COVID-19

‘เดนมาร์ก’ ชี้ ติดเชื้อ ‘โอไมครอน’ ซ้ำ จาก ‘คนละสายพันธุ์ย่อย’ เกิดขึ้นได้ แต่ยาก

เดนมาร์ก เผยผลวิจัยล่าสุด ชี้ การติดเชื้อ “โอไมครอน” ซ้ำ ด้วยสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกันนั้น เกิดขึ้นได้ แต่หายาก

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า สถาบันเซรุ่มแห่งเดนมาร์ก (เอสเอสไอ) เผยแพร่การศึกษาฉบับใหม่ ระบุว่าการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไม ครอน ซ้ำอีกครั้งด้วยสายพันธุ์ย่อยที่ต่างจากเดิมนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้

โอไมครอน

เอสเอสไอ และสถาบันสาธารณสุขและการวิจัยของเดนมาร์ก เปิดเผยว่า การติดเชื้อในลักษณะดังกล่าว ดูเหมือนเกิดขึ้นค่อนข้างน้อยในเดนมาร์ก ส่วนใหญ่พบในกลุ่มคนไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19  มีอายุน้อย และไม่มีผู้ติดเชื้อรายใดที่ป่วยหนัก หรือจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

การทดสอบพีซีอาร์ (ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส) ในประชากรราว 2 ล้านคนที่ติดสายพันธุ์ย่อยบีเอ.1 (BA.1) และบีเอ.2 (BA.2) เป็นหลัก เผยว่าผู้ป่วย 67 รายติดเชื้อไวรัสซ้ำอีกครั้งได้ ในระยะ 20-60 วัน ซึ่งการป่วยทั้งสองครั้ง ล้วนมีต้นตอมาจากสายพันธุ์ย่อย

เมื่อนับถึงเดือนธันวาคม 2564 ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเดนมาร์กส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อยบีเอ.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยที่ระบาดมากที่สุดทั่วโลกเช่นกัน

ติดโอไมครอนซ้ำคนละสายพันธุ์ เกิดขึ้นได้ยาก

ต่อมาในเดือนมกราคม 2565 การทดสอบพีซีอาร์ แสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์ย่อยบีเอ.2 ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนครองสัดส่วน เป็นเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ย่อย ที่มีคนติดมากที่สุดในเดนมาร์ก แทนที่สายพันธุ์ย่อยบีเอ.1

ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า ผู้คนที่ติดเชื้อไวรัส สายพันธุ์ย่อย บีเอ.1 สามารถติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย บีเอ.2 ได้อีกครั้ง หลังการติดเชื้อครั้งแรกไม่นานนัก แต่ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก

“เราพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อ บีเอ.2 ซ้ำ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่สามารถเกิดขึ้นได้ ในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น หลังจากการติดบีเอ.1 ไปแล้ว”

ทั้งนี้ เอสเอสไอรายงานการตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพิ่ม 30,480 ราย และผู้เสียชีวิตเพิ่ม 34 ราย ใน 24 ชั่วโมง ทำให้ยอดรวมผู้ป่วยในเดนมาร์กอยู่ที่ 2,637,414 ราย และผู้เสียชีวิต 4,375 ราย นับตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดใหญ่ในประเทศ อีกทั้งพบผู้ติดเชื้อซ้ำสะสม 124,149 รายด้วย

โอไมครอน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo