Personal Finance

‘ภาษีมรดก’ เรื่องที่ควรรู้ ทรัพย์สินมรดกอะไรบ้าง ต้องจ่ายภาษี เช็กเลย!!

ภาษีมรดก 5 ประเภททรัพย์สินมรดกที่ต้องจ่ายภาษี ตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก หากไม่จ่ายมีโทษอะไรบ้าง เช็กรายละเอียดที่นี่

ภาษีมรดก เรื่องที่ผู้มีเกณฑ์ได้รับมรดกควรศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดก ตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง และไม่เข้าใจผิดจนต้องเสียภาษีทั้งที่ไม่จำเป็น

ทรัพย์สินมรดก

ภาษีมรดกคืออะไร

ภาษีมรดก เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ได้รับมรดกที่มีมูลค่าสุทธิรวมเกิน 100 ล้านบาท มีชื่อเรียกแบบเต็มว่า ภาษีการรับมรดก โดยทรัพย์สินมรดกที่จะต้องเสียภาษีมีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่

  • อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้านหรือที่ดิน
  • หลักทรัพย์ เช่น ตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตร
  • เงินฝาก
  • ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน เช่น รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์
  • ทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ (หากแต่มีการประกาศเพิ่มในอนาคต)

สำหรับอัตราค่าเก็บภาษีมรดกแบ่งออกเป็น 5% และ 10% ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรตั้งไว้

shutterstock 2012093636

กรณีใดบ้างที่ต้องเสียภาษีมรดก

  • บุคคลทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือด เสียภาษีมรดก 10%
  • พ่อแม่ เสียภาษีมรดก 5%
  • ปู่ ย่า ตา ยาย เสียภาษีมรดก 5%
  • ผู้สืบสันดาน เสียภาษีมรดก 5%

กรณีใดบ้างที่ได้รับการยกเว้นภาษีมรดก

กรณีที่ผู้ได้รับมรดกเป็นสามีหรือภรรยาของผู้ให้มรดก และได้มีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้นั้นจะได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีมรดก

หากยกมรดกให้กับหน่วยงานของรัฐ มรดกนั้นจะได้รับการยกเว้นภาษีมรดก ไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว

shutterstock 1959559804

กรณีที่ไม่สามารถจ่ายภาษีเต็มจำนวนได้ กฎหมายอนุโลมให้ผู้ได้รับมรดกยื่นเรื่องผ่อนชำระการจ่ายภาษีมรดกได้สูงสุดถึง 5 ปี และถ้าสามารถจ่ายภาษีจนหมดภายในเวลา 2 ปี จะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มเติม

บทลงโทษสำหรับผู้เลี่ยงภาษีมรดก

หากผู้ได้รับมรดกไม่ยื่นภาษีโดยเหตุสมควร มีโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าจากภาษีที่ต้องจ่าย

กรณีผู้ได้รับมรดกยื่นภาษีแต่ไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องเสียเบี้ยปรับอีก 5 เท่าของภาษีที่ต้องจ่าย

ที่มา: ddproperty

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo