Finance

ย้อนไทม์ไลน์ดอกเบี้ยขาขึ้น จาก 0.50% ช่วงวิกฤติโควิด พุ่งสู่ 2.50% ในปัจจุบัน

ย้อนไทม์ไลน์ดอกเบี้ยขาขึ้น จากระดับ 0.50% ช่วงวิกฤติโควิด ก่อนปรับขึ้นครั้งแรกวันที่ 10 สิงหาคม 2565 และปรับขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 2.50% ในปัจจุบัน

จากวันที่ประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤติการแพร่ระบาดของ “โควิด” ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยมีเหตุผลสำคัญเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศให้ประชาชนลืมตาอ้าปาก โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติเห็นชอบให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมวันที่ 7 สิงหาคม 2562 จากดอกเบี้ยที่ระดับ 1.75% ลดลงสู่ระดับ 1.5% และปรับลงต่อเนื่องจนเหลือ 0.50%

ดอกเบี้ยขาขึ้น

และนับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2562 ที่ประชุม กนง. ยังคงมีมติเห็นชอบให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.50% อย่างต่อเนื่อง ก่อนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกที่ 0.25% ในการประชุมวันที่ 10 สิงหาคม 2565 สู่ระดับ 0.75% และปรับขึ้นต่อเนื่องครั้งละ 0.25% ติดต่อกันสู่ระดับ 2.50% เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

ย้อนไทม์ไลน์ดอกเบี้ยขาขึ้น

10 สิงหาคม 2565 : ขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.50% เป็น 0.75% ต่อปี โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ 1 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ต่อปี

28 กันยายน 2565 : ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.75% เป็น 1.00% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

30 พฤศจิกายน 2565 : ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.00% เป็น 1.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

ดอกเบี้ยขาขึ้น

25 มกราคม 2566 : ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.25% เป็น 1.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

29 มีนาคม 2566 : ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.50% เป็น 1.75% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

31 พฤษภาคม 2566 : ขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

2 สิงหาคม 2566 : ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.00% เป็น 2.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

27 กันยายน 2566 : ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี โดยให้มีผลทันที

ดอกเบี้ยขาขึ้น

29 พฤศจิกายน 2566 : คงดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50%

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดยในการประชุมครั้งนี้ กรรมการ 1 ท่านลาประชุม

ทั้งนี้ การประชุมในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ถือเป็นครั้งแรกที่มีมติคงดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% หลังจากปรับขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 โดยที่ประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ภาคการส่งออกและการผลิตที่เกี่ยวข้องชะลอลง โดยในปี 2567 และ 2568 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวอย่างสมดุลขึ้น จากอุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยว และการฟื้นตัวของภาคการส่งออก ด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2567 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

คณะกรรมการฯ ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบันเหมาะสมกับบริบทที่เศรษฐกิจกำลังทยอยฟื้นตัวกลับสู่ระดับศักยภาพ เอื้อให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน เสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว และป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงิน อีกทั้งช่วยรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK