World News

เมื่อประชากรโลกถึง 8,000 ล้านคน ‘อินเดีย’ จ่อแซงหน้า ‘จีน’ มีพลเมืองมากสุด

ในโอกาสที่ประชากรโลกขณะนี้ มีจำนวนแตะ 8,000 ล้านคน เมื่อวานนี้ (15 พ.ย.) สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ยังคาดว่า ในปี 2566 “อินเดีย” อาจแซงหน้า “จีน” ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

ยูเอ็น เปิดรายงาน “Day of 8 Billion” ที่ระบุว่า ประชากรโลกมีจำนวนมากถึง 8,000 ล้านคนแล้ว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากประเทศกำลังพัฒนาในทวีปแอฟริกามากที่สุด หนึ่งในประเทศเหล่านั้นคือ ไนจีเรีย ที่มีทรัพยากรต่าง ๆ ค่อนข้างจำกัด

shutterstock 1958706283

ปัจจุบัน ประชากรมากกว่า 15 ล้านคนในกรุงลากอส เมือวหลวงของไนจีเรีย ต้องแย่งชิงกันใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ตั้งแต่ไฟฟ้า น้ำประปา ไปจนถึงระบบขนส่งมวลชน ขณะที่ เด็กนักเรียนไนจีเรียจำนวนมาก ต้องตื่นตั้งแต่ตีห้ าเพื่อให้ทันไปโรงเรียนท่ามกลางการจราจรที่ติดขัดอย่างหนักทุกวัน

ยูเอ็น คาดว่า ประชากรไนจีเรียจะเพิ่มขึ้นจาก 216 ล้านคนในปีนี้เป็น 375 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ไนจีเรียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐ

ไนจีเรีย เป็น 1 ใน 8 ประเทศที่ยูเอ็นระบุว่า มีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่ง ของอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกทั้งหมดระหว่างปี 2565-2593 ส่วนอีก 7 ประเทศ ได้แก่ คองโก เอธิโอเปีย แทนซาเนีย อียิปต์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ที่คาดว่าจะแซงจีน ขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในปีหน้า

รายงานของยูเอ็นฉบับนี้ยังคาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,500 ล้านคนภายในปี 2573 และถึง 9,700 ล้านคนภายในปี 2593 ก่อนจะเพิ่มถึง 10,400 ล้านคนภายในปี 2643

ทั้งนี้ รายงานฉบับดังกล่าว เป็นการสำรวจปัญหาในเชิงสัญลักษณ์ มากกว่าการเจาะจงถึงปัญหาที่แท้จริง ซึ่งมาพร้อมกับจำนวนประชากรโลก โดยชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มภัยคุกคามต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ล้าหลัง ตั้งแต่การจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค การศึกษา การทำงาน และความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น

รายงานชี้ว่า จำนวนประชากรในประเทศแถบทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา อาจเพิ่มขึ้น 2 เท่าระหว่างปี 2565-2593 ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อทรัพยากรที่มีจำกัด และท้าทายการวางแผนนโยบาย เพื่อลดปัญหายากจน และความเหลื่อมล้ำในประเทศเหล่านั้น”

shutterstock 2111477861

ดร.ศรีนาธ เรดดีย์ ประธานองค์กร Public Health Foundation of India กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ส่งผลให้มีประชาชนมากขึ้น ที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรน้ำ และทำให้ครอบครัวจำนวนมากขึ้น ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนอาหาร เพิ่มแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อม และท้าทายความมั่นคงทางอาหาร

นักวิเคราะห์ชี้ว่า ภัยคุกคามสำคัญที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม คือ การบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาแล้ว ที่จำนวนประชากรมิได้เพิ่มขึ้นมากนัก

อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนประชากรในหลายประเทศกำลังเพิ่มขึ้น แต่รายงานของยูเอ็นชี้ว่า มีอย่างน้อย 61 ประเทศที่จำนวนประชากรมีอัตราลดลงราว 1%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo