Politics

ศูนย์จีโนมฯ เผยงานวิจัย ‘ไวรัสฝีดาษลิง’ แพร่จากการ ‘ร่วมเพศทางทวารหนัก’ โดยไม่แสดงอาการ

ศูนย์จีโนมฯ เผยงานวิจัย ‘ไวรัสฝีดาษลิง’ แพร่ติดต่อจากการ ‘ร่วมเพศทางทวารหนัก’ โดยไม่แสดงอาการ

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics กล่าวถึงงานวิจัยที่ว่า ไวรัส ฝีดาษ ลิง สามารถแพร่ติดต่อ จากการร่วมเพษทางทวารหนัก โดยไม่แสดงอาการ ข้อความว่า  งานวิจัยทางการแพทย์ล่าสุดจากทีมนักวิทยาศาสตร์จากประเทศเบลเยียมบ่งชี้ว่าไวรัสฝีดาษ ลิง สามารถแพร่ติดต่อจากการร่วมเพศทางทวารหนักได้ โดยไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection)

ฝีดาษลิง

งานวิจัยจากเบลเยี่ยม ระวุว่า การแพร่ระบาด นอกทวีปแอฟริกาครั่งนี้ แตกต่างจากอดีต

งานวิจัยเรื่องนี้ได้อัปโหลดขึ้นแชร์บนฐานข้อมูล medRxiv รอการลงตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ยังไม่ได้ผ่าน Peer Review (* Peer Review คือการตรวจทานผลงานที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญอีกคนหนึ่งหรือคณะหนึ่ง (ที่ไม่ใช่ผู้ผลิตงานชิ้นนั้น) เทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้)

การระบาดฝีดาษ ลิง ก่อนปี 2017 ในทวีปแอฟริกาพบว่าผู้ติดเชื้อทั้งหมดจะมีการแสดงอาการ 100% ดังนั้นการแยกตัวผู้ป่วยที่มีอาการ (ตุ่มแผล)ออกจากชุมชนจะทำให้การแพร่เชื้อสิ้นสุดลง

แต่การระบาดของไวรัสฝีดาษ ลิง ล่าสุด นอกทวีปแอฟริกา แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ  โดยขณะนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อยืนยันมากกว่า 14,000 ราย เสียชีวิต 5 ราย (เสียชีวิต 0.03%)ซึ่งส่วนใหญ่การระบาดเกิดขึ้นในหมู่ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) โดยปรากฏอาการหลายอย่างที่เกี่ยวข้องทวารหนักหรืออวัยวะสืบพันธุ์ โดยผู้ป่วยบางรายมีอาการไม่รุนแรง

ฝีดาษลิง

ติดต่อระหว่างคนสู่คน จากการร่วมเพศทางทวารหนักได้ โดยไม่แสดงอาการ

ทีมนักวิจัยจากเบลเยียมได้นำตัวอย่างจากการสวอปบริเวณ “ทวารหนัก/คอหอย” ที่จัดเก็บจากชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ที่มารับการตรวจกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่คลินิกสุขภาพทางเพศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 225 ราย มาตรวจหาไวรัสฝีดาษ  ลิงด้วยเทคนิค PCR พบ 4 รายที่ให้ผลบวก หนึ่งรายแสดงอาการอีกสามรายไม่แสดงอาการ

ในจำนวนผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการทั้ง 3 ราย ไม่มีผู้ใดได้เคยรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ ทั้งหมดมีอายุ 30-50 ปี และมีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus) ภายใต้การควบคุมที่ดีจากการใช้ยาต้านไวรัสและมีประวัติติดโรคทางเพศสัมพันธ์หลายครั้งในอดีต

ชายทั้ง 3 ถูกติดต่อให้มาตรวจหาไวรัสฝีดาษ ลิงซ้ำ ด้วยเทคนิค PCR ภายใน 37 วันนับจากการเก็บตัวอย่างแรก ผลตรวจเป็นลบ

จากการสืบสวนโรคจากชายทั้ง 3 ตั้งแต่ 2 เดือนก่อนและ 3 สัปดาห์หลังจากการสวอปตัวอย่างจากทวารหนักครั้งแรก ทุกคนเคยมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับชาย ในช่วงก่อนการสวอปตัวอย่างครั้งแรก แต่ไม่มีคู่ของรายใดที่มีอาการฝีดาษ ลิง

ฝีดาษลิง

จากผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ที่ระบาดล่าสุดนอกทวีปแอฟริกา (B.1) ในผู้ติดเชื้อบางรายมีการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ (Asymptomatic infection)

ผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษ ลิง จากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก อาจจะไม่มีตุ่มแผลปรากฏตามตัวและใบหน้าให้เห็น แต่สามารถพบปริมาณไวรัสสูง (high viral load) บริเวณเยื่อบุทวารหนัก (anorectal mucosa)ได้ และอาจเป็นตำแหน่งแพร่เชื้อได้ เช่นเดียวกับการสัมผัสกับตุ่มแผลที่ผิวหนังในผู้ป่วยที่มีอาการ (symptomatic infection)

งานวิจัยนี้จะสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ไวรัสฝีดาษลิงสามารถติดต่อระหว่างคนสู่คน จากการร่วมเพศทางทวารหนักได้โดยไม่แสดงอาการ หากเป็นเช่นนั้น ในกรณีการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงในปัจจุบัน การแพร่เชื้อแบบไม่แสดงอาการจะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการแพร่เชื้อที่แสดงอาการ (ตุ่มแผล) 

ดังนั้นการกักตัวเฉพาะผู้ที่แสดงอาการเพียงกลุ่มเดียว จึงอาจไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะหยุดการระบาดของไวรัสฝีดาษ ลิง สายพันธุ์ B.1 ที่มีการระบาดนอกทวีปแอฟริกา  การใช้ถุงยางอนามัยอาจช่วยลดการติดเชื้อฝีดาษ ลิง ที่ระบาดนอกทวีปแอฟริกาได้

อ่านขาวเพิ่มเติม

Avatar photo