General

‘วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก’ 10 กันยายน ใส่ใจคนข้างตัวสักนิด

“วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก” หรือ World Suicide Prevention Day ตรงกับวันที่ 10 กันยายน ของทุกปี โดย “องค์การอนามัยโลก” กำหนดวันนี้ขึ้นมา เป็นครั้งแรกเมื่อ ปี  2546 

องค์การอนามัยโลก ประเมินว่า ในแต่ละปี จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ เป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน เมื่อคิดเฉลี่ยต่อเวลา จะพบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ทุกๆ 40 วินาที ทั้งการฆ่าตัวตาย ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจของ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ครอบครัว และเพื่อนๆ ของผู้ตาย อีกประมาณ 5-10 ล้านคน ตลอดจนมีผลมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

suicide111

การศึกษาขององค์การอนามัยโลก แสดงให้เห็นว่า การฆ่าตัวตายติด 10 อันดับแรก ของสาเหตุการตายของประชากรโลก และติดอันดับที่ 3 ของสาเหตุการตายสำหรับประชากรวัย 15-35 ปี โดยผู้ชายฆ่าตัวตาย สำเร็จมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า (ยกเว้นในประเทศจีน)

องค์การอนามัยโลกประมาณว่า ผู้ทำร้ายตนเองมีจำนวนมากกว่าผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 10-20 เท่า ซึ่งการศึกษา พบด้วยว่า ผู้ทำร้ายตนเอง จะมีโอกาสทำซ้ำและประสบความสำเร็จได้ โดยมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จในระยะ 1 ปีหลังการทำร้ายตนเองครั้งแรก เพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่า เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป และ 10%  ของผู้ทำร้ายตนเอง จะจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา

ข้อมูลจาก World Population Review แสดงให้เห็นว่า หลายประเทศทั่วโลก มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้นทุกปี อย่างเช่นอังกฤษ ที่ข้อมูลล่าสุด นับถึงช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า มีอัตราการฆ่าตัวตาย อยุ่ที่ 11.4 ต่อประชากร 100,000 คน สูงสุดในรอบ 19 ปี ส่วนสหรัฐเพิ่มขึ้นทุกปีมาถึง 13 ปีติดต่อกันแล้ว

suicide 759

10 ประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดในโลก 

  1. ลิทัวเนีย
  2. รัสเซีย
  3. กีอานา
  4. เกาหลีใต้
  5. เบลารุส
  6. สุรินัม
  7. คาซัคสถาน
  8. ยูเครน
  9. ลัตเวีย
  10. เลโซโท

วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก สร้างการตระหนัก สถานการณ์ฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย หรือ พยายามฆ่าตัวตาย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากกรมสุขภาพจิต แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์การฆ่าตัวตายในประเทศไทย ในปี 2561-2562 หากเปรียบเทียบตัวเลขรอบ 6 เดือน พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561 มีสัดส่วน 3.14% ต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนรอบ 6 เดือนหลัง 3.18% ต่อประชากร 1 แสนคน

ขณะที่ ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 อยู่ที่ 3.08% ต่อประชากร 1 แสนคน เฉลี่ยประมาณ 11-12 รายต่อวัน และส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 45 ปี โดยเป็นเพศชาย 80.4%

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตาย ในปี 2561-2562

  • ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ 53.04%,
  • ปัญหาจากสุรา 29%
  • โรคทางกาย 25.7%
  • ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 19%
  • โรคทางจิต 12%
  • โรคซึมเศร้า 7.8%
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก
ภาพ : ทวิตเตอร์ @FemmiiTA

ในไทยนั้น ใช้ ดอกสะมาเรีย เป็นสัญลักษณ์การป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยดอกสะมาเรีย สื่อถึงมิตรภาพ และความหวังใหม่ มอบให้เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่เพื่อนมนุษย์ในการเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ในขณะที่สีขาวของดอกสะมาเรีย แทนความบริสุทธิ์ และความจริงใจ

แนวทางป้องกันการฆ่าตัวตาย สามารถป้องกันได้จากบุคคลรอบข้าง ครอบครัว ญาติ เพื่อนสนิท คนใกล้ชิด ชุมชม และสังคม การดูแลจิตใจซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ การพูดคุยซักถาม รับฟัง ให้กำลังใจ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่กำลังมีปัญหาอย่างใส่ใจ ให้คลายจากความเศร้า ความกังวล เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถช่วยกันได้

โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเคยทำร้ายตนเองมาก่อน จะต้องคอยดูแลใกล้ชิด ช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ หรือพาไปรับการรักษากับแพทย์ เช่นเดียวกับในรายที่มีความเครียด หรือมีอาการซึมเศร้า ซึ่งจะมีทั้งการใช้ยารักษา โดยต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง และการให้การปรึกษาทางจิตวิทยา เพื่อเปลี่ยนความคิด และมุมมองก็จะช่วยได้

วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก

หน่วยงานที่ให้คำช่วยเหลือในการป้องกันการฆ่าตัวตาย

18836009 1407201342660675 4669899894466093930 n

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo