Marketing Trends

แผนผุด ‘นิคมฯอุบลราชธานี’ คืบ ไทยผนึกกลุ่มทุนญี่ปุ่น ทุ่มลงทุน 2,700 ล้าน จ้างงาน 20,000 อัตราปี 65

หลังจากภาคเอกชนเสนอให้รัฐบาลร่วมผลักดันโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมหารือร่วมกับหัวหน้าส่วน ราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตະวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 2 หรือ อีสานใต้ ซึ่งจัดขึ้นรະหว่างการปรະชุมคณະรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จังหวัดอุบลราชธานี ล่าสุดโครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าและคาดว่าจะได้เห็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกในจังหวัดอุบลราชธานีภายในปี 2565

นิคม1

ทั้งนี้เนื่องจาก ล่าสุดได้มีการร่วมลงนามความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างบริษัท บริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด ผู้ลงทุนชาวไทย กับ บริษัท ไคไก แอดไวซอรี่ จำกัด จากประเทศญี่่ปุ่น และ บริษัท เวลเนส ไลฟ์ โปรเจ็ค (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท เอเชี่ยน ไดนามิค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี ในพื้นที่ตำบลนากรະแซง และตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

สำหรับโครงการดังกล่าว จะมีขนาดพื้นที่ 2,300 ไร่ คาดใช้เงินลงทุน 2,700 ล้านบาท ซึ่งตามแผนงานจະเริ่มก่อสร้างในปี 2563 กำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2565 หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จจະช่วยกรະตุ้นให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนในรະบบเศรษฐกิจเขตนี้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดการสร้างงานราว 20,000 อัตราได้ภายในปี 2565

แผนที่นิคม

นายณัฐวัฒน์ เลิศสุรวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุบลราชธานีอินดัสตรี้ จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทอยู่รະหว่างการขอปรับเปลี่ยนผังมืองการใช้ปรະโยชน์ที่ดินจากสีเขียวเป็นสีม่วง กับกรมโยธาธิการและผังเมือง ควบคู่กับการจัดทำรายงานศึกษาผลกรະทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และหลังจากนั้น จະยื่นเรื่องไปยังการนิคมอุตสาหกรรมแห่งปรະเทศไทย (กนว.) เพื่อจัดตั้งเป็นนิคมร่วมดำเนินการต่อไป

การจัดตั้งนิคมฯดังกล่าวขึ้น มีเป้าหมายเพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐผลักดันให้เกิดมากขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องมือและยานยนต์ที่ใช้ในการเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวข้ามแดน อุตสาหกรรมการบริการ อุตสาหกรรมเทคโนชีวภาพ อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ เป็นต้น

แผนที่นิคม1

นอกจากนี้ ยังมีความพร้อมที่จะเป็นฐานเชื่อมโยงการค้ากับปรະเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในรະดับนานาชาติ เนื่องจากมีโครงการรถไฟทางคู่และท่าอากาศยานอุบลราชธานี ที่สามารถเชื่อมโยงการค้าใน 4 ปรະเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ทำให้นักลงทุนสามารถกรະจายสินค้าจากเอเชียตະวันออกเฉียงใต้ไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ได้อย่างสະดวก

“นิคมแห่งนี้จະช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น กรະตุ้นการจ้างงาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่สามารถสร้างมูลค่าการลงทุนให้กับภูมิภาคได้อีกเป็นจำนวนมาก”นายณัฐวัฒน์กล่าว

Avatar photo