Videos

เหตุใดมนุษย์จึงอยากไป ‘สำรวจดาวอังคาร’ ดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้กันนักหนา?

จีนปล่อยจรวดลองมาร์ช-5 ขึ้นไปสู่อวกาศ เพื่อปฏิบัติภารกิจ สำรวจดาวอังคาร ครั้งแรกของประเทศในวันพฤหัสบดีที่ 23 ก.ค. มาหาคำตอบที่ว่า “เหตุใดมนุษย์ถึงได้ลุ่มหลงกับดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้นัก?”

จรวดลองมาร์ช-5 วาย4 ซึ่งเป็นจรวดขนส่งขนาดใหญ่ที่สุดของจีน นำพายาน สำรวจดาวอังคาร ขึ้นไปสู่อวกาศ โดยมีเป้าหมายในการโคจร ลงจอด และเคลื่อนที่สำรวจพื้นผิวในภารกิจเดียว พร้อมเก็บข้อมูลการสำรวจทางวิทยาศาสตร์จาก ดาวอังคาร

ยานอวกาศซึ่งประกอบด้วย ‘ยานโคจรและยานสำรวจ’ ถูกส่งเข้า วงโคจรขนย้าย (Transfer Orbit) ระหว่าง โลก-ดาวอังคาร

จีน เป็น 1 ใน 3 ประเทศที่เผยแผนการปล่อยยาน สำรวจดาวอังคารภายในปีนี้ โดยเมื่อวันที่ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ปล่อย ยานสำรวจโฮป ขึ้นสู่อวกาศ ส่วน สหรัฐอเมริกา ก็วางแผนที่จะปล่อย ยานสำรวจดาวอังคารเพอร์ซิเวียรันซ์ ในอนาคตอันใกล้

ที่ผ่านมามนุษย์เฝ้าติดตามศึกษาดาวอังคารมาโดยตลอด ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 มีความพยายามที่จะส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวอังคารมาแล้วหลายสิบครั้ง

เหตุใดมนุษย์จึงมุ่งมั่นอยากไป ‘สำรวจดาวอังคาร’ ดาวเพื่อนบ้านที่อยู่ถัดจากเราดวงนี้ให้ได้

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่คล้ายคลึงกับโลกมากที่สุดในระบบสุริยจักรวาล ทั้งทางน้ำที่แห้งผาก ดินดอนสามเหลี่ยมทะเลสาบ และแร่ธาตุจำนวนมากซึ่งจะเกิดจากแหล่งน้ำเท่านั้น เป็นหลักฐานที่ชี้ว่าครั้งหนึ่งเคยมีน้ำบนดาวอังคาร

สำรวจดาวอังคาร

สิ่งเหล่านี้นำพาเหล่านักวิทยาศาสตร์ไปสู่คำถามที่ว่า “เคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอังคาร หรือตอนนี้มีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารหรือไม่” และ “ดาวอังคารจะกลายเป็นบ้านหลังใหม่ของมนุษย์ได้หรือเปล่า”

นอกจากนี้ ลักษณะทางธรณีสัณฐานของดาวอังคารก็ยังคงอยู่ในสภาพดี พบการมุดตัวของเปลือกโลก การจมตัวของเปลือกโลก และการกัดเซาะของเปลือกโลกในปริมาณเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่อดีตที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถก้าวย้อนกลับไปสู่ช่วงเวลาหลายพันล้านปีก่อนได้ นับเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้มนุษย์ยังคงเฝ้ามองดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้

ทุกความพยายามจะดำเนินต่อไป เพื่อคลี่คลายปริศนาเกี่ยวกับดาวอังคาร โลก และระบบสุริยจักรวาลของเรา

จีนปล่อย ‘ยานสำรวจดาวอังคาร’ ทะยานสู่ห้วงอวกาศสำเร็จในภารกิจแรกของประเทศ

จีนปล่อยยาน สำรวจดาวอังคาร ในภารกิจแรกของประเทศ ที่มณฑลไห่หนาน วันที่ 23 ก.ค. 63 มีจุดมุ่งหมายในการโคจร ลงจอด เคลื่อนที่สำรวจพื้นผิวในภารกิจเดียว และเก็บข้อมูลการสำรวจทางวิทยาศาสตร์จากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะดวงนี้

จรวดลองมาร์ช-5 (Long March-5) ซึ่งเป็นยานพาหนะขนส่งขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ได้บรรทุกยานอวกาศที่มีมวล 5 ตัน ทะยานสู่ท้องฟ้า จากฐานปล่อยยานอวกาศเหวินชาง ริมชายฝั่งของมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มณฑลเกาะทางตอนใต้ของประเทศ เมื่อเวลา 12.41 น. ตามเวลาปักกิ่ง

XxjpsgC007153 20200723 PEPFN0A001 scaled 1

องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) รายงานว่าราว 36 นาทีต่อมา ยานอวกาศซึ่งประกอบด้วยยานโคจรและยานสำรวจ ถูกส่งเข้าวงโคจรขนย้าย (Transfer Orbit) ระหว่างโลก-ดาวอังคาร นับเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางยาวนาน 7 เดือน สู่ดาวอังคารหรือเคราะห์สีแดงดวงนี้

ภารกิจสำรวจดาวอังคารภารกิจแรกของจีนนี้ใช้ชื่อว่า “เทียนเวิ่น-1” (Tianwen-1) มีความหมายว่า “คำถามสู่สรวงสวรรค์” ตั้งตามกวีนิพนธ์ซึ่งประพันธ์โดยชวีหยวน (ราว 340-278 ปีก่อนคริสตกาล) หนึ่งในกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคจีนโบราณ

องค์การระบุว่าชื่อนี้ แสดงถึงความมุมานะของจีนในการแสวงหาความจริงและวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสำรวจธรรมชาติและจักรวาล

XxjpsgC007155 20200723 PEPFN0A001 scaled 1

มาทำความรู้จักดาวอังคารกัน

ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดอันดับที่สอง ในระบบสุริยะ รองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม ‘ดาวแดง’ เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีชั้นบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก

คาบการหมุนรอบตัวเอง และวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่างๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้นๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่า 40% ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่

Mars 2020

ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอส และ ดีมอส ซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา

การสำรวจดาวอังคารในอดีต

ก่อนหน้ามีการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อ ปี 1965 หลายคนคาดว่า มีน้ำในรูปของของเหลว บนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาว ซึ่งดูเป็นทะเล และทวีป บางคนแปลความรอยมืด ริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำ สำหรับน้ำในรูปของของเหลว

XxjpsgC007158 20200723 PEPFN0A001

ภายหลังมีการอธิบายว่า ภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยา ที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมาก ปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้นๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์ เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากที่ขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำ เมื่อ เดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคาร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008

มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ 7 ลำ

5 ลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 

  1. 2001 มาร์สโอดิสซี
  2. มาร์สเอ็กซ์เพรส
  3. มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์
  4. เมเว็น
  5. มาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน

2 ลำอยู่บนพื้นผิว ได้แก่

  1. ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี
  2. ยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี

การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคารในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซา ค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ

กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถในการอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ไวกิง โรเวอร์ สปิริต และ ออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอด ฟีนิกซ์ และ โรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และ เอ็กโซมาร์สโรเวอร์ 

ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน โดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตร เมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก

อ่านข่าวเพิ่มเตืม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight