General

ไขคำตอบ! ทำไม ‘ไวรัสอีโบลา’ จึงไม่หายไปจากธรรมชาติ ทั้งที่ไม่พบผู้ป่วยนานแล้ว?

ดร.อนันต์ ไขคำตอบ ทำไม ‘ไวรัสอีโบลา’ จึงไม่หายไปจากธรรมชาติ ทั้งที่ไม่พบผู้ป่วยนานแล้ว? 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ไขคำตอบว่า ทำไมไวรัสอีโบลา จึงไม่หายไปจากธรรมชาติ ทั้งที่ไม่พบผุ้ป่วยมานานแล้ว ข้อความดังนี้

อีโบลา

ไขคำตอบ ทำไมไวรัสไม่หายไป

ทำไม Ebola Virus ถึงไม่หายไปจากธรรมชาติทั้งๆที่ไม่พบคนป่วยมาตั้งนานแล้ว

คำตอบก็คือ ไวรัสไม่ได้มีคนเป็นพาหะนำโรค แต่ คนเป็นโฺฮสต์ที่สามารถรับเชื้อไวรัสเข้ามา แล้วสามารถแพร่เชื้อต่อไปยังคนอื่นๆต่อได้ ถึงแม้จะทำการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อในคนจนไม่เหลือคนติดเชื้อแล้ว ไวรัสที่อยู่ในพาหะอื่นๆในธรรมชาติก็สามารถกระโดดเข้ามาติดคนได้อีกเมื่อมีโอกาส

ทุกครั้งที่กระโดดมาติดคนได้สำเร็จ ก็จะเกิดการติดเชื้อในประชากรมนุษย์ได้อีก ควบคุมได้ไวปัญหาก็จะไม่เป็นวงกว้าง ถ้าควบคุมได้ช้าหรือไม่มีประสิทธิภาพการแพร่กระจายของเชื้อก็จะขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆเหมือนสถานการณ์ในยูกันดาในตอนนี้

อีโบลา

เชื่อกันว่าสัตว์ตัวกลางที่เป็นแหล่งรังโรคของไวรัสอีโบลาคือ ค้างคาว โดยไวรัสสามารถติดอยู่ในร่างกายของค้างคาวแบบไม่แสดงอาการป่วย หรือ ผิดปกติใดๆ ค้างคาวสามารถปลดปล่อยไวรัสสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งสัตว์ตัวกลางที่มักจะรับเชื้อจากค้างคาวคือ ลิง และ เก้ง กวาง

โอกาสที่คนจะรับเชื้อจากค้างคาวโดยตรงก็มี แต่เชื่อว่า โอกาสน้อยกว่าการรับจากสัตว์ตัวกลางที่ติดเชื้อมาจากค้างคาว ผ่านกิจกรรมที่ไปสัมผัสสัตว์เช่น ไปล่าสัตว์แล้วนำเนื้อมาเป็นอาหาร ซึ่งเป็นช่องทางรับไวรัสมาแบบโดยตรง

อีโบลา

ผู้ปวยมีอาการรุนแรง อัตราเสียชีวิตสูง

คนที่รับเชื้อไวรัสเข้ามามีระยะฟักตัวได้แตกต่างกัน บางคนสั้นเพียง 2 วัน บางคนยาวนานถึง 21 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วระยะฟักตัวของเชื้อคือ 8-10 วัน

อาการของโรคคือ มีไข้ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดทั่วร่างกาย อ่อนเพลียไม่มีแรง หลังจากนั้นบางรายจะมีอาการเลือดไหลออกมาทางส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น จมูก ตา ปาก บางรายมีอาการถ่ายเป็นเลือด ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงมาก

313123154 6049527601753778 4820835078813290187 n

การรักษาพยาบาลแบบใกล้ชิด โดยเฉพาะการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง เช่น เลือด หรือ อาเจียนของผู้ป่วย หรือ การสัมผัสกับศพผู้ป่วย เป็นโอกาสให้เชื้อแพร่จากคนสู่คนได้

เนื่องจากผู้ป่วยอีโบ ลามีอาการรุนแรงขณะแพร่เชื้อ ทำให้การเคลื่อนไหวไปในที่ต่างๆจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยโควิดที่ผู้ป่วยแพร่เชื้อได้ในช่วงที่สามารถมีกิจกรรมได้เหมือนคนปกติ ทำให้การแพร่กระจายเชื้ออีโบ ลาเกิดขึ้นได้ไม่ง่าย แต่เนื่องจากผู้ที่ได้รับเชื้อบางคนมีระยะฟักตัวที่อาจยาวนานกว่าปกติ คนที่มีความเสี่ยงไปในพื้นที่ระบาดควรมีการเฝ้าระวังอาการจนกว่าจะมั่นใจว่าปลอดภัย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo