World News

‘คลื่นความร้อน’ โอกาสโกยเงินธุรกิจญี่ปุ่น

คลื่นความร้อน ที่กำลังแพร่กระจายอยู่ในญี่ปุ่นขณะนี้ กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจให้กับหลายภาคอุตสาหกรรม จากความต้องการสินค้าหลายประเภทที่เพิ่มขึ้น ไล่ตั้งแต่เครื่องดื่ม ไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ และเครื่องนอนที่ชูสรรพคุณช่วยให้ผู้นอนรู้สึกเย็นในช่วงเวลากลางคืน

000 QE9T5

ผู้ผลิตเบียร์ และเครื่องดื่มชนิดต่างๆ พากันเพิ่มกำลังผลิต สะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางอากาศที่ร้อนจัดทั่วทั้งประเทศ

ช่วงปลายเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา คิริน บริวเวอรี โค ได้เพิ่มกำลังผลิตเบียร์ประจำเดือนขึ้นมาอีก 20% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว หลังมองเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม จากเดิมที่มีแผนจะเพิ่มกำลังผลิตเพียงแค่ 10%

เช่นเดียวกับอาซาฮี ซอฟต์ ดริงส์ โค ในเครืออาซาฮี กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่เพิ่มกำลังผลิตเครื่องดื่มอัดโซดายอดนิยมของบริษัท อย่าง โคอิเม โนะ คาลพิสขึ้นมาอีก 20% ทั้งยังเปิดตัวเครื่องดื่มรสชาติใหม่สำหรับฤดูร้อน ซึ่งบริษัทคาดว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะกลายเป็นสินค้าขายดีเช่นเดียวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการขาดน้ำ และเป็นลมแดด

waee

บรรดาผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศท้องถิ่น ก็ได้อานิสงส์จากอากาศร้อนจัดในญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

ฟูจิตสึ เจนเนอรัล คาดการณ์ว่า บริษัทจะมียอดขายในช่วงเดือนเมษายน-กันยายนเพิ่มขึ้น 7% จากปีที่แล้ว มาอยู่ที่ราว 35,500 ล้านเยน ซึ่ง ฮิโรชิ นิวายามะ รองประธานบริหารฟูจิตสึ กล่าวว่า ในช่วง 1 เดือน นับถึงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ยอดขายเครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านเรือนทั่วไปเติบโตขึ้นถึง 40% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ทางด้านสมาคมผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่น กล่าวว่า ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยอดขายเครื่องปรับอากาศอยู่ที่ 281,700 ล้านเยน เพิ่มขึ้น 2.4% จากปีที่แล้ว และเป็นการทำยอดขายรายเดือนสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยคาดว่า ยอดขายจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปอีกระยะหนึ่ง จากอากาศที่ยังร้อนต่อเนื่อง

คลื่นความร้อนที่ทำให้อากาศในฤดูร้อนของญี่ปุ่นร้อนจัดจนผิดปกตินั้น ยังทำให้ยอดขายของสินค้าประเภทครีมกันแดด ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ และระงับกลิ่นกายเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับความสนใจที่มีต่อที่นอน ที่ชูจุดขายว่า ช่วยให้ผู้นอนหลับสบายมากขึ้นในคืนที่ร้อนอบอ้าว

มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ มอร์แกน สแตนเลย์ ซิเคียวริตีส์ โค ระบุว่า ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน อุณหภูมิในกรุงโตเกียว เมืองนาโกยา และนครโอซากา เพิ่มสูงกว่าอุณหภูมิปกติโดยเฉลี่ย 2 องศาเซลเซียส ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจทำให้การบริโภคภาคเอกชนช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาปกติราว 645,800 ล้านเยน

waee1

ส่วนไดอิชิ ไลฟ์ รีเสิร์ช บริษัทด้านการวิจัย ประเมินว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายนนี้ จะช่วยหนุนการใช้จ่ายของครัวเรือนเพิ่มขึ้นราว 288,400 ล้านเยน

อย่างไรก็ดี โตชิฮิโร นากาฮามา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไดอิชิ ไลฟ์ รีเสิร์ช เตือนว่า หลังจากที่ผ่านพ้นช่วงอากาศร้อนไปแล้ว มีแนวโน้มที่ครัวเรือนต่างๆ จะควบคุมการใช้จ่ายอย่างเข้มงวดกว่าเดิม

ที่มา: Kyodo

Avatar photo