Stock

มือใหม่ต้องรู้! หุ้นปันผลคืออะไร เลือกหุ้นแบบไหนให้ได้รับปันผลตลอด

มือใหม่ต้องรู้! หุ้นปันผลคืออะไร หุ้นปันผลเหมาะกับใคร เลือกหุ้นแบบไหนให้ได้รับปันผลตลอด ส่องเทคนิคการเลือกหุ้นปันผลที่นี่

การลงทุนในหุ้น คือ การลงทุนในธุรกิจ หากเราเลือกลงทุนในธุรกิจที่ดี มีความสามารถในการแข่งขันสูง ธุรกิจก็จะมีผลกำไรที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทจะจ่ายเงินปันผลเป็นการตอบแทนให้กับนักลงทุนระหว่างการถือหุ้นนั้น ๆ

หุ้นปันผลคืออะไร

การหา “หุ้นปันผลสูง” จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่นักลงทุนหลายคนชื่นชอบ โดยเฉพาะคนที่อยากถือหุ้นลงทุนยาวๆ สร้างกระแสเงินสดกลับมาสม่ำเสมอ ยิ่งในช่วงที่ตลาดผันผวน เอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ หุ้นกลุ่มนี้ยิ่งดูน่าสนใจ มีเสน่ห์เพิ่มขึ้นมากทีเดียว

หุ้นปันผลคืออะไร

โดยทั่วไปแล้วการลงทุนหุ้นสามารถสร้างผลตอบแทนได้ 2 รูปแบบ คือ

  • กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) หรือการขายหุ้นในราคาสูงกว่าที่ซื้อมา
  • เงินปันผล (Dividend) เมื่อบริษัทมีผลกำไรจากการดำเนินการ และแบ่งเงินบางส่วนจากกำไรมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้น โดยหุ้นที่เน้นจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าเงินก้อนนี้จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จะเรียกว่าหุ้นปันผล

คำถามคือ หุ้นปันผลควรให้ผลตอบแทนในรูปปันผลเท่าไหร่จึงจะถือได้ว่าหุ้นตัวนี้คือหุ้นปันผล? เพื่อจะตอบคำถามนี้ ให้ลองดูดัชนี SETHD (SET High Dividend) ที่เป็นดัชนีรวมหุ้น 30 ตัวที่มีขนาดใหญ่ในดัชนี SET100 สภาพคล่องสูง จ่ายปันผลต่อเนื่อง และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่เกิน 100% ของกำไรในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

จะเห็นได้ว่า หุ้นในดัชนีนี้มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ที่ 4.85% ของราคาหุ้น เทียบกับดัชนี SET ที่ 3.12% จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนถึงเดือนมิถุนายน ปี 2566 สามารถดูรายละเอียดของดัชนี SETHD เพิ่มเติม คลิกที่นี่

อย่างไรก็ตาม หุ้นปันผลที่ดีต้องไม่ได้มีดีแค่อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง แต่จะต้องสูงอย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ ที่ดีคอยสนับสนุน เช่น กำไร สภาพคล่อง หนี้ ความเสี่ยง เพื่อปันผลที่มั่นคงในระยะยาว เพราะต้องไม่ลืมว่าเงินปันผลก็คือส่วนแบ่งของกำไรที่มาจากผลประกอบการที่ดีของกิจการ

หุ้นปันผลคืออะไร

เทคนิคการเลือกหุ้นปันผล

การจะเลือกหุ้นปันผลสักตัวไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญหลายอย่าง บริษัทมีฐานะการเงินอย่างไร กระแสเงินสดดีแค่ไหน มีสภาพคล่องมากไหม และปันผลสม่ำเสมอรึเปล่า เอาเป็นว่า… ใครอยากรู้และอยากได้หุ้นปันผลมาครอบครอง เราลองมาดูเทคนิคการเลือกหุ้นปันผลกันดีกว่า

1. เป็นธุรกิจที่ดีมีการเติบโต

หัวใจสำคัญของหุ้นปันผล คือ ต้องเป็นบริษัทที่มีพื้นฐานทางธุรกิจที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของกิจการ เราต้องพิจารณา “ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ” โดยเลือกหุ้นที่มีจุดแข็งในการแข่งขันกับคู่แข่ง ยิ่งเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งขันน้อยรายหรือหน้าใหม่เข้ามาในธุรกิจได้ยาก ก็ยิ่งดี รวมไปถึงพิจารณา “อนาคตการเติบโตของกิจการ” โดยเลือกธุรกิจที่มีแนวโน้มไปต่อได้และยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว

2. มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง

  • โครงสร้างหนี้เหมาะสม การที่บริษัทจะจ่ายปันผลได้ต้องมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถดูได้จากโครงสร้างหนี้ว่ามี “หนี้สินต่อทุน” (D/E Ratio) มากเกินไปหรือไม่” และหนี้สินที่มีอยู่เป็นหนี้ระยะสั้นหรือระยะยาว เพราะหากมีหนี้ระยะสั้นจำนวนมาก บริษัทอาจต้องใช้เงินก้อนใหญ่เพื่อจ่ายหนี้ในเวลาอันใกล้ อาจทำให้ความพร้อมที่จะปันผลน้อยลง
  • กำไรสะสมเป็นบวก นอกจากดูโครงสร้างหนี้แล้ว เรายังสามารถดูจาก “กำไรสะสม” โดยปกติบริษัทจดทะเบียนจะนำกำไรส่วนที่เหลือจากการปันผลให้กับผู้ถือหุ้นมาเก็บเป็นกำไรสะสม หากบริษัทไหนยังขาดทุนสะสมอยู่ แม้จะมีกำไรสุทธิระหว่างงวด แต่บริษัทอาจพิจารณานำกำไรเหล่านั้นไปชดเชยในส่วนที่ยังขาดทุนสะสมอยู่ ทำให้ผู้ถือหุ้นอาจไม่ได้รับเงินปันผลก็ได้
  • กระแสเงินสดเป็นบวก นอกจากดูโครงสร้างหนี้แล้ว เรายังสามารถดูจาก “กำไรสะสม” โดยปกติบริษัทจดทะเบียนจะนำกำไรส่วนที่เหลือจากการปันผลให้กับผู้ถือหุ้นมาเก็บเป็นกำไรสะสม หากบริษัทไหนยังขาดทุนสะสมอยู่ แม้จะมีกำไรสุทธิระหว่างงวด แต่บริษัทอาจพิจารณานำกำไรเหล่านั้นไปชดเชยในส่วนที่ยังขาดทุนสะสมอยู่ ทำให้ผู้ถือหุ้นอาจไม่ได้รับเงินปันผลก็ได้

3. มีสภาพคล่องในการซื้อขาย

หุ้นปันผลที่ดีนอกจากจะมีฐานะการเงินแข็งแกร่งแล้วต้องมี “สภาพคล่อง” สูงด้วย เพราะต่อให้เป็นหุ้นที่ให้ปันผลดี แต่มีสภาพคล่องน้อย การซื้อขายแต่ละครั้งอาจทำได้ยากและต้องใช้เวลานาน ดังนั้น ควรเลือกหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่พอสมควร เช่น หุ้นในกลุ่ม SET50 หรือหุ้นในกลุ่ม SET High Dividend 30 Index

4. จ่ายปันผลสม่ำเสมอ

เราควรประเมินแนวโน้มการเติบโตในอนาคต เพื่อประเมินว่าบริษัทจะสามารถจ่ายปันผลได้หรือไม่ และยังต้องพิจารณาอีกว่าเงินปันผลที่นำมาจ่ายนั้นมาจากการดำเนินงานไม่ใช่ “กำไรพิเศษ” ที่อาจเกิดขึ้นครั้งเดียว ซึ่งอาจส่งผลต่อความสม่ำเสมอของการจ่ายปันผลได้ และนึกอยู่เสมอว่าการจ่ายปันผลในอดีตไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดได้ทั้งหมด

โดยทั่วไปเราจะดูความสม่ำเสมอในการจ่ายปันผลจาก “อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน” (Dividend Yield) ซึ่งอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะอยู่ที่ประมาณ 3% ดังนั้น หุ้นปันผลที่เราควรลงทุน อาจต้องให้อัตราเงินปันผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยและเมื่อรวมกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 1-2% ต่อปี เท่ากับว่า… อัตราเงินปันผลตอบแทนที่เราควรได้จากหุ้นปันผลควรมากกว่า 4-5% ต่อปี

หุ้นปันผลคืออะไร

หุ้นปันผลเหมาะกับใครบ้าง?

หุ้นแต่ละสไตล์จะเหมาะกับนักลงทุนแต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป สำหรับหุ้นปันผลจะเหมาะกับ นักลงทุนระยะยาว เนื่องจากหุ้นที่พื้นฐานธุรกิจดีมีอนาคตเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีช่วงระยะเวลาเพียงพอที่จะรอให้กิจการเติบโต และรอเก็บผลตอบแทนจากเงินปันผลในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่อง เนื่องจากเงินปันผลที่นักลงทุนได้รับจะช่วยสร้างสภาพคล่องระหว่างการถือหุ้นของนักลงทุนด้วย หากใครที่ต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอเป็นเงินสดทุกๆ ปี ในรูปแบบ Passive Income หุ้น

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหุ้นปันผล

นอกจากเรื่องที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ยังมีเรื่องสำคัญที่นักลงทุนมือใหม่จะต้องทำความเข้าใจ ได้แก่ เครื่องหมายเกี่ยวกับการรับปันผล และดัชนีที่เกี่ยวข้องกับหุ้นปันผล

เครื่องหมาย XD นักลงทุนหลายคนอาจสับสนว่าซื้อหุ้นตอนไหนถึงจะได้รับปันผล ต้องบอกว่าโดยปกติตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมาย XD (Excluding Dividend) เพื่อแสดงให้นักลงทุนทราบว่า… หากเราซื้อหุ้นในวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD แปลว่าเราจะไม่มีสิทธิรับปันผลในงวดนั้นๆ ดังนั้น หากต้องการได้รับปันผล ก็ควรซื้อก่อนที่จะขึ้นเครื่องหมาย XD

ดัชนี SETHD เป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 30 ตัวที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูง สภาพคล่องการซื้อขายอยู่ในเกณฑ์ดี มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทเหล่านี้มักจะมีนโยบายจ่ายเงินปันผลมากกว่า 85% ของกำไรในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยรายชื่อหุ้นที่ใช้ในการคำนวณดัชนีจะมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนทุก 6 เดือน เพื่อให้ดัชนีสะท้อนสถานการณ์การลงทุนที่เกิดขึ้น

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK