสบ ปอดอักเสบ (ปอดบวม)

shutterstock 102119773 web

ยิ่งอายุน้อยๆ เช่น น้อยกว่า 1 ปี อาการอาจรุนแรงถึงขั้นหายใจล้มเหลว ได้ง่ายๆ เลยครับ

#RSVติดต่ออย่างไร เหมือน โควิด19เป๊ะ การสูดหายใจเอาละอองฝอยที่เกิดจากการไอ จามเข้าไป การจับสัมผัสน้ำมูกน้ำลายแม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถนำไวรัสเข้าสู่ระบบหายใจได้

#RSV อาการเป็นอย่างไร ในช่วงแรกของการติดเชื้อ อาการก็เหมือน “หวัดทั่วๆไป” คือ น้ำมูกไหล ไอมีเสมหะ แต่ อาจมีไข้สูงได้ในเด็กเล็กๆ

ผ่านไป1-2 วันหลังน้ำมูกมา ถ้ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นที่หลอดลมฝอย (โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ) ก็จะไอมีเสมหะปริมาณมาก หอบเหนื่อย กินนมได้ลดลง อาการรุนแรงมากขึ้น บางรายถึงขั้น ระบบหายใจล้มเหลว

#RSV รักษาอย่างไร “ไม่มียาฆ่าไวรัส” รอหายเอง แต่ระหว่างรอก็คือ ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ออกซิเจน หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ ตามความจำเป็น รอจนร่างกายจัดการไวรัส รอจนกระบวนอักเสบ “สงบลง” ซึ่งกระบวนการทั้งหมด อาจกินเวลานานถึง 14วัน!!!

ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ แทรกซ้อนเช่น IPD, Hib ก็หนักขึ้นไปอีกครับ

#RSV มีวัคซีนป้องกันไหม “ไม่มี” ครับ เชื้อนี้เจอมาตั้งแต่ราวปี 1960 กระมังครับ นี่กี่ปีแล้วครับ เด็กตายจากเรื่องนี้ไปไม่รู้กี่คนแล้ว

#จะป้องกันได้อย่างไร เหมือนโควิด-19 เป๊ะ!!!!

1. ล้างมือบ่อยๆ ทั้งผู้ปกครอง คนดูแลเด็ก และคนในบ้าน จะใช้น้ำ+สบู่ หรือ เจลแอลกอฮอลล์ล้างมือ แบบเดียวกับที่ทำตอนสมัยโควิดยัง ระทึกนั่นแหละครับ

2. สวมหน้ากาก โดยเฉพาะ “เด็กที่ป่วย” พยายามให้ได้อย่างถึงที่สุด เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ

3. แยกคนป่วยออกมา เด็กโตที่ไปโรงเรียน มีอาการไอ+น้ำมูก บอกไม่ได้หรอกว่า RSV หรือไม่ ตามที่กล่าวข้างต้น ดังนั้น การพยายามแยกผู้ป่วย ไว้ก่อน จึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างน้อยๆ ต้องแยกเตียงที่นอนกับน้องเล็ก ๆ พยายามไม่ให้มาหอมมาจูบน้องเล็ก ๆ

4.ไม่หอม-ไม่จับ-ไม่จูบ เด็กเล็กๆ เลิกเสียที การแสดงออกความรักแบบสร้างความหายนะกับเด็ก ตอนลูกเขาป่วย คนหอมคนจับคนจูบ ไม่ได้มาเฝ้าน้องที่โรงพยาบาลนะครับ

RSV

ถ้าบอกว่าที่หมอพูดว่า “ทำไม่ได้หรอก” มันยากเกิ๊น เตรียมร้องเพลงพี่ติ๊ก ชีโร่ “รอรับได้เลย” ไปพลางๆครับ มันมาแน่ และ ยิ่งอายุน้อย “มากหนัก” จริงๆนะครับ

ล้างมือ-สวมหน้ากาก ไม่หอม ไม่จับเด็กเล็ก ๆ วนไปเลยครับ

ด้วยความปรารถนาดี

 

เราเคยมีเคสผู้สูงอายุ (อายราว 70ปี) ติดเชื้อ RSV จากหลานที่ไปโรงเรียน อาการรุนแรงจากนั้นติดเชื้อแบคทีเรีย IPD แล้วเสียชีวิตก็มีนะ ดังนั้น ที่แนะนำไปข้างต้นทำเถอะครับ

สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัส RSV เด็กโต ผู้ใหญ่ ที่ไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการรุนแรง อาจเป็นเพียงแค่อาการ น้ำมูกไหล ไอ ไข้ต่ำ ๆ 3-4 วันก็หาย แต่เด็กเล็ก โดยเฉพาะ “อายุน้อยกว่า 2ปี” กลุ่มนี้เสี่ยงจะมีอาการรุนแรง ยิ่งอายุน้อยกว่า 1 ปี ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น

นอกจากนี้ โรคประจำตัวต่างๆ ก็อาจจะกำเริบรุนแรงขึ้น เมื่อได้มีการติดเชื้อ RSV เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด ยิ่งอายุน้อย ยิ่งอาการรุนแรงมากขึ้น

อีกกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงไม่แพ้กันคือ “ผู้สูงอายุ” ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และ ผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรัง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo