World News

นักลงทุนคาด ‘แบงก์ชาติทั่วโลก’ ชะลอ ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ หลังเกิดวิกฤติธนาคาร

นักลงทุนหั่นคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก หลังเกิดภาวะปั่นป่วนในภาคธนาคาร โดยเครื่องชี้วัดตลาดส่งสัญญาณว่า ช่วงเวลาของการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วนั้นได้มาถึงจุดสิ้นสุดแบบฉับพลัน

นักลงทุนผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ เช่น สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย หรือสวอปอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap : IRS) เชื่อว่า ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่จำนวนมากจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติม และในบางกรณีจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยลงก่อนสิ้นปีนี้

shutterstock 2212529837

“อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว” นายมาร์ก ซานดี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทมูดีส์ อะนาลีติกส์ (Moody?s Analytics) ระบุ พร้อมกล่าวเสริมว่า “ระบบธนาคารทั่วโลกที่เปราะบางขึ้นแบบฉับพลันกดดันให้ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ต้องยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น”

สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Swaps Rates) ขณะนี้คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางรายใหญ่อีก 7 แห่งมีแนวโน้มที่จะตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดยังคงมีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไปว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับหรือไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม หลังเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม มีการคาดการณ์เป็นอย่างสูงว่า BoE และ ECB จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนพฤษภาคม

การหั่นคาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยทั่วโลกครั้งนี้มีขึ้น หลังมีการดำเนินนโยบายคุมเข้มการเงินครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ โดยตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารกลางรายใหญ่ทั้งหมด 18 แห่ง เพิ่มอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งหมด 16.45%

“ธนาคารกลางรายใหญ่ เช่น เฟดและ ECB ควรออกแถลงการณ์ร่วมกันว่าจะไม่มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก อย่างน้อยก็จนกว่าตลาดการเงินจะกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง” นายอีริก นีลเซน หัวหน้าที่ปรึกษานักเศรษฐศาสตร์ของยูนิเครดิต แบงก์ (UniCredit Bank) กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo