The Bangkok Insight

ท้องผูกเรื้อรัง ระวังมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช็ก 8 อาการบ่งชี้

ท้องผูกเรื้อรัง ระวังมะเร็งลำไส้ใหญ่ ภัยเงียบที่ตรวจคัดกรองได้ เช็กปัจจัยเสี่ยง 8 อาการบ่งชี้ ต้องรีบพบแพทย์ 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) ภัยร้ายที่มาจากพฤติกรรม มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ ก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณลำไส้ใหญ่ มักเกิดขึ้นจากติ่งเนื้อที่อยู่ที่ลำไส้ใหญ่มาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งหากติ่งเนื้อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์จนโตขึ้นก็อาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด

ท้องผูกเรื้อรัง

มะเร็งสำไส้ใหญ่ ถือเป็นอีกปัญหาสุขภาพที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างคาดไม่ถึง เพราะสาเหตุสำคัญของโรคนี้ มักสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดๆ อาทิ การเลือกกินอาหารที่ปิ้งย่างที่มักมีสารก่อมะเร็ง การกินอาหารแปรรูปบางอย่างมากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูง และเมื่อมีปัญหาระบบขับถ่ายแต่ไม่ยอมไปพบแพทย์เพื่อรักษา เป็นต้น

พฤติกรรมการขับถ่ายและอาการผิดปกติที่ไม่ควรปล่อยผ่าน อาการผิดปกติของระบบขับถ่าย อาจเป็นสัญญาณเตือนครั้งสำคัญของปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งมักมีอาการดังนี้ 

อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่

  1. ขับถ่ายบ่อยครั้งขึ้น หรือท้องผูกมากขึ้น
  2. ขับถ่ายไม่สุด หรือปวดเบ่ง
  3. ท้องเสียสลับกับท้องผูก
  4. มีเลือดสดๆ หรือเลือดแดงคลํ้าปนออกมากับอุจจาระ
  5. อุจจาระมีลักษณะก้อนเปลี่ยนเป็นเส้นลีบแบน
  6. มีท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด มีลมในลำไส้มาก
  7. นํ้าหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  8. เหนื่อย อ่อนเพลียง่าย จนกระทบต่อการใช้ชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้

  • บุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไป
  • พันธุกรรม บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัว พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ความเสี่ยงก็จะมากกว่าคนทั่วไป
  • การเลือกทานอาหารประเภทไขมันสูง ไม่มีใยอาหาร หรือทานผักผลไม้น้อย
  • การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เป็นประจำ
  • การไม่ออกกำลังกาย และมีภาวะโรคอ้วน

shutterstock 1178555359

กระบวนการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เพื่อให้การวางแผนการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง มีความแม่นยำและตรงจุด จำเป็นต้องมีการซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียด หรือทำการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่

  • การตรวจอุจจาระ (Stool Occult Blood)
  • การเอกซเรย์ (Barium enema)
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonography)
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

กระบวนการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่รักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับขนาด จำนวนก้อนมะเร็ง และระยะของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เช่น

  • การผ่าตัด
  • การให้เคมีบำบัด (Chemotherapy)
  • การฉายรังสี (radiotherapy)

shutterstock 1897200676

ซึ่งการผ่าตัดร่วมกับเคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สำคัญที่สุด ส่วนการฉายแสงหรือการฉายรังสี มักจะรักษากับคนไข้ที่เป็นก้อนมะเร็งที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วนล่างๆ ซึ่งไม่สามารถที่จะผ่าตัดได้ โดยกระบวนการรักษาโรคมะเร็งควรทำการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน เซลล์มะเร็งอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย โอกาสในการรักษาหายก็จะลดน้อยลง

ลดความเสี่ยง

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยให้ได้สัปดาห์ละ 150 นาทีขึ้นไป
  • เลือกทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยในขับถ่าย ดื่มน้ำให้มาก และอย่าให้ท้องผูกเรื้อรัง
  • เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือทานอาหารมากเกินไป
  • งดการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ขอบคุณข้อมูล โรพยาบาลเปาโล

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo