Personal Finance

‘ประกันชีวิต’ ออมก็ได้ ลดหย่อนภาษีก็ดี วางแผนดีๆ ลดหย่อนได้ 300,000 บาทเลยนะ

‘ประกันชีวิต’ ออมก็ได้ ลดหย่อนภาษีก็ดี ประกันแบบใดบ้างที่ลดหย่อนได้ และลดได้เท่าไหร่ 

การทำประกัน ชีวิต เป็นอีกวิธีหนึ่งที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้เป็นสิทธิลดหย่อนภาษี แล้วทำไมประกัน ชีวิตถึงลดหย่อนภาษีได้…?

หลายคนมองว่า การทำประกัน ชีวิต เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น แต่ทำไมภาครัฐจึงให้ความสำคัญ ให้นำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษี คำตอบก็คือ การทำประกัน ชีวิต เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับอนาคต เช่นเดียวกับการออม โดยเงินที่ทำประกันสามารถให้ผลตอบแทนหรือชดเชยความเสียหายได้ เช่น มีเงินเลี้ยงดูตนเองเมื่อเกษียณหรือชรา หากเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุก็ได้รับเงินชดเชย หากเสียชีวิต ครอบครัวก็จะได้เงินค่าสินไหมจากประกัน ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางหนึ่งของประชาชน

ประกันชีวิต

ประกัน ชีวิตแบบใดบ้างที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ และได้เท่าไร

กรมสรรพากร ได้ระบุสิทธิการลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกัน ชีวิต โดยจะต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ประเภทของประกัน ชีวิต ที่สามารถนำเบี้ยมาลดหย่อนภาษีได้มี 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ประกัน ชีวิตแบบทั่วไป และแบบบำนาญ

ประกัน ชีวิตแบบทั่วไป

ประกัน ชีวิตแบบทั่วไป สามารถนำเบี้ยมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดถึง 100,000 บาท โดยประกัน ชีวิตแบบทั่วไปนั้น ได้แก่

ประกัน ชีวิตชั่วระยะเวลาที่เน้นคุ้มครองชีวิตจากการเสี่ยงภัยในระยะไม่กี่ปี เช่น 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี เป็นต้น (ประกัน ชีวิตประเภทนี้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ หากมีอายุกรมธรรม์ 10 ปี ขึ้นไป)

ประกัน ชีวิตตลอดชีพ คือ ประกันที่คุ้มครองชีวิตยาวนานจนถึง 90 หรือ 99 ปี โดยอาจจะมีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันประมาณ 10 15 หรือ 20 ปี เพื่อเป็นมรดกให้กับคนข้างหลังในวันที่ผู้ทำประกันเสียชีวิต

ประกัน ชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันที่ทั้งคุ้มครองชีวิตและเป็นเงินออมในขณะเดียวกัน ซึ่งผู้ทำประกันจะได้รับเงินตามจำนวนที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ เมื่อเสียชีวิตหรือเมื่อสัญญาครบกำหนด ซึ่งมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี หรือครบอายุผู้เอาประกัน 60 ปี

ทั้งนี้ ถ้าหากได้รับเงินหรือผลประโยชน์จากประกันในระหว่างอายุกรมธรรม์ จะต้องได้ไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกัน ชีวิตรายปี จึงมีสิทธินำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้

ประกันชีวิต

ประกัน ชีวิต แบบบำนาญ

ประกัน ชีวิต แบบบำนาญหรือแบบเงินได้ประจำ เป็นประกันที่ทำเพื่อเป็นรายได้ยามชรา โดยบริษัทประกันจะจ่ายให้ผู้เอาประกันเป็นงวดๆ เหมือนเงินบำนาญนับตั้งแต่ปีที่สัญญาครบกำหนด เช่น เมื่อผู้เอาประกันอายุ 55 ปี – 85 ปี หรือมากกว่านั้น

เบี้ยประกันประเภทนี้ที่จ่ายในแต่ละปี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มากกว่าประกัน ชีวิตแบบทั่วไป คือ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 200,000 บาท โดยต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน เมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เงินที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ประกันชีวิต

ควรทำประกัน ชีวิตแบบใด

แม้การทำประกัน ชีวิตจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่ก็ไม่ควรมองการทำประกัน ชีวิตไปเพื่อลดหย่อนภาษีเป็นหลัก แต่ควรมองจุดประสงค์ที่แท้จริง นั่นคือ การคุ้มครอง และเลือกประเภทประกันให้เหมาะกับเป้าหมายของเราเอง เช่น ต้องการคุ้มครองระยะสั้น คุ้มครองระยะยาว ประกันชีวิตเพื่อการมีเงินใช้เมื่อชราไปตลอดจนกว่าจะเสียชีวิต หรือออมเพื่อบุตรหลาน

เมื่อทราบเป้าหมายของเราว่าเหมาะกับการทำประกันแบบใด เราจึงค่อยวางแผนจัดสรรเงินมาทำประกัน ชีวิตตามที่เราต้องการ เช่น ต้องการทิ้งมรดกให้กับครอบครัวเพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายประจำวันเป็นเวลากี่ปี ควรทำประกันชีวิตตลอดชีพเท่าไร ต้องการออมเงินในประกันแบบสะสมทรัพย์ควรลงทุนเดือนละเท่าไรของรายได้ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินยังคล่องตัว

หรือต้องการมีเงินใช้ตอนเกษียณ 20,000 บาท ต่อเดือน จะต้องออมในประกัน ชีวิตแบบบำนาญงวดละเท่าไร เป็นต้น จากนั้นจึงค่อยมาดูว่าเบี้ยประกัน ชีวิตของเราสามารถลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

ทั้งนี้ นอกจากการทำประกัน ชีวิตที่สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้แล้ว ก็ยังมีประกันประเภทอื่นที่สามารถลดภาษีได้เช่นกัน แต่ไม่สามารถลดหย่อนได้มากเท่าประกันชีวิต นั่นคือ ประกันสุขภาพ ซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้เท่าจำนวนเบี้ยที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท

แต่เมื่อรวมกับเบี้ย ประกันชีวิตตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเงินฝากที่จ่ายไว้กับธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo