General

คลังชงตั้ง กองทุน กบช. ดูแลแรงงานวัยเกษียณ ในระบบ 14 ล้านคน

ดูแลแรงงานวัยเกษียณ คลังเตรียมเสนอ ครม. ผ่านร่าง พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พร้อมตั้งกองทุนดูแลแรงงาน 14 ล้านคน ให้มีรายได้ช่วงเกษียณ

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้สรุปผลการรับฟังความคิดเป็นต่อ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาเห็นชอบ โดยเฉพาะการ ดูแลแรงงานวัยเกษียณ

ดูแลแรงงานวัยเกษียณ

ทั้งนี้เนื่องจาก กฎหมายดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ ทำให้แรงงานในระบบทั้งหมด ที่มีอยู่ประมาณ14ล้านคน มีรายได้หลังเกษียณอายุ ไม่น้อยกว่า 50% ของรายได้ก่อนเกษียณ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 1 หมื่นบาทต่อเดือน มีสัดส่วนสูงถึง50%

สำหรับ กฎหมาย กบช. นี้ จะมีทำหน้าที่เหมือนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน แต่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนภาคสมัครใจ ซึ่งมีแรงงานในระบบ เป็นสมาชิกกองทุนนี้เพียง 3 ล้านคนเท่านั้น

ขณะที่ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ จะเป็นกองทุนภาคบังคับ โดยที่นายจ้างจะต้องตั้งกองทุนขึ้น และใส่เงินสมทบเข้ากองทุน ซึ่งจะทำให้แรงงานในระบบ 14 ล้านคนจะมีเงินออม ใช้ในวัยเกษียณอย่างเพียงพอ

สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. กบช. นี้ กำหนดให้ลูกจ้าง ที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี เป็นลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ พนักงานราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่องค์การมหาชน ได้เข้าเป็นสมาชิก โดยเมื่อกฎหมาย มีผลบังคับใช้ จะให้ระยะเวลา 1 ปี

young.original

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดระยะเวลาให้ กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปจะต้องตั้งกองทุน กบช. และ ภายใน 3 ปี กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องตั้งกองทุน กบช. เช่นกัน และภายใน 5 ปี กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องตั้งกองทุนดังกล่าว

การจ่ายเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้าง โดยลูกจ้าง ต้องมีเพดานค่าจ้างไม่เกิน 6,000 บาทต่อเดือน ในปีที่ 1-3 จะจ่ายฝ่ายละ 3% ของค่าจ้าง และปีที่ 4-6 จ่ายฝ่ายละ 5% ของค่าจ้าง และปีที่ 7-9 จ่ายฝ่ายละ 7% ของค่าจ้าง จากนั้น ปีที่ 10 ขึ้นไป จ่ายฝ่ายละไม่เกิน 10% ของค่าจ้าง

ในส่วนของลูกจ้าง ที่มีค่าจ้างน้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบฝ่ายเดียว โดยที่ลูกจ้างไม่ต้องจ่าย ส่วนกรณีที่ ลูกจ้างและนายจ้าง ส่งเพิ่มได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง โดยไม่จำกัด เพดานค่าจ้าง

ด้านผลตอบแทน ที่ลูกจ้างจะได้รับ ก็สามารถเลือกได้ว่า จะรับเป็นเงินบำนาญ 20 ปี หรือบำเหน็จเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเงินที่ได้ จากผลประโยชน์ตอบแทน จะได้รับการยกเว้นภาษี

สำหรับ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ในปี 2561 ให้ทุกบริษัท จัดตั้งกองทุน ลักษณะเหมือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งประเมินว่า กองทุนดังกล่าวจะทำให้ รายได้หลังเกษียณของลูกจ้าง เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่เพียงพอ ช่วยให้ระดับเงินออมในประเทศ เพิ่มขึ้น โดยคาดว่า ในปีแรกเงินออม จะเพิ่มขึ้น 6.4 หมื่นล้านบาท ปีที่ 5 จะเพิ่มเป็น 5 แสนล้านบาท และปีที่ 10 จะเพิ่มเป็น 1.7 แสนล้านบาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo