Stock

สำรวจยอดเงินฝาก-สินเชื่อธนาคาร ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายทางการเงิน (Monetary Policy) ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดต้นทุนการกู้ยืมและปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จาก 0.50% เป็น 0.75% ต่อปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า

การขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบให้ต้นทุนทางการเงินของประชาชนและผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าทุกๆ การปรับขึ้นดอกเบี้ย 1% จะทำให้ภาระการผ่อนสินเชื่อต่อเดือนเพิ่มขึ้น 10% – 11% แต่ในอีกทางหนึ่งก็ทำให้การฝากเงินไว้กับธนาคารมีแรงดึงดูดมากขึ้นเช่นกัน

ดอกเบี้ยขาขึ้น e1663255182874

วันนี้เราจึงได้สำรวจข้อมูลภาพรวมเงินฝากและยอดสินเชื่อเช่าซื้อในเดือนกรกฎาคม 2565 ของ 8 ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำในประเทศไทยว่ามีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง ท่ามกลางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งรวบรวมโดย บล.ดาโอ (ประเทศไทย)

 

เงินฝากและยอดสินเชื่อเช่าซื้อเดือนกรกฎา 0.jpg444444444444444444

 

เงินฝากและยอดสินเชื่อเช่าซื้อเดือนกรกฎา.jpg77777777

 

นักวิเคราะห์บล.ดาโอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ภาพรวมเงินฝากของ 8 หุ้นธนาคาร ได้แก่ BBL, KBANK, KKP, KTB, LHFG, SCB, TISCO และ TTB อยู่ที่ 12.7 ล้านล้านบาท มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นจากการเร่งระดมเงินฝากประจำที่มากขึ้น ท่ามกลางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่ภาพรวมสินเชื่ออยู่ที่ 11 ล้านล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อเช่าซื้อที่กลับมาฟื้นตัวได้ดี

โดยมีมุมมองเป็นบวกต่อหุ้นกลุ่มธนาคาร และยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะการกลับมาฟื้นตัวในส่วนของสินเชื่อ พร้อมคาดว่าภาพรวมสินเชื่อในเดือนต่อไปจะเห็นการฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง จากสินเชื่อรายใหญ่อยู่ในช่วงเร่งตัวขึ้น และภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้

ทั้งนี้ เลือก KBANK และ KTB เป็นหุ้น Top pick ของกลุ่มธนาคาร โดย KBANK ให้ราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 190 บาทต่อหุ้น เพราะได้ประโยชน์จากสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งปีหลัง และเป็นธนาคารที่เน้นดิจิทับรายแรก และยังเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลต่อเนื่อง

ส่วน KTB ให้ราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 18.00 บาท เนื่องจาก valuation ปัจจุบันยัง laggard เมื่อเทียบในกลุ่มธนาคาร ซื้อขายที่ระดับต่ำ PBV ที่ 0.63 เท่า (กลุ่มธนาคารซื้อขายที่ 0.70 เท่า) อีกทั้งคาดว่าจะมีประเด็นบวกเพิ่มเติมจากการใช้ข้อมูลในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ซึ่งสามารถนำข้อมูลมา cross-seling เพิ่มเติมได้ในอนาคต

อย่างไรก็ดี อาจจะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นของ NPL หลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยมีมาตรการช่วยเหลือต่อไปถึงสิ้นปี 2566 สรุปแล้วจึงชอบกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่มากกว่าธนาคารขนาดเล็ก เนื่องจากได้ประโยชน์จากแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้นชัดเจน ซึ่งคาดว่าภายในปี 2565 คงจะได้เห็นธนาคารเริ่มทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นไปก่อนแล้ว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน