Business

กรุงไทย ฟันธง ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพ วูบ 27% ใช้เวลาอีก 4-5 ปี ถึงจะฟื้น

ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพ และปริมณฑล หดตัว 27% คาดต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี ในการกลับมาอยู่ระดับเดียวกับก่อนเกิดโควิด-19 ยูนิตเปิดใหม่ลดวูบ 40%

ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพ และปริมณฑลในปีนี้ มูลค่าลดลง 27% จาก 5.7 แสนล้านบาท ในปีที่ผ่านมา เหลือ 4.2 แสนล้านบาท

ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพ

ทั้งนี้ แบ่งเป็นมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์อบ้านจัดสรร 2.4 แสนล้านบาท ติดลบ 24% คอนโดมิเนียม 1.8 แสนล้านบาท ติดลบ 30% ส่งผลให้สต็อกเหลือขายในภาพรวม มีโอกาสขยายตัว 5% ขึ้นไปแตะ 185,000 ยูนิต แม้ผู้พัฒนาอสังหาฯ จะปรับลดการเปิดโครงการใหม่ลงเกือบ 40% จากปีที่ผ่านมาก็ตาม

สภาพตลาดที่ลดลงดังกล่าว เป็นผลมาจาก ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในปีนี้ ถูกบั่นทอนอย่างมากอจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผู้บริโภคไทยอได้รับผลกระทบอจากแนวโน้มเศรษฐกิจ ที่คาดว่าจะหดตัวอย่างรุนแรง (Deep Recession) ถึง 8.8%

ขณะที่ ผู้บริโภคต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนอได้รับผลกระทบจากมาตรการ ล็อกดาวน์ ทำให้ไม่สามารถซื้อ และโอนกรรมสิทธิ์อที่อยู่อาศัยในไทยได้ ส่งผลให้ยอดจองเปิดใหม่ (Pre-sale) ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจาก 20% ในไตรมาสที่ 4/2562 มาอยู่ที่ 15% ในไตรมาสที่ 1/2563 และมีโอกาสลดต่ำลงเหลือ 12% ในไตรมาสที่ 2/2563

การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้ความตั้งใจซื้อที่อยู่อาศัย หายไปราว 1 ใน 3 โดย 80% ของผู้บริโภคเลื่อนการซื้อออกไปออย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากต้องให้ความสำคัญอกับสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการใช้ชีวิต และการลงทุนในอสังหาฯ ขณะนี้ ให้ผลตอบแทนไม่ดีนัก

ดังนั้น ทางออกของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ การเลื่อนการก่อสร้างออกไป รอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ คาดว่าตลาดที่อยู่อาศัย ต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี ถึงจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับ ช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19

กรุงไทย

นายกณิศ อ่ำสกุล นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวเพิ่มเติมว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจาก จะทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยลดลง ยังพบ 3 พฤติกรรมหลักๆของผู้บริโภคบางกลุ่ม อาจเปลี่ยนไปอย่างถาวร (New Normal) ได้แก่

  • เปลี่ยนช่องทางการซื้อที่อยู่อาศัย ผ่านทางออนไลน์ โดยในช่วงเกิดโควิด-19 มีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์อของผู้พัฒนาอสังหาฯ ขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 40% ทำให้กลายเป็นช่องทางหลักของผู้พัฒนาฯ
  • ผู้บริโภคให้ความสำคัญ กับขนาดของที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยยอมอยู่ไกลกว่าเดิม เพื่อรองรับกิจวัตรประจำวัน ที่ต้องใช้เวลาในที่อยู่อาศัยนานขึ้น เช่น การ Work From Home
  • ผู้บริโภคหวงแหนความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ต้องการใช้พื้นที่ส่วนกลาง แบบมีพื้นที่ส่วนตัว เพื่อตอบโจทย์ ด้านสุขภาพและความปลอดภัย

สำหรับผู้พัฒนาอสังหาฯ ควรพิจารณาแนวทางต่าง ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไป อาทิ การนำเทคโนโลยี Virtual Visits มาสนับสนุน การซื้ออสังหาฯ ผ่านทางออนไลน์ โดยสามารถชมโครงการ ได้อย่างเสมือนจริง

นอกจากนี้ ยังควรปรับแผนมา พัฒนาบ้านแนวราบมากขึ้น เช่น บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ ที่มีพื้นที่ใช้สอย มากกว่าคอนโดมิเนียม ออกแบบคอนโดมิเนียม ในบางทำเล ให้มีห้อง One Bed Plus แทน Studio มากขึ้น ตลอดจนการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางใหม่ ให้สามารถนั่งแยกกัน และติดตั้งอุปกรณ์ Touchless เพื่อลดโอกาส ที่ผู้บริโภคจะสัมผัสกัน ให้น้อยที่สุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo