Marketing Trends

‘มูนช็อท ดิจิตอล’ เผยปีแห่งความท้าทายเหล่า ‘อินฟลูเอนเซอร์’

หนึ่งในหัวใจสําคัญของการทําประชาสัมพันธ์คงหนีไม่พ้น การใช้พลังของอินฟลูเอนเซอร์ (Influencers) หรือเหล่า KOLS (Key Opinion Leader) มาเป็นกระบอกเสียงช่วยบอกต่อ

ในหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีจํานวน อินฟลูเอนเซอร์ มากมายหลายสาขาเติบโต สร้างฐานแฟนคลับและทํารายได้อย่างงดงาม ทั้งจากเหล่าเซเลบริตี้คนดัง ที่หันมาทําชาแนลของตัวเอง กลุ่ม ไมโคร อินฟลูเอนเซอร์ (Micro Influencer) และล่าสุดที่มาแรงคือ นาโน อินฟลูเอนเซอร์ (Nano Influencer) ที่แม้จะไม่มีฐานผู้ติดตามใหญ่นับแสน แต่ก็สามารถดึงดูดความสนใจ
และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มย่อยได้ไม่แพ้กัน

influencer 4492841 1280

บริษัท มูนช็อต ดิจิตอล จำกัด บริษัทดิจิทัลพีอาร์ และคอนเทนต์ เอเยนซี่ ได้เปิดเผยรายงาน “PR Exploration 2020” เพื่อนำเสนอเทรนด์การทำประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัลที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับผู้คน โดยกล่าวถึงแนวโน้มของอินฟลูเอนเซอร์ไว้อย่างน่าสนใจ

ตัวอย่างของ อินฟลูเอนเซอร์ ที่ประสบความสำเร็จ เช่น เก๋ไก๋ สไลเดอร์ เจ้าของชาแนล “Kaykai Salaider” ยูทูปเบอร์ไทยคนแรกที่มียอด Subscribe สูงเกือบ 12ล้าน นอกจากนี้ ยังมีศิลปินตลกที่ผันตัวมาเป็น คอนเทนต์ ตรีเอเตอร์ อย่าง “โชเลย์ ดอกกระโดน” กับคลิปโชว์ปรุงอาหารปักษ์ใต้ ที่ค่อยๆ ไต่อันดับจนยอดผู้ติดตามทางเฟซบุ๊ก สูงถึงเกือบ 5 แสน ทํายอดวิวแต่ละคลิปได้สูงถึงประมาณหลักแสนถึงล้านกว่า มียอด Subscribe ทางยูทูปถึง 6 แสน

เก๋ไก๋ สไลเดอร์
เก๋ไก๋ สไลเดอร์

นอกจากนี้ ยังมีเพจขายตรงมาแรงอย่าง “พี่เอ็ด 7 วิ” ของ เอ็ดดี้ – จุมพฎ จรรยหาญ หนึ่งในสมาชิก “เสือร้องไห้” ที่สร้างสรรค์ ทั้งคลิปรีวิว ร้องเพลงแร็ป นําสินค้ามาแปลงมาบรรยายสรรพคุณอย่างสนุกนาน จนผู้ชมติดใจนับล้านวิว รวมถึง “แน็ก ชาลี ไตรรัตน์ ปอทเจส” นักแสดงหนุ่มและหลานชายที่ไม่คาดคิดว่า จากโพสต์ภาพนิ่งเรียบง่ายเกี่ยวกับการพายเรือและทําโทรศัพท์ตกน้ำ จะกลายเป็นเรื่องราวต่อยอดที่ทําให้ผู้คนสนใจติดตามชีวิตและบุคลิกของเขา จนปัจจุบันมีผู้ติดตามทางเฟซบุ๊กกว่า 5 แสนคน และทางอินสตาแกรมอีกกว่า 1 ล้าน เป็นต้น

นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าปัจจุบัน โลกของอินฟลูเอนเซอร์ ได้ถูกขยายใหญ่อย่างไร้พรมแดน ไม่จําเป็นต้องเป็นดาราในสังกัดใหญ่ มีโปรดักชันการถ่ายทําอลังการ ใช้งบประมาณสูงหรือเคยทําอาชีพใดมาก่อน หากสามารถหยิบตัวตนและความสามารถเฉพาะทางของตนมาสร้างเอกลักษณ์และภาพจํา ก็สามารถสร้ างตัวตนใหม่ๆ และมีพื้นที่ในโลกโซเชียลมีเดียได้

แน็ก ชาลี ไตรรัตน์ ปอทเจส
แน็ก ชาลี ไตรรัตน์ ปอทเจส

จริงอยู่ที่เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ และ KOSL (Key Opinion Leader) ที่มี Value หรือคุณค่าและความเชื่อตรงกับ Core Value หรือคุณค่าหลักของแบรนด์ จะยังคงเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ เพราะสามารถโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการได้อย่างสนิทใจ

แต่ที่น่าสนใจคือ เราจะเริ่มเห็น อินฟลูเอนเซอร์ บางกลุ่มที่สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลิตคอนเทนต์ที่ตรงใจผู้ชม นําเสนอได้อย่างโดดเด่น ดึงดูดให้เกิดการติดตามได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ก็สามารถเป็นทางเลือกใหม่ที่แบรนด์มองหา โดยไม่จําเป็นต้องมีไลฟ์สไตล์หรือชีวิตประจําวัน ตรงกับ Core Value ของแบรนด์เสมอไป

ในปี 2563 นี้ จึงเป็นอีกปีแห่งความท้าทายให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ ต้องปรับตัวขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเทคนิคการเล่าเรื่องใหม่ๆ หนีให้พ้นจากกระแสที่เกิดจากการเริ่มทําคอนเทนต์ตามๆ กัน จนความใหม่ที่เคยมี กลายเป็นของธรรมดาที่ใครๆ ก็เริ่มทําเป็น และทำให้กลุ่มผู้ชมรู้สึกเบื่อหน่าย และเริ่มมองหาสิ่งใหม่ๆ

laptop 3781384 1280

ขณะที่การเพิ่มความน่าเชื่อถือของการรีวิวสินค้า พาชิมร้านอาหารลับ ฯลฯ ที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เป็นเพียงการว่าจ้างเพื่อประชาสัมพันธ์หรือเปล่า การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับวิธีการนําเสนอของตนเอง

ที่สำคัญคือ การทําความเข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับแพลตฟอร์ม ที่มีการอัปเดตอัลกอริทึมตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการกด Reach ลงของเฟซบุ๊ก หรือการหาลูกเล่นใหม่ๆ ที่รองรับกับฟังก์ชันที่เปลี่ยนไป ต้องการหากลยุทธ์ในการสร้างกระแสบอกต่อ รวมทั้งมองหาโอกาสที่จะร่วมมือกับแบรนด์ทั้งในแง่การทํา Collaboration และความยั่งยืนในระยะยาวมากกว่าการทําแคมเปญระยะสั้นแล้วจบไป

Avatar photo