Economics

‘ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ’ ได้ง่ายๆ ใช้บัตรประชาชนใบเดียว

ปัจจุบันภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือประชาชนออกมาหลายกลุ่ม โดยประชาชนบางส่วนอาจสงสัยว่า ตนเองยังเป็นผู้มีสิทธิ์รับ “สวัสดิการแห่งรัฐและสวัสดิการสังคม” ประเภทต่างๆ หรือไม่ ซึ่งทุกคนก็สามารถ ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพียงกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ผ่านทางเว็บไซต์ระบบฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ของกรมบัญชีกลาง ดังนี้

ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ

ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ

  • กรอกหมายเลขบัตรประชาชน แล้วกดปุ่ม ตรวจสอบ

ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ

  • หน้าจอแสดงผลการตรวจสอบ

หากเป็นผู้ได้รับสิทธิ จะปรากฏสวัสดิการที่ได้รับ เช่น จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับค่าใช้จ่ายอะไร หรือได้สิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือเบี้ยยังชีพผู้พิการ แต่ถ้าหากไม่ได้รับสิทธิใดๆ จะปรากฏข้อความ ไม่พบสิทธิ

ในเว็บไซต์นี้ยังสามารถใช้บัตรประชาชนตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ หรือสวัสดิการสังคม ได้หลายประเภท ได้แก่

  • สวัสดิการแห่งรัฐ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  • เงินช่วยเหลือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด ชายแดน ภาคใต้
  • เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  • เบี้ยความพิการ
  • เงินค่าป่วยการ อสม./อสส.
  • เงินค่าป่วยการ อสส.
  • การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียน
  • เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูในครอบครัวอุปถัมภ์ เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวช่วยเหลือเด็กขาดแคลนและเด็กฝาก-เลี้ยงตามบ้าน
  • การให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุ
  • เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือชาวเขาด้านสังคมสงเคราะห์
  • เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการทางการเมือง เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง -เงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดนภาคใต้
  • สวัสดิการพื้นฐานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการอาชีวศึกษา
  • เงินทุนการศึกษาช่วยเหลือทายาทผู้ประสบภัย เงินช่วยเหลือทุนการศึกษาและเงินยังชีพแก่บุตรเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เสียชีวิต -ทุพลภาพจากการ ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคง
  • กองทุนคุ้มครองเด็ก

no

อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลางย้ำด้วยว่า ระบบโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม หรือ  e-Social Welfare นั้น เป็นระบบที่ใช้ในการ ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ ที่จ่ายกรณีปกติเป็นรายเดือนเท่านั้น  ไม่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง 3,000 บาท และใช้สำหรับการตรวจสอบสิทธิในการรับเงินนี้ไม่ได้

นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง ระบุว่า ข้อมูลที่แชร์กันอยู่ตามโซเชียลมีเดีย  ที่เชิญชวนประชาชนให้มาตรวจสอบสิทธิรับเงิน 3,000 บาท จากรัฐบาล  e-Social Welfare ของกรมบัญชีกลางนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลเหล่านี้  หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ call center ของกรมบัญชีกลาง โทร 02 270 6400 ได้ในวัน และเวลาราชการ

cover ๒๐๐๖๐๑ 0091

ด้านกรณีที่รัฐบาลประกาศมาตรการเยียวยากลุ่มเปราะบาง เพื่อรับเงินช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 3,000 บาท โดยที่มีผู้ได้สิทธิ์ประมาณ 13 ล้านคนนั้น มาตรการที่ออกมามีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม

กลุ่มเปราะบางมีใครบ้าง

  • เด็กจากครัวเรือนยากจน ตั้งแต่แรกเกิด -6 ขวบ จำนวน 1.45 ล้านคน
  • ผู้สูงอายุ จำนวน 9.66 ล้านคน
  • ผู้พิการ 2 ล้านคน

การจ่ายเงินเยียวยาให้กับกลุ่มเปราะบางนั้นจะดำเนินการจ่ายให้รายละ 1,000 บาทต่อเดือน เพิ่มจากเงินอุดหนุนเดิมที่จ่ายอยู่แล้ว ระยะเวลาในการจ่าย 3 เดือน ตั้งแต่ พฤษภาคม – กรกฎาคม โดยจะเริ่มจ่ายในเดือนมิถุนายน ซึ่งจะทบเงินจากเดือนพฤษภาคมไปด้วยในการเริ่มจ่าย ทำให้กลุ่มเปราะบางดังกล่าวจะได้รับเงินเยียวยารวม 2,000 บาท และเดือนกรกฎาคมอีก 1,000 บาท รวมทั้งหมด 3,000 บาท

ในกรณีที่เป็นบุคคลในกลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับเงินสวัสดิการช่วยเหลือจากรัฐบาลอยู่แล้ว เงินเยียวยาจะจ่ายรวมกับเงินที่ได้รับปกติทันที โดยไม่ต้องลงทะเบียนแต่อย่างใด เพราะรัฐมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว

Avatar photo