World News

5 มันสมองเบื้องหลัง ‘มหาธีร์โนมิคส์’

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย “มหาธีร์ โมฮัมหมัด” ตัดสินใจมานานแล้วว่า จะเลือกใครมาเป็นที่ปรึกษา จากการที่ผู้นำวัย 92 ปีรายนี้ ได้เข้าไปทาบทามบรรดาคนสนิท ที่ส่วนใหญ่เคยทำงานร่วมกับเขาในอดีต ตั้งแต่หลายสัปดาห์ก่อนหน้าวันเลือกตั้ง 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา

5 มันสมองเบื้องหลัง 'มหาธีร์โนมิคส์'

เว็บไซต์นิกเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า ในการกลับมาบริหารประเทศครั้งนี้ มหาธีร์ได้ตั้งสภาที่ปรึกษา ที่มีสมาชิก 5 คนขึ้นมา รู้จักกันในชื่อ กลุ่มคนชั้นนำ ก่อนที่เขาจะจัดตั้งคณะรัฐบาล สะท้อนให้เห็นถึงความไว้วางใจที่มีต่อทีม ที่จะช่วยให้รัฐบาลใหม่เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง

สภาที่ปรึกษาชุดนี้จะใช้เวลาในอีก 100 วันต่อจากนี้ ศึกษาในเรื่องต่างๆ รวมถึง กฎหมาย เศรษฐกิจ และการเงินของประเทศ เพื่อดำเนินการปฏิรูปหน่วยงานต่างๆ

ภารกิจเร่งด่วนอันดับต้นๆ รวมถึง การหาวิธีการสร้างเสถียรภาพด้านงบประมาณ เนื่องจากระหว่างการหาเสียง พรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่กลายมาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในปัจจุบัน เคยให้คำมั่นถึง การลดใช้จ่ายของรัฐบาล ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสินค้า และบริการ และนำมาตรการอุดหนุนเชื้อเพลิงกลับมาใช้ใหม่

สภาที่ปรึกษาชุดนี้ ยังจะทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่อรัฐบาล ถึงวิธีการที่จะแก้ปัญหาทุจริตการเงินอื้อฉาวมูลค่า 4,500 ล้านดอลลาร์ ที่เกี่ยวข้องกับ วันมาเลเซีย ดิเวลอปเมนท์ เบอร์ฮาด (วันเอ็มดีบี) กองทุนพัฒนาของรัฐบาลมาเลเซีย

ที่ปรึกษาของมหาธีร์ทั้ง 5 คน ประกอบไปด้วย

ดาอิม ไซนุดดิน

5 มันสมองเบื้องหลัง 'มหาธีร์โนมิคส์'

ดาอิม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาเลเซีย ผู้มีชื่อเสียงในเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ที่ช่วยให้มาเลเซียหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจซบเซามาถึง 2 ครั้งในช่วงกลางทศวรรษ 80 และ 90 ทั้งยังเป็นผู้ที่ให้มีการลดเงินเดือนนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ

ก่อนที่จะเข้ามาสู่แวดวงการเมืองนั้นดาอิม เคยเป็นนักกฎหมาย และนักธุรกิจฝีมือดี เป็นบุคคลที่มหาธีร์ให้ความไว้วางใจให้ฝึกอบรมนักธุรกิจมาเลย์ ที่จะเข้ามาบริการกิจการรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่รัฐบาลนำออกแปรรูป ถือเป็นบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ในด้านนโยบายเศรษฐกิจของมหาธีร์ ระหว่างที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีนาน 22 ปี จนถึงปี 2546

ชาวมาเลเซียจำนวนมาก ต่างให้ความนับถือทั้งดาอิม วัย 80 ปี และราฟิดาห์ อาซิส อดีตรัฐมนตรีการค้าอย่างมาก

เซติ อาซิส5 มันสมองเบื้องหลัง 'มหาธีร์โนมิคส์'
อดีตผู้ว่าการแบงก์ เนการา มาเลเซีย หรือธนาคารกลางมาเลเซียวัย 70 ปีบุคคลได้มีชื่อเสียงโด่งดังในแวดวงตลาดการเงิน

เธอได้รับการยกย่องจากหลายคนว่าเป็นผู้ที่ทำให้อุตสาหกรรมธนาคาร และนโยบายการเงินของมาเลเซียมีเสถียรภาพ นอกเหนือจากการทำให้ตลาดการเงินอิสลามแข็งแกร่ง

เซติ อยู่ในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารกลางมาเลเซียนานถึง 16 ปี โดยเธอเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2543 ในช่วงที่กำลังเกิดวิกฤติการเงินเอเชีย และเป็นคนจัดการให้มีการควบรวมกิจการธนาคารครั้งใหญ่

เธอขอให้ธนาคารพาณิชย์มาเลเซียมากกว่า 20 แห่ง ดำเนินการควบกิจการ หรือเพิ่มเงินทุน จนมีจำนวนลดลงเหลือแค่ 8 แห่งเท่านั้น ซึ่งในจำนวนนี้ มีบางราย อย่าง มาลายัน แบงกิ้ง ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และพับลิค แบงก์ เติบโตขึ้นอย่างมากจากการควบรวมกิจการดังกล่าว ทำให้สามารถขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดเพื่อนบ้านได้ก่อนใคร และจับมือเป็นพันธมิตรกับธนาคารท้องถิ่น ในตลาดที่ยังไม่โตเต็มที่ในเวลานั้น

ภายใต้การนำของเซติ มาเลเซียยังรุกเข้าไปในตลาดการเงินอิสลาม มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์การเงิน และตราสารหนี้อิสลาม หรือซูกุ๊ก ไปทั่วโลก

เซติเกษียณอายุไปเมื่อปี 2559 ท่ามกลางการสอบสวนคดีวันเอ็มดีบีในประเทศ ซึ่งภายใต้ความรับผิดชอบของเธอนั้น แบงก์ เนการา มาเลเซีย เป็นหน่วยงานเดียวที่ลงโทษวันเอ็มดีบี และแอมแบงก์ กรุ๊ป ด้วยการสั่งปรับมากสุดเป็นประวัติการณ์ ฐานบริหารจัดการอย่างไม่รอบคอบ

ฮัสซัน มาริคัน

5 มันสมองเบื้องหลัง 'มหาธีร์โนมิคส์'

ฮัสซันเป็นประธานปิโตรเลียม เนชันแนล หรือเปโตรนาส มานาน 15 ปี จนถึงปี 2553 ก่อนที่อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก จะเข้ามารับตำแหน่งแทน

ภายใต้การนำของฮัสซัน เปโตรนาสขยายกิจการออกไปในต่างประเทศ มีฐานที่มั่นทั้งในธุรกิจต้นน้ำ และปลายน้ำอยู่ทั่วโลก โดยเปโตรนาสเป็นบริษัทมาเลเซียเพียงรายเดียว ที่มีชื่อติดอยู่ในฟอร์จูน 500

นักธุรกิจวัย 65 ปีรายนี้ มีตำแหน่งบริหารระดับสูงหลายตำแหน่งในสิงคโปร์ รวมถึง ประธานกรรมการบริหารสิงคโปร์ พาวเวอร์ และเซมคอร์ป มารีน

โรเบิร์ต ก๊วก

5 มันสมองเบื้องหลัง 'มหาธีร์โนมิคส์'ผู้ก่อตั้งโรงแรมแชงกรีลา โฮเต็ลส์ และเคอร์รี พรอพเพอร์ตีส์ วัย 94 ปี เป็นที่ปรึกษามีอายุมากสุด โดยก๊วก ซึ่งพำนักอยู่ในฮ่องกง เข้าร่วมการประชุมกับสมาชิกคนอื่นๆ เป็นครั้งแรก ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (22 พ.ค.)

“เราทุกคนอยากให้ประเทศของเราเดินหน้าไปได้ด้วยดี” ก๊วกตอบคำถามของผู้สื่อข่าว เกี่ยวกับความเห็นของเขาที่มีต่อรัฐบาลชุดใหม่

ก๊วก ก่อร่างสร้างตัวเองขึ้นมาจากการเป็นเทรดเดอร์โภคภัณฑ์ หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมุ่งเน้นที่อาหารจำเป็น รวมถึง ข้าว น้ำตาล และแป้งสาลี ก่อนที่จะหันไปทำธุรกิจด้านการขนส่งทางเรือ โลจิสติกส์ อสังหาริมทรัพย์ และโรงแรม ขยายธุรกิจของเขาจากฮ่องกง ไปยังต่างแดน ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 70 ควบคู่ไปกับการมุ่งหน้าสู่จีน

ความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเขา และจุดยืนในฐานะชาวจีนโพ้นทะเล ทำให้ก๊วกเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน รวมถึง ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

โจโม กวาเม ซุนดารัม

5 มันสมองเบื้องหลัง 'มหาธีร์โนมิคส์'

นักเศรษฐกิจวัย 65 ปี ผู้เคยอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ฝ่ายพัฒนาเศรษฐกิจมานาน 7 ปี โดยเขาเป็นที่รู้จักจากผลงานการวิจัยในเรื่องเศรษฐกิจการเมืองมาเลเซีย และการแสดงความคิดเห็นต่อการผลักดันการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ของมหาธีร์ ในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งก่อน

ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โจโมได้ออกมาประณามเรื่องทุจริตของวันเอ็มดีบี ตั้งคำถามถึงความพยายามของรัฐบาลนาจิบ ที่จะขายสินทรัพย์เพื่อฟื้นฟูกองทุน

เขายังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการเชื่อมทางรถไฟที่กำลังก่อสร้างอยู่ โดยผู้รับเหมาจีน โดยโต้แย้งถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการก่อสร้างทางรถไฟความยาว 688 กิโลเมตร เชื่อมเมืองหลวงของมาเลเซีย เข้ากับเมืองชายแดนที่อยู่ติดกับไทย

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight