World News

ครั้งแรก! ‘อนามัยโลก’ จับมือ อินเดีย จัดซัมมิต ‘แพทย์แผนโบราณ’

องค์การอนามัยโลก จับมือ อินเดีย จัดการประชุมสุดยอดการแพทย์แผนโบราณเป็นครั้งแรก ระบุ ช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพ และมีความปลอดภัย

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า การแพทย์แผนโบราณเป็นด่านแรกของคนหลายล้านคนทั่วโลก การประชุมสุดยอดครั้งแรกนี้ จะนำผู้กำหนดนโยบาย และนักวิชาการมาร่วมกันสร้างพันธกิจทางการเมือง และการดำเนินการโดยอ้างอิงตามหลักฐานในด้านนี้

shutterstock 2076723652

ดร.ทีโดรส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก แถลงก่อนการประชุมว่า การแพทย์แผนโบราณสามารถลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพ หากมีการใช้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญที่สุดคือ มีความปลอดภัย โดยอ้างอิงตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด

การประชุมสุดยอดโลกด้านการแพทย์แผนโบราณขององค์การอนามัยโลก จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม ควบคู่ไปกับการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ที่เมืองคานธีนคร รัฐคุชราต ทางตะวันตกของอินเดีย คาดว่าจะกลายเป็นงานที่จัดขึ้นทุกปี และมีขึ้นหลังจากที่มีการเปิดศูนย์ระดับโลกด้านการแพทย์แผนโบราณ ขององค์การอนามัยโลกที่รัฐคุชราตเมื่อปี 2565

องค์การอนามัยโลกให้คำนิยามการแพทย์แผนโบราณว่า เป็นความรู้ ทักษะ และการปฏิบัติที่ผ่านการใช้มาระยะเวลาหนึ่งเพื่อดูแล และป้องกันสุขภาพ เพื่อวินิจฉัยและรักษาอาการเจ็บป่วยทางกาย และทางใจ

อย่างไรก็ดี การรักษาแผนโบราณหลายอย่างไม่ผ่านการรับรองทางวิทยาศาสตร์ และถูกกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติตำหนิว่า ส่งเสริมการลอบค้าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

ปัจจุบันสมาชิกองค์การอนามัยโลกที่ให้การรับรองการแพทย์แผนโบราณ และการแพทย์ทางเลือกมี 170 รัฐจากทั้งหมด 194 รัฐ และมีเพียง 124 รัฐที่มีรายงานว่า มีกฎหมายหรือระเบียบกำกับการใช้พืชสมุนไพร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo