Stock - Finance

คัด 20 หุ้นเด่น ผลตอบเเทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) โต 5 ปีติดต่อกัน

ROE (Return on Equity) หรือ “อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น” เป็นเรื่องสำคัญที่ควรรู้ก่อนลงทุน ซึ่งเป็นอัตราส่วนทางการเงินที่บอกว่า บริษัทมีความสามารถในการทำกำไรได้ดีและมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน 

วิธีการคำนวณ ROE จะใช้สูตร = (กำไรสุทธิ  / ส่วนของผู้ถือหุ้น) × 100 

กำไรสุทธิ (Net Profit) คือ กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งต้นทุน ดอกเบี้ย หรือภาษีแล้ว

roe thumb e1635602448365

ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) คือ มูลค่าของผู้ถือหุ้นที่คำนวณได้จากสินทรัพย์ทั้งหมดหักด้วยหนี้สินของกิจการ

ดังนั้น ROE ยิ่งมีค่ามาก ยิ่งแสดงถึงฝีมือในการบริหารงานของบริษัท และทำให้ผู้ถือหุ้นมีโอกาสได้รับผลตอบแทนมากขึ้นตามไปด้วย ถ้า ROE เป็นบวก หมายความว่าบริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นได้ แต่ถ้า ROE ติดลบ หมายความว่าบริษัทขาดทุน และไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ให้ผู้ถือหุ้นได้

อธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพ เช่น คำนวณ  ROE ของหุ้น A ได้เท่ากับ 15% เราสามารถตีความได้ว่าทุกๆ 100 บาท ที่ผู้ถือหุ้นลงทุนไปกับบริษัทนี้ บริษัทจะสามารถทำกำไรกลับมาให้ผู้ถือหุ้น 15 บาท

หรือหากคำนวณ  ROE ของหุ้น B ออกมาติดลบ -15% เราสามารถตีความได้ว่าทุกๆ 100 บาท ที่ผู้ถือหุ้นลงทุนไปกับบริษัทนี้ จะทำให้ผู้ถือหุ้นขาดทุนทุกๆ 15 บาท

บริษัทที่มีกิจการแข็งแกร่ง ควรจะรักษาตัวเลข ROE ให้สูงกว่า 15% อย่างสม่ำเสมอ เพราะสะท้อนถึงศักยภาพของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ความเก่งของผู้บริหาร หรือใช้ประเมินได้ว่าบริษัทแบกทรัพย์สินที่ไม่เกิดประโยชน์ไว้มากเกินไปหรือเปล่า   

วันนี้เราจึงได้สำรวจ 20 หุ้นเด่นที่มี ROE สูงกว่า 15% ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ระหว่างปี 2559-2563) โดยคัดเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่พื้นฐานดีที่คำนวณในดัชนี SET100 มาดูกันครับว่ามีตัวไหนบ้าง?

2ROE adjust1 e1635685291376

1ROE2 adjust2 e1635685263921

ที่มา : SET SMART

ถึงตรงนี้จะเห็นว่าเราสามารถนำค่า ROE เป็นตัวตั้งต้นในการวิเคราะห์หุุ้นได้ แต่จุดสำคัญควรเปรียบเทียบ ROE ของหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ เนื่องจากแต่ละอุตสาหกรรมจะมีธรรมชาติของธุรกิจที่แตกต่างกัน

ส่วนข้อระวังในการใช้ ROE เราต้องดูที่มาที่ไปด้วยว่าสาเหตุที่ ROE สูงมากอะไร การที่มองแต่ตัวเลขที่สูงๆ เพียงอย่างเดียวก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป และที่สำคัญอย่าลืมใช้ประกอบกับอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจการลงทุนทุกครั้ง

หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน