Politics

พบในไทยอีกราย ‘BA.2.75.2’ เป็นหญิง เผยดื้อต่อ ‘ยารักษาโควิด’ แทบทุกชนิด รวมทั้ง Evusheld

พบอีกราย ‘BA.2.75.2’ เป็นหญิงไทย เผยดื้อต่อ ‘ยารักษาโควิด’ แทบทุกชนิด รวมทั้ง Evusheld ที่ใช้ในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เรื่อง พบผู้ติดเชื้อ โอไมครอน BA.2.75.2 ในไทยเพิ่มอีก 1 ราย เป็นหญิง ที่มีการอัพโหลดข้อมูลขึ้นฐายข้อมูลโควิด 19 โลก หรือ GISAID ข้อความดังนี้

BA.2.75.2

มูฟออนจากโควิดได้ แต่ต้องตระหนักการ์ดไม่ตก

จากข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบผู้ติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75.2”  รายที่สองในไทยเป็น “หญิง”

โอไมครอน BA.2.75.2 :- ข้อมูลจากทีมวิจัยสหราชอณาจักร  พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และ ดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า ดื้อต่อแอนติบอดีที่ใช้รักษาโรคโควิด-19 แทบทุกชนิด รวมทั้ง “เอวูเชลด์/Evusheld”

ไม่จำเป็นต้อง “ตระหนก” พบเพียง  464 รายในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” (ในไทยพบสองราย) มูฟออนจากโควิด-19 ได้ แต่ต้องตระหนักการ์ดไม่ตก?

BA.2.75.2

การกระจายทางภูมิศาสตร์

https://cov-spectrum.org/…/AllSamples/Past6M/variants

  • อินเดีย พบ 143 คิดเป็นสัดส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่  0.489%
  • สหรัฐ  112  0.014%
  • สิงคโปร์  43  0.500%
  • ออสเตรเลีย  20  0.032%
  • เกาหลีใต้  20  0.054%
  • ออสเตรีย  19  0.027%
  • ญี่ปุ่น  18  0.013%
  • อิสราเอล  13  0.019%
  • ประเทศอังกฤษ  13  0.003%
  • แคนาดา  13  0.014%
  • เยอรมนี  8  0.003%
  • เนเธอร์แลนด์  7  0.026%
  • เดนมาร์ก  6  0.004%
  • นิวซีแลนด์  5  0.042%
  • เบลเยียม  4  0.011%
  • ไอร์แลนด์  3  0.012%
  • ฝรั่งเศส  3  0.002%
  • สเปน  2  0.006%
  • สโลวีเนีย  2  0.020%
  • ประเทศไทย พบ 2 ราย พบในผู้ติดเชื้อรายใหม่ 0.030%
  • สวิตเซอร์แลนด์  2  0.014%
  • สวีเดน  2  0.008%
  • ลักเซมเบิร์ก  1  0.006%
  • ฮ่องกง  1  0.030%
  • ชิลี  1  0.009%
  • เนปาล  1  0.304%

BA.2.75.2

พบติดเชื้อในไทยเพิ่มอีก 1 ราย เป็นหญิง

จากฐานข้อมูลโควิด-19 โลก “GISAID” พบผู้ติดเชื้อโอไมครอน BA.2.75.2 ในไทยอีก  1 ราย เป็นหญิง (ภาพ 0)

ข้อมูลล่าสุดจากทีมวิจัยในสหภาพยุโรป (European Union: EU) เมื่อ 16/กย/2565 ได้รายงานในวารสารวิชาการแสดงข้อมูลทางห้องปฎิบัติการให้เห็นว่าโอไมครอน BA.2.75.2 และ BA.4.6 (ภาพ 1) สามารถหลบเลี่ยง “ยาแอนติบอดีที่ใช้เดี่ยว” และ “ยาแอนติบอดีแบบผสม” รวมทั้ง “เอวูเชลด์/Evusheld” ซึ่งมีส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีซิกเกวิแมบ/cilgavimab และ ทิกเกจวิมาบ/tixagevimab”

BA.2.75.2

ดื้อยารักษาแทบทุกชนิด

ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อโอไมครอน 2 สายพันธุ์ดังกล่าวจะรักษายากขึ้นเนื่องจากดื้อต่อ “ยาแอนติบอดี” เป็นส่วนใหญ่ เหลือแอนติบอดีสังเคราะห์เพียงไม่กี่ประเภท  เช่น “เบบเทโลวิแมบ/bebtelovimab” ที่ยังสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของโอไมครอน BA.2.75. 2 และ BA.4.6 ได้  (ภาพ 2)

ข้อมูลจากทีมวิจัยสหราชอณาจักร  พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน ของโอไมครอน BA.2.75. 2 ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และ ดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า (ภาพ 2.1)

BA.2.75.2

https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.09.16.508299v1

ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเกิดความกังวลว่าโอไมครอน  BA.2.75. 2 และ BA.4.6 อาจหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันทางร่างกายเกิดการระบาดในกลุ่มประชากรขึ้นได้  โดยเฉพาะประเทศในซีกโลกเหนือที่กำลังย่างเข้าสู่ฤดูหนาวซึ่งประชาชนจะรวมตัวกันอยู่ในที่พักเพื่อเลี่ยงอากาศหนาว ทำให้โรคติดต่อทางอากาศและการสัมผ้สใกล้ชิด ติดต่อกันได้มากขึ้น

ยาแอนติบอดีแบบผสม“เอวูเชลด์” ทาง EU เพิ่งอนุมัติให้ใช้รักษาโรคโควิด-19 เนื่องจากสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ BA.1, BA.2, BA.4/BA.5, และ BA.2.75 ในร่างกายผู้ป่วยได้ดีในระดับหนึ่ง โดยขณะที่อนุมัตินั้นยังไม่มีข้อมูลการ “กลายพันธุ์ของโอไมครอน BA.4 มาเป็น BA.4.6” และ “การกลายพันธุ์ของโอไมครอน BA.2.75 มาเป็น BA.2.75. 2” ซึ่งดื้อต่อยาเอวูเชลด์  (ภาพ 3)

พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และ ดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า

https://www.biorxiv.org/…/10.1101/2022.07.14.500041v1.full

BA.2.75.2

การใช้ “ยาแอนติบอดีแบบผสม” ในประเทศไทยมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรค COVID-19 ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยมี “อาการน้อยถึงปานกลาง” ไม่ต้องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินไปสู่อาการรุนแรง จากการวิจัยทางคลินิกพบว่า การรักษาด้วยยาแอนติบอดีแบบผสมสามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดและยับยั้งการติดเชื้อของร่างกาย รวมทั้งลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล

Evusheld Thailand web 600x338 1

Evusheld ยารักษาโควิดสำหรับผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้นำเข้า Evusheld เพื่อใช้สำหรับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ปานกลางถึงรุนแรงที่อาจตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนโควิดได้ไม่ดี หรือคนที่มีข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เช่น ผู้ป่วยล้างไต ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องภูมิคุ้มกันของตนเอง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo