Personal Finance

5 วิธี “เลี่ยงภาษี” แบบถูกกฎหมาย ฉบับผู้มีเงินได้ต้องรู้ !! วางแผนปีนี้ ลดภาษีปีหน้า

5 วิธี “เลี่ยงภาษี” แบบถูกกฎหมาย ฉบับผู้มีเงินได้ต้องรู้ !! เตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ปีหน้าจะเสียภาษีน้อยลง

“เลี่ยงภาษี” แบบถูกกฎหมาย ขึ้นหัวไว้แบบนี้ หลายคนบอกว่า การเสียภาษี เป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน แม้จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถบริหารจัดการให้เสียในอัตราที่น้อยลงได้ ซึ่งก็มาอยู่หลายวิธี ดังนี้

เลี่ยงภาษี

ชี้ 5 ช่อง เลี่ยงภาษี

  1. การลดเงินได้สุทธิ

เป็นวิธีที่ผู้มีเงินได้นิยมใช้มากที่สุด โดยการใช้สิทธิลดหย่อนต่างๆ เช่น การซื้อกองทุน RMF SSF การซื้อประกัน หรือ ดอกเบี้ยเงนกู้จากการซื้อบ้านเพื่อการอยู่อาศัย ต่างๆ เหลานี้จะช่วยให้เงินได้สุทธิของเราลดลง และจะทำให้เราเสียภาษีน้อยลงนั่นเอง

อีกวิธีหนึ่งในการลดเงินได้สุทธิ กือ การแปลงเงินได้สุทธิ เป็นเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งปกติ เงินเดือนของเรามักจะมีการบวกค่าโน่นค่านี่เข้าไป เช่น ค่ายานพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง เงินประจำตำแหน่ง ฯลฯ เมื่อรวมทั้งปีจะทำให้เงินได้สูงขึ้น เราจะเจรจากับนายจ้าง  ให้แยกเงินส่วนนี้ออกจากเงินเดือน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการพูดคุยระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

  1. การแปลงประเภทเงินได้ เพื่อหักค่าใช้จ่าย

การเสียภาษีของมนุษย์เงินเดือน โดยทั่วไปจะเสียกันเฉพาะ 40(1) + 40(2) เท่านั้น แต่ข้อจำกัดก็คือรายได้ 40(1) + 40(2) หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 100,000 บาทเท่านั้น แต่รายอื่น ๆ ที่เป็น 40(3) ถึง 40(8) จะสามารถหักค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ เช่น การเปลี่ยนเงินได้ประเภทที่ 1 เป็น ประเภทที่ 6 หรือการเปลี่ยนเงินได้ประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่ 8 จะทำให้เราหักค่าใช่จ่ายได้เยอะขึ้นตามความเหมาะสม แล้วเมื่อหักค่าใช่จ่ายได้เยอะขึ้นก็จะเสียภาษีลดลง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน อาชีพ ด้วยเช่นกัน

เลี่ยงภาษี

  1. การกระจายหน่วยภาษี และกระจายเงินได้

สำหรับโครงการการเสียภาษีของบ้านเราจะเป็นอัตราก้าวหน้า ยิ่งมีรายได้มากจะเสียภาษีในอัตราสูงตามฐานภาษี เช่น มีรายได้ต่อปี 150,001 – 300,000 บาท จะเสียภาษี 5% เงินได้ 300,001 บาท – 500,000 บาท จะเสียภาษี 10% จะเป็นได้ว่า หากมีเงินได้เพิ่มขึ้นเพียง 1 บาท ก็ทำให้เราต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มขึ้น

ดังนั้น เราสามารถให้นายจ้างแบ่งเงินเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำเข้าบัญชีของเรา และนำเงินอีกส่วนหนึ่งเข้าคนที่ ‘ฐานภาษีต่ำ’ กว่าของเรา ซึ่งอาจจะเป็นญาติ พี่น้อง ของเรา ในกรณีนี้เราอาจจะต้องตกลงกับนายจ้าง และญาติของเราให้เข้าใจเสียก่อน

  1. กำหนดเวลาการรับเงินได้

เหมาะสำหรับคนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ อาจจะมีเป็นฟรีแลนซ์ โดยการขอเลื่อนการรับรายได้ออกไป เพื่อให้รายได้บางส่วนไปเสียภาษีปีหน้า ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เช่น เรามีรายได้ที่จะได้รับในปีนี้ 1,000,000 บาท ก็ให้แบ่งออกเป็น 2 ก้อน ๆ ละ 500,000 บาท โดนให้นายจ้างโอนให้ปลายปี 1 ก้อน และ ต้นปีอีก 1 ก้อน เพื่อให้ฐานภาษีของเราเริ่มคำนวณใหม่ในปีถัดไป

เลี่ยงภาษี

  1. การเลือกรวมหรือไม่รวมเสียภาษีปลายปี

เงินได้ที่มีการเสียภาษีสุดท้าย (Final Tax) คือ เงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว โดยผู้มีเงินได้สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้

ดังนั้นกลยุทธ์สำคัญในการวางแผนภาษี คือ ต้องเข้าใจว่าตัวเองมีเงินได้อะไรบ้าง และมีเงินได้ใดที่ได้สิทธิ Final Tax ซึ่งหมายความว่าเราจะได้สิทธิในการนำเงินได้นั้นมารวมหรือไม่รวมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีนั่นเอง

การรวมรายได้ทุกประเภทที่ได้รับตลอดทั้งปีไปรวมยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีความเสี่ยงที่จะมีเงินได้เพิ่มจนเกินอัตราภาษีที่เคยจ่าย เพราะอัตราภาษีไทยเป็นอัตราก้าวหน้า ดังนั้น หากตัดภาระที่เสียภาษีระหว่างปีที่ได้รับสิทธิ Final Tax ออกไป จะทำให้ลดความยุ่งยากในการยื่นภาษี และทำให้เราเสียภาษีเงินได้น้อยลงอีกด้วย ซึ่งวิธีนี้ เหมาะสำหรับคนที่มีรายได้จากการลงทุน

วางแผนปีนี้ ลดภาษีปีหน้า

ทั้ง 5 วิธีเลี่ยงภาษีแบบถูกกฎหมาย มีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้มีเงินได้แตกต่างกัน บางวิธีเหมาะกับมนุษ์เงินเดือน บางวิธีเหมาะกับวิถีฟรีแลนซ์ หากนำเราวางแผนเรื่องเงินได้แต่เนิ่นๆ ปีหน้า เมื่อเรายื่นแบบให้กับ กรมสรรพากร  เราจะเสียภาษีน้อยลง !!

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo