Business

เช็คสิทธิบัตรคนจน-บัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่ได้แล้ว ‘e-Social Welfare’ ปิดระบบ

ตามปกติแล้วการ เช็คสิทธิบัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึง สวัสดิการสังคมประเภทต่างๆ สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ผ่านทาง เว็บไซต์ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ดังนี้

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ e-Social Welfare
  • จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการสังคม”
  • กรอกหมายเลขบัตรประชาชน แล้วกดปุ่ม ตรวจสอบ
  • หน้าจอแสดงผลการตรวจสอบ

หากเป็นผู้ได้รับสิทธิ จะปรากฎสวัสดิการที่ได้รับ เช่น บัตรคนจนได้รับการช่วยเหลืออะไรบ้าง หรือได้สิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือเบี้ยยังชีพผู้พิการ แต่ถ้าหาก ไม่ได้รับสิทธิใดๆ จะปรากฏข้อความ ไม่พบสิทธิ

e-Social Welfare’

ทั้งนี้ เว็บไซต์ e-Social Welfare สามารถใช้บัตรประชาชน ตรวจสอบสิทธิบัตรคนจน หรือสวัสดิการสังคมได้หลายประเภท ได้แก่

  • สวัสดิการแห่งรัฐ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
  • เงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  • เบี้ยความพิการ
  • เงินค่าป่วยการ อสม./อสส.
  • เงินค่าป่วยการ อสส.
  • การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่นักเรียน
  • เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูในครอบครัวอุปถัมภ์ เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวช่วยเหลือเด็กขาดแคลนและเด็กฝาก-เลี้ยงตามบ้าน
  • การให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุ
  • เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือชาวเขาด้านสังคมสงเคราะห์
  • เงินอุดหนุนเงินสงเคราะห์ผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการทางการเมือง เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง -เงินช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชายแดนภาคใต้
  • สวัสดิการพื้นฐานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการอาชีวศึกษา
  • เงินทุนการศึกษาช่วยเหลือทายาทผู้ประสบภัย เงินช่วยเหลือทุนการศึกษาและเงินยังชีพแก่บุตรเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เสียชีวิต -ทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคง
  • กองทุนคุ้มครองเด็ก

เช็คสิทธิบัตรคนจน

ล่าสุด ตรวจสอบสิทธิบัตรคนจน ไม่ได้

แต่ล่าสุดวันนี้ (18 มิ.ย. 63) เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ระบบ e-Social Welfare แล้วกลับพบว่า ไม่สามารถคลิกปุ่ม “ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการสังคม” ได้ตามปกติ ส่งผลให้ไม่สามารถ เช็คสิทธิบัตรคนจน หรือสวัสดิการสังคม ได้

ทางเจ้าหน้าที่ชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่า เว็บไซต์ระบบ e-Social Welfare ได้ทำการปิดปุ่ม “ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการสังคม” ชั่วคราวมาเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์แล้ว เนื่องจากมีผู้เข้าใจผิดว่า สามารถตรวจสอบสิทธิมาตรการเยียวยาโควิด-19 สำหรับกลุ่มเปราะบางได้ที่เว็บไซต์ระบบ e-Social Welfare ทั้งที่ไม่เป็นความจริง

“ข้อมูลที่แชร์กันอยู่ตามโซเชียลมีเดีย ที่เชิญชวนประชาชนให้มาตรวจสอบสิทธิรับเงิน 3,000 บาท จากรัฐบาล ผ่าน e-Social Welfare ของกรมบัญชีกลางนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลเหล่านี้” น.ศ.วิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลางชี้แจงเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2563

อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวได้ส่งผลให้มีผู้เข้าใจผิดและเข้าตรวจสอบสิทธิเยียวยาโควิด-19 สำหรับกลุ่มเปราะบางผ่านเว็บไซต์ระบบ e-Social Welfare เป็นจำนวนมาก จนระบบทำงานช้า ส่งผลต่อเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานผ่านระบบ e-Social Welfare เช่นกัน

ดังนั้น จึงมีการปิดปุ่ม “ตรวจสอบสิทธิสวัสดิการสังคม” ที่ใช้ ตรวจสอบสิทธิบัตรคนจน และสวัสดิการสังคมประเภทต่างๆ เป็นการชั่วคราว และยังไม่ได้กำหนดว่าจะกลับเปิดให้ใช้ปุ่มดังกล่าวเมื่อใด

สำหรับประชาชนผู้ถือบัตรคนจนนั้น แม้จะไม่สามารถตรวจสอบสิทธิผ่านเว็บไซต์ระบบ e-Social Welfare ได้ชั่วคราว แต่ก็เชื่อว่าส่วนใหญ่ทราบสิทธิประโยชน์ที่ตนเองได้รับดีอยู่แล้ว

บัตรคนจน ๒๐๐๖๑๗ 0005

7 สิทธิประโยชน์

ทั้งนี้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน จะได้รับสิทธิประโยชน์ 7 ด้านด้วยกัน ดังนี้

  • ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นจากร้านธงฟ้าประชารัฐ วงเงิน 200-300 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับทุกคน
  • ค่าเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) และรถไฟฟ้า 500 บาท, รถโดยสาร บขส. (รถทัวร์ บขส.) 500 บาท และรถไฟ 500 บาท ซึ่งไม่สามารถเกิดเงินสดได้ โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับทุกคน
  • ค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาท ต่อ 3 เดือน โดยนำบัตรไปซื้อแก๊สกับร้านที่ร่วมรายการ แต่ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับทุกคน
  • เงินผู้สูงอายุเพื่อการยังชีพเพิ่มเติม สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป วงเงิน 50-100 บาทตามเกณฑ์รายได้ โดยผู้สูงอายุที่มีรายได้ 0-30,000 บาทต่อปี จะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 100 บาท และรายได้ 30,001-100,000 บาทต่อปี จะได้เงินช่วยเหลือเดือนละ 50 บาท

MRT รถไฟฟ้า11

  • คืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เติมเงินเข้าบัตรฯ และใช้เงินจากบัตรฯ รูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าเอกชนอื่น ๆ ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเครื่อง EDC โดยรัฐจะคืนภาษี VAT 5% ผ่านกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) ของบัตรฯ ซึ่งประชาชนสามารถกดออกมาเป็นเงินสด หรือรูดซื้อของตามร้านธงฟ้าและร้านค้าอื่น ๆ ที่ร่วมโครงการได้ แต่ยอดเงินคืนสูงสุดจะไม่เกิน 500 บาทต่อเดือน ถึงเดือนกันยายน 2563
  • ค่าน้ำประปา 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน โดยผู้ได้สิทธิคือ ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เรียบร้อย ถึงเดือนกันยายน 2563
  • ค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน โดยครัวเรือนที่ได้รับสิทธิ์คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์เรียบร้อย ถึงเดือนกันยายน 2563

นอกจากนี้ ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเพิ่มสิทธิประโยชน์อย่างที่ 8 คือ เงินเยียวยาไวรัสโควิด-19 จำนวน 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน รวมแล้ว 3,000 บาท สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ไม่เคยได้รับการเยียวยาโควิด-19 จากมาตรการอื่นๆ มาก่อน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo