Economics

ยกระดับสปาไทยสู่สากล กินส่วนแบ่งตลาดโลก 27 ล้านล้านบาท

วันนี้ ( 2 เม.ย.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) จับมือสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( ISMED ) เปิดตัวโครงการส่งเสริมธุรกิจสปาไทย เพื่อยกระดับธุรกิจสปาให้ก้าวสู่งานบริการสุขภาพระดับพรีเมียม โดยมีการจัดงานเสวนาให้ความรู้กับผู้ประกอบการ และประชาชนที่ต้องการทำธุรกิจสปา และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มีผู้สนใจในธุรกิจนี้ร่วมรับฟังจำนวนมาก

IMG 20190402 113640
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการ CEA กล่าวว่า ธุรกิจสปาทั่วโลกมีมูลค่าสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามเทรนด์เรื่องสุขภาพ จาก 19 ล้านล้านบาท มาเป็น 27 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน

ส่วนมูลค่าในประเทศไทยอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท โดยไทยจัดเป็นอันดับที่ 16 ของโลก และเป็นอันดับ 5 ของเอเชีย ปัจจุบันเรามีอัตราการเติบโตของธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่องจากปี 2561 ที่ 5% ปีนี้ น่าจะเติบโตประมาณ 8% สูงกว่าทั่วโลกที่เติบโตประมาณ 7% ต่อปี

“เรายังมีโอกาสเติบโต และไต่อันดับได้อีกมาก โดยคาดหวังว่าภายใน 3 ปี จะเป็นที่ 1 ใน 10 ของโลก และภายใน 5 ปีเป็น 1 ใน 5 ของโลก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับผู้ประกอบการเป็นสำคัญ “

นอกจากการยกระดับสปาแล้ว เราจะเชื่อมโยงธุรกิจสปากับการท่องเที่ยวไทยด้วย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวสุขภาพ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เช่น นักท่องเที่ยวจีน ตามกำลังซื้อที่สูงขึ้น

นายอภิสิทธิ์ มองความได้เปรียบของสปาไทย ว่า เรามีความได้เปรียบ และพร้อมที่จะไปถึงระดับพรีเมี่ยม จากพื้นฐานการเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีวัตถุดิบพืชสมุนไพร สามารถนำมาใช้ในกิจการสปามากมาย มีความเปรียบทางวัฒนธรรม มีบุคลากรที่มีทักษะ และมีชื่อเสียงด้านการบริการ และการท่องเที่ยวอยู่แล้ว

ความร่วมมือระหว่าง CEA สสว.และ ISMED เพื่อดำเนินกิจกรรม “ยกระดับและเพิ่มมูลค่าอุตสากรรมสปาไทย” ( Creative Spa & Wellness Thailand ) ภายใต้โครงการส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level ) ปี 2562 ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสปาด้วยกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สร้างจุดขายให้แบรนด์ และเพิ่มมูลค่าธุรกิจ

ผ่าน 5 กิจกรรม หลักประกอบด้วย การจัดอบรมสัมมนาเทรนด์ธุรกิจสปา การอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างจุดขายที่แตกต่าง การให้คำปรึกษาเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ การออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ

LINE P20190402 141812164
สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล

ด้านนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สสว. กล่าวเสริมว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในประเทศไทย มีอัตราการเติบโตสูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลก โดยเฉพาะ “ธุรกิจสปา” ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทย และต่างประเทศ เนื่องจากจุดแข็งด้านการให้บริการ และสมุนไพร ซึ่งเป็นวัตถุดิบทางธรรมชาติของไทย

ดังนั้นธุรกิจสปาและนวดไทย ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และสร้างอาชีพให้ประชาชนทั่วไปได้อย่างกว้างขวาง และก่อให้เกิดรายได้แก่อุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับสปา เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตามแม้จำนวนสปาในประเทศไทยจะเติบโตต่อเนื่อง แต่ภาพลักษณ์ “ธุรกิจสีเทา” ในบางสถานประกอบการยังเป็นอุปสรรคต่อการสร้างจุดขายให้กับสปาแบรนด์ไทย ดังนั้นการยกระดับ และเพิ่มมูลค่าขของอุตสาหกรรมสปาไทย จะมีส่วนผลักดันให้ไทยก้าวพ้นจากภาพลักษณ์ธุรกิจสีเทา และสร้างจุดขายใหม่ ผ่านการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และบริการ บนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งธุรกิจนี้จะช่วยให้เอสเอ็มอีเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากลด้วย

IMG 20190402 115858

โครงการ  Creative Spa & Wellness Thailand : พลิกแนวคิด สร้างสุดขาย สู่ สปาสร้างสรรค์ มี 5 กิจกรรมที่เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมงานระหว่างเดือนเมษายน ถึง สิงหาคม 62 ใน 8 พื้นที่กิจกรรม ได้แก่ กรุงเทพ ชลบุรี เชียงใหม่ ขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร     สุราษฎ์ธานี ภูเก็ต โดยจะมีการคัดเลือก 15 ผู้ประกอบการ เพื่อทำการทดสอบตลาดในต่างประเทศด้วย

ปัจจุบันธุรกิจสปาและนวดแผนไทย ไม่ได้ก้าวเดินไปเองตามลำพังอีกต่อไป  มีหลายภาคส่วนเข้ามาช่วยยกสนับสนุน และส่งเสริมในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขเอง ก็เข้ามสนับสนุนสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานตาม พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559  ให้ได้รับเครื่องหมายการันตีคุณภาพระดับสากล (Thai World Class Spa ) ซึ่งมุ่งเน้น 5 ด้าน ประกอบด้วย

wellness 1021131 640 1

สถานที่และสิ่งแวดล้อม ที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีความเป็นธรรมชาติ ลดโลกร้อน สัมผัสบริการครบ 5 มิติ ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส บุคลากรมีทักษะด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศ บริการที่ถูกต้องครบถ้วน มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ต้องมีมาตรฐาน และปลอดภัย รวมถึงมีการพัฒนาบุคลากร รวมถึงดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส และมีจริยธรรม

ปัจจุบันมีกิจการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข 2,053 แห่ง เป็น สปาเพื่อสุขภาพ 531 แห่ง นวดเพื่อสุขภาพ 1,217 แห่ง นวดเพื่อเสริมสวย 305 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพ 88.4% หรือ 1,790 แห่ง ที่เหลือกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ มีการจ้างงานรวม 66,816 คน  

Avatar photo