General

‘กัลฟ์’ มอบ 20 ล้าน ให้รพ.รามาธิบดี ซื้อเครื่องช่วยหายใจ-ECMO ช่วยผู้ป่วยไวรัส COVID-19

“กัลฟ์” มอบเงิน 20 ล้าน ให้รพ.รามาธิบดี จัดซื้อเครื่องช่วยหายใจ – เครื่อง ECMO รวม 8 เครื่อง ช่วยผู้ป่วยหนักไวรัส COVID-19 และผู้ป่วยโรคปอด-หัวใจ   

ท่ามกลางการระบาดของไวรัส COVID-19 เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องช่วยพยุง การทำงานของปอดและหัวใจ (เครื่องเอคโม –ECMO) ซึ่งมีศักยภาพในการทำงานทดแทนปอด และหัวใจ ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ปอดหรือหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือเกิดความผิดปกติขึ้น เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ ที่สำคัญ และขาดแคลน มีโรงพยาบาลไม่กี่แห่งเท่านั้นในประเทศไทยที่มีเครื่องดังกล่าว

DSC 8153
สารัชถ์ รัตนาวะดี

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF) จึงมอบเงินสนับสนุนจำนวน 20 ล้านบาท แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจ 5 เครื่อง และเครื่องช่วยพยุง การทำงานของปอด และหัวใจ 3 เครื่อง ซึ่งเครื่อง ECMO

นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์  บอกว่า บริษัทฯ ตระหนักถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงมอบเงินสนับสนุนจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อให้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ รองรับ และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตผู้ป่วย COVID-19 รวมถึงยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคปอด และหัวใจด้วย

Professor Piyamitr Sritara MD Dean Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital
นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในขณะนี้ ทำให้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องเร่งเตรียมการในการรักษาผู้ป่วยขั้นรุนแรง ซึ่งอาจจะมีจำนวนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเครื่อง ECMO และเครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องใช้ในสถานการณ์เช่นนี้

สำหรับสถานการณ์ติดเชื้อไวรัส COVID-19 นั้น ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  กล่าวว่า ผู้ป่วย 85 % มีอาการน้อย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่เรากังวลกลุ่ม 15 %  ที่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมีอาการรุนแรง ลุกลามอย่างรวดเร็ว ปอดอักเสบ ต้องช่วยการหายใจ ด้วยอุปกรณ์พิเศษอย่างเครื่อง ECMO ที่ทำหน้าที่เหมือนปอดและหัวใจเทียม

รศ. ดร. พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์การติดเชื้อในประเทศไทยยังเป็น Golden Period ที่ผู้ติดเชื้อยังไม่มาก แต่เริ่มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ยังเป็นไปได้สองทางคือ ค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แบบใน สิงคโปร์ หรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแบบ อิตาลี อิหร่าน บุคลากรทางการแพทย์

เราหวังว่าจะเป็นแบบที่ 1 เพื่อที่บุคลากรทางการแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะยังมีเพียงพอสำหรับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งการป้องกันนั้นย่อมสำคัญกว่าการรักษา ยิ่งยังไม่มีวัคซีน เราจึงขอให้ทุกคนร่วมกันดูแลตัวเอง เพื่อที่จะได้ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน

ทั้งนี้เครื่อง ECMO ใช้เพื่อประคับประคอง รอให้อวัยวะกลับมาทำงานเป็นปกติ เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลว จากการติดเชื้ออย่างรุนแรงที่ปอด รวมถึงประคับประคอง ระหว่างรอการปลูกถ่ายหัวใจ หรือปอด นับเป็นอีกนวัตกรรมทางแพทย์ ที่ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยรูปร่างและลักษณะทำงานของเครื่อง ECMO เป็นดัง 2 รูปด้านล่าง

iStock 1204594964

 

iStock 1180448425 1

Avatar photo