World News

วิจัยชี้ ‘เสพติดชานม’ เสี่ยงป่วย ‘โรคซึมเศร้า’ มากขึ้น

เครื่องดื่มหวานยอดฮิตจำพวกชานม ไม่ว่าจะหวานมากหวานน้อย จะใส่ไข่มุก หรือท็อปปิ้งอื่น ๆ ล้วนได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่คนหนุ่มสาวชาวเอเชียหลายประเทศ ตลอดช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา

แต่ล่าสุดมีนักโภชนาการออกมาเตือนว่า นอกจากคนที่ดื่มชานมเป็นประจำจะเสี่ยงต่อโรคอ้วน และโรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อ (NCDs) แล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นอายุน้อย

ชานม

บีบีซี รายงานว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิงฮวา ร่วมกับมหาวิทยาลัยการเงิน และเศรษฐศาสตร์กลางของจีน ตีพิมพ์ผลการศึกษาข้างต้นลงในวารสาร Journal of Affective Disorders หลังทำการสำรวจข้อมูลสุขภาพของนักศึกษา 5,281 คน ในกรุงปักกิ่ง

ผลวิจัยพบว่าอาการ “เสพติดชานม” นั้น มีอยู่จริง ทั้งยังมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต โดยนำไปสู่การเกิดภาวะวิตกกังวลเกินเหตุ โรคซึมเศร้า และความคิดที่จะฆ่าตัวตายได้

เกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ดื่มชานมเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละแก้ว แต่ส่วนใหญ่กลับมีพฤติกรรมการดื่มชานม ที่แสดงถึงการเสพติด เช่น ดื่มปริมาณมากหลายแก้วในคราวเดียว หรือรู้สึกกระหายอยากดื่มชานมอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากชานมมีน้ำตาลในปริมาณสูง รวมทั้งมีสารคาเฟอีนที่ทำให้เสพติดได้

ทีมผู้วิจัยพบว่า คนที่เสพติดชานมมักมีอารมณ์ขุ่นมัว รู้สึกเหงาอ้างว้าง และเศร้าสร้อยได้ง่าย ทั้งยังมีพฤติกรรมแยกตัวโดดเดี่ยวจากสังคมเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนจีน

“มีแนวโน้มว่า คนหนุ่มสาวมักใช้การดื่มชานมเป็นเครื่องมือจัดการกับอารมณ์ที่ปั่นป่วนของตนเอง หรือใช้เป็นกลไกรับมือทางจิตวิทยาชนิดหนึ่ง ทำให้เสพติดชานมได้เหมือนกับการใช้สื่อโซเชียลหรือสารเสพติดทั่วไป” 

อย่างไรก็ตาม ทีมผู้วิจัยยังไม่สามารถชี้ชัดถึงกลไกทางกายภาพ และจิตวิทยาที่เป็นสาเหตุเบื้องหลังของเรื่องนี้ได้ แต่ยืนยันว่าความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องระหว่างการเสพติดชานม กับปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีอยู่จริง และเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง ซึ่งควรจะมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมในเชิงลึกต่อไป

shutterstock 1259715181

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo