The Bangkok Insight

ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์แข่งเดือด แนะใช้เทคโนโลยีวางแผน-ลดต้นทุน

นอสตร้า โลจิสติกส์ เผยธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์แข่งดุ แนะใช้เทคโนโลยีในการวางแผน เพื่อลดต้นทุน เพิ่มความปลอดภัย สอดรับนโยบายการขนส่งฯ ตั้งเป้าเพิ่มฐานผู้ใช้งาน 20% ภายในปี 2567 

นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการอาวุโสส่วนซัพพลายเชนโซลูชัน-เทคโนโลยี บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขนส่งทางถนน

ขนส่งโลจิสติกส์

ทั้งนี้ จากข้อมูลวิจัยกรุงศรี พบว่า ธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนนเติบโตเฉลี่ย 3-5% ต่อปี ในช่วงปี 2565-2567 ปัจจัยหนุนจากการเติบโตของภาคการผลิต การค้า และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ ทั้งยังพบการแข่งขันที่รุนแรงจากจำนวนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นและด้านราคา บวกกับต้นทุนค่าแรงงานและเชื้อเพลิงที่เพิ่มเป็นอุปสรรคต่อผลประกอบการของธุรกิจ

แนวโน้มของธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ มีการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล เพิ่มความโปร่งใสของระบบโดยสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันได้ระหว่างระบบแบบ Ecosystem และสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์แผนงานต่อได้อย่างยั่งยืน

ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ เพิ่มการลงทุนเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อช่วยการบริหารจัดการงานขนส่งให้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และช่วยลดต้นทุน

คุณวรินทร สีสุขดี NOSTRA LOGISTICS
วรินทร สีสุขดี

สำหรับ NOSTRA LOGISTICS พัฒนาแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ซัพพลายเชนมากว่า 20 ปี เห็นถึงสิ่งที่ผู้ประกอบการขนส่งต้องการ และตอบโจทย์แก่ธุรกิจอย่างสมบูรณ์ ด้วย 3 จุดแข็งของผลิตภัณฑ์และการบริการ คือ

1. ให้บริการผลิตภัณฑ์หลากหลาย มีความสามารถบริหารจัดการในทุกกิจกรรมการขนส่งและสามารถบริหารจัดการทั้งรถของธุรกิจและรถเอาท์ซอร์ส

2. มีระบบและเทคโนโลยีสนับสนุนการบริหารจัดการและตรวจสอบความปลอดภัยด้านการขนส่ง เป็นมากกว่างานบริหารและติดตามงานขนส่ง

3. บูรณาการระบบให้เชื่อมต่อเข้ากับระบบไอทีอื่นๆ เพื่อทำงานร่วมกันได้ตลอดโลจิสติกส์ซัพพลายเชน เช่น ERP, WMS

ความสามารถทั้งหมดนี้ ช่วยลดต้นทุนด้านงานขนส่งได้สูงสุด 15-20% ตลอดจนยกระดับความปลอดภัยด้านงานขนส่งสูงสุด

นอกจากนี้ ความปลอดภัยในการขับรถบนท้องถนน นับเป็นสิ่งสำคัญของการบริหารจัดการงานขนส่ง ทั้งจากที่กรมการขนส่งทางบกออกประกาศให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกในประเทศไทย ต้องจัดให้มีบุคลากรจัดการด้านความปลอดภัยในการขนส่ง (TSM)

NOSTRA LOGISTICS Info

ขณะเดียวกัน ยังมีงานหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านการขนส่งโลจิสติกส์เช่น รถ การบรรทุกและโดยสาร คนขับรถ การเดินรถ ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งต้องวางแผนและควบคุมกำกับดูแลความปลอดภัยในการขนส่ง รวมทั้งมีแผนการจัดการและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน

ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS สามารถสนับสนุนภารกิจด้านความปลอดภัยในการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยฟังก์ชันการทำงานบริหารจัดการงานขนส่งที่ครอบคลุมทุกด้าน (TMS) มีระบบแผนที่งานขนส่งแม่นยำสูง และสามารถเชื่อมต่อเทคโนโลยี Telematics เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในงานขนส่ง รวมถึงความสามารถในการจัดการข้อมูลจำนวนมาก (Big Data) เพื่อสนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจได้รวดเร็ว

นางวรินทร กล่าวว่า ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ยังสามารถนำระบบ NOSTRA LOGISTICS ไปใช้งานได้ง่าย โดยมีเป้าหมายให้แพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS พร้อมสนับสนุนทุกกิจกรรมการทำงานของผู้ประกอบการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อผลกำไรเพิ่มขึ้นแก่ธุรกิจ

ปัจจุบัน มีจำนวนรถที่ใช้งานแพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS ประมาณ 3 หมื่นคัน พร้อมตั้งเป้าเพิ่มผู้ใช้อีก 20% ภายในปี 2567

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo